ผลของกิจกรรมตามแนวพุทธจิตวิทยาโดยการฝึกสมาธิด้วยขันทิเบตร่วมกับการฝึกคิดแบบโยนิโสมนสิการที่มีต่อความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย

ผู้แต่ง

  • ธนภรณ์ ตั้งเพชรศิริพงษ์
  • สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
  • วิชชุดา ฐิติโชติรัตนา

คำสำคัญ:

พุทธจิตวิทยา, โยนิโสมนสิการ, ความฉลาดทางอารมณ์

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะ คุณค่า และความหมายของการฝึกสมาธิด้วยขันทิเบต หลักโยนิโสมนสิการ และแนวคิดทฤษฎีการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ที่มีต่อความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมตามแนวพุทธจิตวิทยาโดยการฝึกสมาธิด้วยขันทิเบตร่วมกับการฝึกคิดแบบโยนิโสมนสิการที่มีต่อความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย และ 3) เพื่อนำเสนอผลของกิจกรรมตามแนวพุทธจิตวิทยาโดยการฝึกสมาธิด้วยขันทิเบตร่วมกับการฝึกคิดแบบโยนิโสมนสิการที่มีต่อความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลายก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรม เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง โดยใช้แบบวัดความฉลาดทางอารมณ์ของกรมสุขภาพจิตเก็บข้อมูลจากนักเรียนประถมศึกษาตอนปลายโรงเรียนเสนานุเคราะห์ ตำบลโพธิ์กลาง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 42 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ 1 จำนวน 14 กลุ่มทดลองที่ 2 จำนวน 14 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 14 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐาน ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  วิเคราะห์ข้อมูลภายในกลุ่มที่เป็นผลการทดสอบก่อน หลังการทดลอง และระยะติดตามผลด้วยสถิติ One-Way ANOVA และวิเคราะห์ข้อมูลระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมเปรียบเทียบค่าคะแนนก่อน
หลังการทดลองและระยะติดตามผลด้วยใช้สถิติ Two-way ANOVA

ผลการวิจัยพบว่า

  1. คุณลักษณะ คุณค่า และความหมายของการฝึกสมาธิด้วยขันทิเบต หลักโยนิโสมนสิการ และแนวคิดทฤษฎีการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ที่มีต่อความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย ประกอบด้วย การฝึกสมาธิด้วยขันทิเบตและการนำหลักโยนิโสมนสิการมาเป็นหลักคิด คือคิดแบบปลุกเร้าคุณธรรม คิดแบบวิธีแก้ปัญหา (แบบอริยสัจ) และคิดแบบคุณค่าแท้ – คุณค่าเทียมพร้อมนำหลักความฉลาดทางอารมณ์มาประกอบการเรียนรู้ด้วย ได้แก่ ดี คือ ควบคุมอารมณ์เข้าใจผู้อื่นและยอมรับผิดเก่ง คือ มุ่งมั่นพยายาม ปรับตัวเป็นและกล้าแสดงออกและสุข คือ พอใจในตนเองรู้จักปรับใจและรื่นเริงเบิกบานและหลักธรรม ประกอบด้วยหลักปรโตโฆสะ หลักสัทธรรม 3 หลักโยนิโสมนสิการ และหลักปัญญา 3
  2. การพัฒนาชุดกิจกรรมตามแนวพุทธจิตวิทยาโดยการฝึกสมาธิด้วยขันทิเบตร่วมกับการฝึกคิดแบบโยนิโสมนสิการที่มีต่อความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย ได้แก่ การพัฒนาการคิดแบบเร้ากุศล คิดแบบแก้ปัญหา (อริยสัจ) การคิดแบบคุณค่าแท้-คุณค่าเทียม เพื่อนำมาสร้างเป็นชุดกิจกรรมตามแนวพุทธจิตวิทยา ประกอบด้วย หลักปรโตโฆสะ หลักสัทธรรม 3 หลักโยนิโสมนสิการ และหลักปัญญา 3 และใช้แนวคิดทางจิตวิทยาเพื่อดึงความสนใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมมาสู่ประเด็นที่จะฝึกตลอดจนทำให้เกิดความเข้าใจความหมายและวิธีปฏิบัติ พร้อมสร้างแรงจูงใจเพื่อเป็นพื้นฐานในการฝึกความคิดในชีวิตประจำวันต่อไป สำหรับการทดลองและติดตามผลใช้ชุดกิจกรรม ประกอบด้วย 1) การฝึกสมาธิด้วยขันทิเบตร่วมกับการฝึกคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 6 กิจกรรม 9 ครั้ง 12 สัปดาห์ 2) การฝึกความคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 6 กิจกรรม 9 ครั้ง 12 สัปดาห์ 3) การทดลองกิจกรรมเพื่อเปรียบเทียบผลก่อนและหลังฝึก 4 สัปดาห์สำหรับวัดผลความฉลาดทางอารมณ์

