รูปแบบการจัดการสภาพแวดล้อมและภาวะวิกฤตอุทกภัยของชุมชนลุ่มน้ำเจ้าพระยา จังหวัดอ่างทอง

ผู้แต่ง

  • พระครูไพศาลศีลวัฒน์ ฐานจาโร Mahachulalongkornrajvidyalaya University

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การจัดการสภาพแวดล้อม, ภาวะวิกฤต, อุทกภัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมและภาวะวิกฤตอุทกภัยของชุมชนลุ่มน้ำเจ้าพระยา จังหวัดอ่างทอง ๒) เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการสภาพแวดล้อมและภาวะวิกฤตอุทกภัยของชุมชนลุ่มน้ำเจ้าพระยา จังหวัดอ่างทอง ๓) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการสภาพแวดล้อมและภาวะวิกฤตอุทกภัยของชุมชนลุ่มน้ำเจ้าพระยา จังหวัดอ่างทอง ใช้ระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน ๓๐ คน ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแบบอรรถาธิบายและพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า

๑. สภาพแวดล้อมและภาวะวิกฤตอุทกภัยของชุมชนลุ่มแม่น้ำประกอบด้วย พื้นที่ชุ่มน้ำ พื้นที่น้ำท่วม อุทกภัยเป็นภัยธรรมชาติที่เกิดจากน้ำ ในสภาพของน้ำท่วม น้ำท่วมฉับพลัน หรือน้ำไหลเอ่อล้นฝั่งแม่น้ำลำธารทางน้ำ เข้าท่วมพื้นที่ซึ่งปกติไม่ได้อยู่ใต้ระดับน้ำ หรือเกิดจากการสะสมน้ำบนพื้นที่ที่ระบายออกไม่ทัน

๒. การจัดการสิ่งแวดล้อมและวิกฤตลุ่มน้ำ พบว่า ด้านการจัดการสภาพแวดล้อม ใช้แนวทางการป้องกันความเสียหายจากน้ำท่วมและการบริหารจัดการน้ำท่วม นำสิ่งก่อสร้างมาใช้ลดขนาดความรุนแรงของน้ำท่วม  การป้องกันความเสียหายและการบรรเทาทุกข์ ด้านการจัดการสภาพแวดล้อมทางสังคม (การเยียวยา) ชุมชนปรับตัวให้ดำรงชีวิตทำงานได้ตามปกติ มีหน่วยงานภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือ ด้านการจัดการสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ เป็นเส้นทางการค้า ใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค เพื่อการเกษตร และเพื่อการอุตสาหกรรม ด้านการจัดการสภาพแวดล้อมทางสุขภาพ (การช่วยเหลือ) มีการรวมตัวเป็นเครือข่ายการบริหารร่วมมือในการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ขอความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ วัดและจากเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง

๓. ผลการพิจารณารูปแบบ ประกอบด้วยองค์ประกอบ ได้แก่ temple (วัด) help (การช่วยเหลือ) activity (กิจกรรม) identity (เอกลักษณ์ ตัวตน) และteam (เครือข่าย)

๔.  องค์ความรู้จากการวิจัย พบว่า ผู้เชี่ยวชาญได้เพิ่มองค์ประกอบทางด้านจิตอาสาเข้าไป ได้แก่ (V) = volunteer (จิตอาสา)

References

ชูโชค อายุพงศ์. (๒๕๖๐). มาตรการบริหารจัดการภัยน้ำท่วม. หน่วยวิจัยภัยพิบัติทางธรรมชาติ ภาควิชา

วิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๓. (๒๕๖๖-๒๕๗๐). ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

แห่งชาติ ฉบับที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐).

ดิเรก อาสาสินธ์. (๒๕๕๑). สาเหตุและแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล

บึงสามพัน อำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์. รายงานการศึกษาอิสระ ปริญญารัฐศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองส่วนท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

มิ่งสรรพ์ ขาวสะอาด, แนวนโยบายการจัดการน้ำในประเทศไทย, (กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุน

ปธาน สุวรรณมงคล (๒๕๔๐). การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ. รายงานการ

วิจัย โครงการปรับภาคราชการสูยุคโลกาภิวัตน์.

ประสิทธิ ประคองศรีและคณะ. (๒๕๕๑). รายงานผลการศึกษาเพื่อพัฒนาเรื่องวิถีชีวิตในพื้นที่ประสบถาวะ

น้ำท่วมซ้ำซาก กรณีพื้นที่ลุ่มน้ำชีตอนล่าง อ. เสเลภูมิ จ. ร้อยเอ็ด และ อ.เมือง จ.ยโสธร. ขอนแก่น: ศูนย์วิจัยและพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สนับสนุนการวิจัย, ๒๕๔๖), หน้า ๒๓.

เมตตา ผิวขำ. (๒๕๔๙). การปรับตัวของผู้ประสบกับปัญหาอุทกภัยซ้ำซาก: กรณีศึกษาชุมชนบ้านหาดสวน

ยา อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาสังคมเพื่อการพัฒนาบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

วนารัตน์ กรอิสรานุกูล และคณะ. (๒๕๕๖). โครงการ แนวทางการวางแผนด้านผังเมืองเพื่อรองรับความ

เสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ: กรณีศึกษาปัญหาน้ำท่วมและแนวทางการจัดการน้ำท่วมในเขตผังเมืองรวมพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. โครงการวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๔.

วันน้ำโลกเตือนทั่วโลกผจญภาวะขาดแคลนน้ำขั้นวิกฤติ, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://www.dwr.go.th/

news/detail.php [๑๐ มกราคม ๒๕๖๑].

มูลนิธิสืบ นาคะเสถียร, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://www.seub.or.th/libraryindex/dam/dam-020 html [๑๒ มกราคม ๒๕๖๑].

พระไพศาล วิสาโล. (๒๕๕๐). เติมเต็มชีวิตด้วยจิตอาสา. กรุงเทพฯ: เครือข่ายพุทธิกา.

Karnjiradet, T. (๒๐๑๙). A Model of Community Participation in Water Management in Uthai

Thani Province according to the Philosophy of Sufficiency Economy. Journal of MCU Peace Studies. 6(2), 537-552.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-02