การพัฒนารูปแบบการผลิตรายการธรรมะทางสถานีวิทยุสำหรับผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • พระระพิน สีลธโร
  • โกนิฏฐ์ ศรีทอง
  • พระสุธีรัตนบัณฑิต

คำสำคัญ:

คำสำคัญ : พัฒนารูปแบบ, การผลิตรายการธรรมะทางสถานีวิทยุ, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์เรื่อง การพัฒนารูปแบบการผลิตรายการธรรมะทางสถานีวิทยุสำหรับผู้สูงอายุ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) ศึกษาสภาพปัญหารูปแบบการผลิตรายการธรรมะทางสถานีวิทยุสำหรับผู้สูงอายุ 2) พัฒนารูปแบบการผลิตรายการธรรมะทางสถานีวิทยุสำหรับผู้สูงอายุ และ 3) เสนอรูปแบบการผลิตรายการธรรมะทางสถานีวิทยุสำหรับผู้สูงอายุ เป็นการวิจัยและพัฒนา ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์ และการประชาพิจารณ์ โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาการผลิตรายการธรรมะทางสถานีวิทยุสำหรับผู้สูงอายุ มี 5 ด้าน (1) การแทรกแซงบริหารจัดการ (2) โครงสร้างการบริหาร (3) การจัดระบบสัญญาณคลื่น (4) งบประมาณ และ 5) การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย 2) การพัฒนารูปแบบฯ เดิมมีการผลิตรายการธรรมะทางสถานีวิทยุ 2 รูปแบบ ได้แก่ (1) รูปแบบรายการบรรยาย และ (2) รูปแบบรายการสนทนา 3) ผู้วิจัยจึงเสนอรูปแบบการผลิตรายการธรรมะทางสถานีวิทยุสำหรับผู้สูงอายุ 4 รูปแบบ ได้แก่ (1) รูปแบบรายการบรรยายธรรมะ (2) รูปแบบรายการสนทนาธรรมะ (3) รูปแบบกิจกรรมธรรมะ และ (4) รูปแบบธรรมะบันเทิง โดยมี 6 องค์ประกอบดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุรับฟังธรรมะ องค์ประกอบที่ 2 เนื้อหาธรรมะ ได้แก่ หลักเบญจศีล เบญจธรรม ไตรสิกขา และ บุญกิริยาวัตถุ องค์ประกอบที่ 3 ผู้ดำเนินรายการ ได้แก่ พระสงฆ์หรือฆราวาส องค์ประกอบที่ 4 รูปแบบรายการธรรมะผสานวิธีระหว่างสนทนาธรรมะ กิจกรรมธรรมะและธรรมะบันเทิง องค์ประกอบที่ 5 ภาษาและเสียง ฟังเข้าใจง่าย ได้สาระ มีดนตรีและเพลงประกอบ องค์ประกอบที่ 6 ช่องทางรายการธรรมะทางสื่อวิทยุ มีหลายช่องทางที่ทันสมัยทางเว็บไซต์ YouTube Facebook วิทยุออนไลน์ และวิทยุธรรมะแบบพกพา

 

References

[หนังสือ]

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2563). กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. มาตรการขับเคลื่อนระเบียบวาระแห่งชาติ เรื่อง สังคมสูงอายุ (ฉบับปรับปรุง). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : บริษัท อมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด.

มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม. มอส., (2552). การบริหารจัดการคลื่นความถี่วิทยุชุมชนภาคประชาชน. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิไฮน์ริค เบิลล์).

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพมหานคร : สำนักนายกรัฐมนตรี.

อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์. (2550). สื่อสารมวลชนเบื้องต้น สื่อมวลชน วัฒนธรรม และสังคม. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[รายงานวิจัย/ดุษฎีนิพนธ์]

ภัทฑิยา โภคาพานิชย์. (2559). กลยุทธ์การปรับตัวของคลื่นวิทยุในยุคสื่อดิจิทัล : กรณีศึกษาคลื่นวิทยุ Cool Fahrenheit 93. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

อชิรญา สุภาเดช. (2564). การพัฒนารูปแบบการจัดรายการวิทยุกระจายเสียงเพื่อส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนา จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

[วารสาร/บทความ]

จารุสินทร์ มุสิทะพงษ์. (2561). การบริหารจัดการกิจการวิทยุชุมชน. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 (เดือน มกราคม-มิถุนายน.