3. ผลของกิจกรรมตามแนวพุทธจิตวิทยาโดยการฝึกสมาธิด้วยขันทิเบตร่วมกับการฝึกคิดแบบโยนิโสมนสิการที่มีต่อความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลายโรงเรียนเสนานุเคราะห์ ตำบลโพธิ์กลาง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรม พบว่าความฉลาดทางอารมณ์ในกลุ่มทดลองที่ 1 กลุ่มทดลองที่ 2 และกลุ่มควบคุม ก่อนการทดลองไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ความฉลาดทางอารมณ์ก่อนการทดลองและหลังการทดลองในทุกกลุ่มตัวอย่าง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความฉลาดทางอารมณ์ในกลุ่มทดลองที่ 1 กลุ่มทดลองที่ 2 และกลุ่มควบคุม หลังการทดลองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความฉลาดทางอารมณ์ในกลุ่มทดลองที่ 1 เมื่อเปรียบเทียบช่วงเวลาหลังทดลอง พบว่า มีค่าเพิ่มขึ้นและเพิ่มขึ้นอีกในระยะติดตามผล ความฉลาดทางอารมณ์ในกลุ่มทดลองที่ 2 เมื่อเปรียบเทียบช่วงเวลาหลังทดลอง พบว่า มีค่าเพิ่มขึ้นและลดลงในระยะติดตามผล และความฉลาดทางอารมณ์ในกลุ่มควบคุม เมื่อเปรียบเทียบช่วงเวลาหลังทดลอง พบว่า มีค่าเพิ่มลดลงและลดลงอีกในระยะติดตามผล

References

กานต์สินี จันทร์วิภาดิลก. (2550). “การศึกษาวิเคราะห์ระบบวิธีคิดเพื่อการดำเนินชีวิตตามแนวพุทธ ศาสน์”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬา ลงกรณราชวิทยาลัย. 2550

นภัทร์แก้วนาค. (2555). “เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data Analysis Technic) (QDAT Knowledge)”. เอกสารประกอบการสอนหลักสูตรดุษฏีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร. 2555

ปารฉัตต์ ศังขะนันทน์. (2565). คลื่นสมองกับพลังพิเศษในตัวคุณ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.dss.go.th/images/st-article/sti_11_2549_eeg.pdf. [13 กุมภาพันธ์ 2565]

พัฒนาการและพฤติกรรมเด็กวัยประถม. (2563). กิจกรรม & เกมพัฒนาสมอง ของลูกวัย 6+ ให้ลูกฉลาดและอารมณ์ดี. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.amarinbabyandkids.com/kids/brain-development-games/ [3 ธันวาคม 2563].

เพ็ญพิชา มั่นคง. (2554). การพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลการเรียนรู้เรื่องพลเมืองดีของสังคม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวโยนิโสมนสิการ. ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2554

รายการวารสาร. (2564). ผลของการทำสมาธิด้วยเสียงขันทิเบตต่ออารมณ์ความตึงเครียดและความเป็นอยู่: การศึกษาเชิงสังเกต. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/ PMC5871151/. [23 พฤษภาคม 2564]

เรื่องเด่น. โพรไบโอติก แบคทีเรียดี ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้ลูก. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://hellok

hunmor.com/. [24 พฤษภาคม 2564].

วีระวัฒน์ ปันนิตามัย. (2544). เชาวน์อารมณ์ (EQ): ดัชนีวัดความสุขและความสำเร็จของชีวิต พิมพ์ครั้งที่ 2. (กรุงเทพมหานคร: สานักงานพิมพ์ เอ็กซ์เปอร์เน็ต. 2544).

สถาบันราชานุกูล. (2563). การสำรวจสถานการณ์ระดับสติปัญญา (IQ) และความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) เด็กไทยวัยเรียน และ ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://th.rajanukul.go.th. [10 พฤศจิกายน 2563].

สำนักงานคระกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ. (2562). แนวทางการนิเทศเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning). (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. 2562).

เอกสารสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. (โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย: 2553).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-20