โครงการบ่มเพาะวิศวกรสังคมเพื่อพัฒนานวัตกรรมในการเพิ่มศักยภาพพัฒนาเชิงพื้นที่ในอำเภอเขาค้อ

ผู้แต่ง

  • แก้วตา ผิวพรรณ

คำสำคัญ:

การบ่มเพาะ, วิศวกรสังคม, นวัตกรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีรูปแบบเป็นการวิจัยและพัฒนา โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัยดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาและเพิ่มศักยภาพนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ 2) เพื่อส่งเสริมและพัฒนาวิศวกรสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ 3) เพื่อสนับสนุนการนำใช้ข้อมูลชุมชนและเครื่องมือตามกรอบงานวิศวกรสังคม และ 4) เพื่อพัฒนานวัตกรรม โดยใช้เครื่องมือ 5 ชิ้น ตามกระบวนการพัฒนาสมรรถนะของวิศวกรสังคม และเสริมสร้างศักยภาพวิศวกรสังคมของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ส่วนด้านประชากร แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่หนึ่งเป็น วิศวกรสังคม จากนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ จำนวน 100 คน กับ กลุ่มที่สองเป็น เครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงาน มีจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 150 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ การอภิปรายกลุ่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลจากการวิเคราะห์เนื้อหา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบทีแบบกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มไม่เป็นอิสระจากกัน กับ การทดสอบสัดส่วน

ผลการศึกษาพบว่า 1) การพัฒนาและเพิ่มศักยภาพนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ พบว่า วิศวกรสังคมของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ที่ได้รับการฝึกอบรม ตามหลักการวิศวกรสังคมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) สร้างนวัตกรรมใหม่เพื่อช่วยเหลือชุมชนโดยการสร้างฝายชะลอน้ำให้กับชุมชน โดยได้มีการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนขึ้น 3) โครงการบ่มเพาะวิศวกรสังคมเพื่อพัฒนานวัตกรรมในการเพิ่มศักยภาพพัฒนาเชิงพื้นที่ในอำเภอเขาค้อ มีความพึงพอใจค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ระดับมากที่สุด และ 4) ผลการประเมินผลการปฏิบัติงานของวิศวกรสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ตามคุณลักษณะของการเป็นวิศวกรสังคม 4 ด้าน ระดับผลการประเมินดีมาก

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2563). การนำกลยุทธ์มาใช้ทางธุรกิจ สู่ความสำเร็จตามเป้าหมาย. สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2564. จาก http://www.kriengsak.com/.

ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ (ทปอ.มรภ.). (2562). ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนา ท้องถิ่น ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579). (ฉบับปรับปรุง 11 ตุลาคม 2561). กรุงเทพฯ: ที่ประชุม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ (ทปอ.มรภ.).

นงรัตน์ อิสโร. (2562). วิศวกรสังคม (Social Engineer), สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาประเทศ. เอกสารสรุปผลการอบรมเชิงปฏิบัติการ.

พลกฤต แสงอาวุธ. (2565). การนำนโยบายการพัฒนาทักษะวิศวกรสังคมไปปฏิบัติ ศึกษาเฉพาะกรณีโครงการยุวชน มรส. สร้างชาติ. วารสารวิชาการธรรมทัศน์, 22(2) : 72-82.

ภูสิทธ์ ภูคำชะโนด. (2564). นวัตวิธี วิถีพัฒนา ภูมิปัญญาภัฏพัฒน์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ ดี วิทย์.

วรรณพรรณ รักษ์ชน. (2562). ตัวแบบกลยุทธ์การวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ สำหรับวิสาหกิจชุมชนภาคการให้บริการในเขตภาคเหนือประเทศไทย. วารสารสักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 25(2) : 120-130.

ศิรภัสสรศ์ วงศ์ทองดี. (2559). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิรินันท์ หล่อตระกูล และวัชรินทร์ สุทธิศัย. (2561). รูปแบบการนำนโยบายไปปฏิบัติขององค์การบริหาร ส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ, 10(3) : 9-25.

สุนทรี ศักดิ์ประชาวุฒิ และทรงวุฒิ ม่วงเจริญ. (2560). รายงานฉบับสมบูรณ์ เรื่อง การศึกษาสภาพปัญหา และแนวทางการปรับปรุงการดำเนินงานจัดที่ดินโครงการสร้างและพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562 จาก https://www.alro.go.th/research_plan/download/article/article_20180720134947.pdf

Dworkin, S. L. (2012). Sample size policy for qualitative studies using in-depth interviews. Archives of Sexual Behavior. 41(6). 1319-1320.

Fusch, P. I., & Ness, L. R. (2015). Are We There Yet? Data Saturation in Qualitative Research. The Qualitative Report. 20(9). 1408-1416.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31