จุฑารัตน์ แสงทอง. (2560). สังคมผู้สูงอายุ(อย่างสมบูรณ์): ภาวะสูงวัยอย่างมีคุณภาพ. วารสารกึ่งวิชาการ. ปีที่ 38 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน.

ชาญพล สุขดี คุยกับ ช.ศรีนอก หรือ รศ.ดร.สมชัย ศรีนอก อาจารย์คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย YouTube ·. 17 ธันวาคม 2564.

นาวิน วงศ์สมบุญ. (2561). รูปแบบและเนื้อหาของรายการวิทยุกระจายเสียงต้นแบบสำหรับแม่ที่มีลูกวัย

-5 ปี. วารสารวิทยาการจัดการ. ปีที่ 5 ฉบับที่ 2. (เดือนกรกฎาคม-ธันวาคม).

นวรัตน์ ไวชมภ และคณะ. (2562). การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตามหลัก 3 อ. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและสาธารณะสุขภาคใต้. ปีที่ 6 ฉบับที่ 2. พฤษภาคม – สิงหาคม.

พระมหาธนิต สิริวฒฺฑโน. (2558). รูปแบบและกระบวนการสื่อสารพุทธธรรม ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของพระสงฆ์ในสังคมไทย. วารสารวิจัย. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่. ปีที่ 16 ฉบับที่ 2. (เมษายน – ธันวาคม).

พระมหาโยธิน โยธิโก. (2560). บทบาทพระสงฆ์ไทยในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์. ปีที่ 17 ฉบับที่ 3 (ฉบับพิเศษ). (กันยายน - ธันวาคม).

พีระพงษ์ มานะกิ. (2560). ปรัชญาแนวคิดเชิงเศรษฐศาสตร์การเมืองกับการกำกับดูแลผังรายการและเนื้อหารายการ. วารสารวิชาการ กสทช. สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ.

ระวีวรรณ ทรัพย์อินทร์ และญาศิณี เคารพธรรม. (2560). สื่อกับผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์. ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม.

รัศมิมาลย์ เกี่ยวศรีกุล และคณะ. (2564). “การพัฒนารูปแบบการบริหารกิจการวิทยุกระจายเสียง. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม. ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน.

(ข้อมูลจากการสัมภาษณ์)

สัมภาษณ์ เจ้าของรายการเสบียงบุญ วัดมัชฌิมวัน บ้านดงกลาง อ.เขาสมิง จ.ตราด, 8 พฤษภาคม 2565.

สัมภาษณ์ เจ้าของรายการธรรมะพุทธร่มโพธิ์ วัดขวัญสะอาด ต.คลองอุดมชลจร อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา, 9 พฤษภาคม 2565.

สัมภาษณ์ เจ้าของรายการ ธรรมะคลายทุกข์ วัดบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร, 7 พฤษภาคม 2565.

สัมภาษณ์ ผู้จัดรายการ เจ้าของรายการสว่างใจได้แสงธรรม (AM 963) คลื่นพระพุทธศาสนาแห่งชาติ FM104 Mz, 20 พฤษภาคม 2565.

สัมภาษณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทแอร์ไทม์ เซอร์วิส จำกัด, 22 พฤษภาคม 2565.

สัมภาษณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทเรดิโอ บรอดเคสติ้งเซอร์วิส จำกัด, 26 พฤษภาคม 2565.

สัมภาษณ์ ผู้ประกาศสถานีวิทยุกองพลทหารม้าที่ 2 รอ. ยานเกราะ, 6 พฤษภาคม 2565.

สัมภาษณ์ เจ้าหน้าที่ผู้ประกาศและผู้ดำเนินรายการวิทยุกระจายเสียง (ยานเกราะ), 10 พฤษภาคม 2565.

[ข้อมูลออนไลน์]:

[ข้อมูลออนไลน์] http://www.gotoknow.org/blogs/posts/328661 [8/02/2564]

แหล่งที่มา :https://www.rtarf.mi.th/pdf/thammaphiban6.pdf [7/02/2564]

http://www.braille-cet.in.th/Braille-new/?q=audio-book-leisure-542 ธรรมะ/ศาสนา.

https://play.google.com เสียงธรรม สั่งจิตใต้สำนึก https://palungjit. เพลงลูกทุ่งธรรมมะ

www.youtube.com และธรรมะในเพลงลูกทุ่ง ช.ศรีนอก.

ttps://www.youtube.com เข้าวัดฟังธรรม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31