กระบวนการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ของเครือข่ายพระนักพัฒนาใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • สุรัตน์ คำโสภา -

คำสำคัญ:

คำสำคัญ : กระบวนการพัฒนาพื้นที่, พื้นที่เชิงสร้างสรรค์, เครือข่ายพระนักพัฒนา, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนากิจกรรมและกระบวนการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ของเครือข่ายพระนักพัฒนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์เก็บรวบรวมข้อมูล และการประชาพิจารณ์โดยผู้ทรงคุณวุฒิ เลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ของเครือข่ายพระนักพัฒนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย (1) มีเครือข่ายพระนักพัฒนาพื้นที่เกิดจากแนวคิดพระสงฆ์ในพื้นปรับเปลี่ยนพื้นที่ให้เป็นพื้นที่ใช้งานเชิงสร้างสรรค์ร่วมกัน เช่น กลุ่มพระนักพัฒนา พระนักพัฒนาการทางจิต เป็นต้น และเป็นศูนย์ประสานงานพระพุทธศาสนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (2) กระบวนการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ของเครือข่ายพระนักพัฒนาฯ มี 3 ด้าน ได้แก่ ด้านอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี ด้านการพัฒนาสัมมาชีพ และ ด้านพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ โดยมี 6 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ขั้นตระหนักถึงความจำเป็น (2) ขั้นประสานองค์กรเครือข่าย (3) ขั้นสร้างพันธสัญญาแบบมีส่วนร่วม (4) ขั้นบริหารจัดการระบบเครือข่าย (5) ขั้นพัฒนาความสัมพันธ์เป็นกัลยาณมิตร และ (6) ขั้นรักษาความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิก 2) การพัฒนากิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ของเครือข่ายพระนักพัฒนาฯ พบว่า มีการพัฒนาพื้นที่ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น (1) กิจกรรมการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี (2) กิจกรรมการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น (3) กิจกรรมการพัฒนาสัมมาชีพเป็นแบบดังเดิม (4) กิจกรรมพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น การทำลูกประคบสมุนไพร การทอผ้าไหมมัดหมี่ และ (5) กิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ เช่น การจัดตั้งศูนย์เด็กเล็กในวัด การอบรมเยาวชน ศูนย์รวมใจผู้สูงอายุ ธนาคารข้าว ธนาคารต้นไม้ สหกรณ์ร้านค้า สงเคราะห์ชาวบ้าน การรณรงค์หมู่บ้านปลอดจากอบายมุขและสิ่งเสพติด เป็นต้น

 

 

References

ชมพู อิสริยาวัฒน์ และธิดารัตน์ คีมกระโทก. (2561). พัฒนาสัมมาชีพตามวิถีชีวิตชุมชนเพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ในระดับครัวเรือนของประชาชน อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น. ปีที่ 2 ฉบับที่ 3: กันยายน-ธันวาคม.

ธนชาติ ปทุมสวัสดิ์. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง กรณีศึกษาเฉพาะชุมชนตลาดฝั่งโขง ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร. รายงานการวิจัยสถาบันรัชต์ภาคย์. ปีที่ 10 ฉบับที่ 20.

พระใบฏีกาสุพจน์ ตปสีโล. (2558). บทบาทการมีส่วนร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงของพระสงฆ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. รายงานวิจัย. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสุธีรัตนบัณฑิต (สุทิตย์ อาภากโร. รศ.ดร.). (2558). พระพุทธศาสนากับการพัฒนาสังคม. เอกสารคำสอน. สาขาการพัฒนาสังคม. (ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา). คณะสังคมศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิจิตร เกิดวิสิษฐ์. (2559). หนังสือเรียนพระพุทธศาสนา. อ้างใน พระครูนนทมงคลวิศิษฐ์. พระสงฆ์กับบทบาทการพัฒนาสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม. ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม.

สมเชาวน์ บำรุงชัย. (2559). รูปแบบการพัฒนาชุมชนยั่งยืนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย. สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. ปีที่ 22 ฉบับที่ 1, พฤษภาคม.

สัมภาษณ์ :

สัมภาษณ์ นายสุรพงศ์ ศิลาอ่อน. นายก อบต. ปราสาททะนงแกนนำชุมชน, 4 มิถุนายน 2565.

สัมภาษณ์ พระครูสัจจะประยุต (สำเริง). เจ้าอาวาสวัดถ้ำผาสวรรค์, 13 พฤษภาคม 2565.

สัมภาษณ์ พระมหาเรือง สุธีโร. เจ้าอาวาสวัดป่าละหานทราย พระนักพัฒนา, 5 มิถุนายน 2565.

สัมภาษณ์ พระคมศักดิ์ ฐิตมโน. รองเจ้าอาวาสวัดถ้ำผาสวรรค์ จ.เลย, 13 พฤษภาคม 2565.

สัมภาษณ์ คุณแม่สายทอง เลพล. ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน และจิตอาสา, 13 พฤษภาคม 2565.

สัมภาษณ์ พระปลัดวัชระ วชิรญาโณ. เจ้าอาวาสวัดสว่างอารมณ์ พระนักพัฒนารุ่นใหม่, 4 มิถุนายน 2565.

สัมภาษณ์ นายรักชาติ บึงบัว. ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 1, 5 มิถุนายน 2565.

สัมภาษณ์ (ออนไลน์). พระพิพัฒน์วชิโรภาส. ผู้อำนวยการศูนย์พุทธธรรมสมเด็จพระมหาธีราจารย์ ป่าดงใหญ่วังอ้อ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี, 20 มิถุนายน 2565.

สัมภาษณ์ นายประจวบ แก้วกลม. กำนันตำบลปราสาททนง, 4 มิถุนายน 2565.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31