การบูรณาการหลักเบญศีลและเบญจธรรมในการใช้ยันต์ในสังคมไทย

ผู้แต่ง

  • วุฒินันท์ ป้องป้อม

คำสำคัญ:

หลักเบญจศีล, หลักเบญจธรรม, การใช้ยันต์

บทคัดย่อ

ดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีการใช้ยันต์ในสังคมไทย ๒) เพื่อศึกษาหลักเบญจศีลและเบญจธรรม ที่นำมาใช้บูรณาการกับการใช้เลขยันต์ไทย ๓) เพื่อสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการบูรณาการหลักเบญจศีลและเบญจธรรม เพื่อการใช้เลขยันต์ในสังคมไทย งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงเอกสาร นำเสนอในเชิงพรรณนาวิเคราะห์ สรุปผลการวิจัยพบว่า

ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับรูปแบบ สูตร และ ขั้นตอนประกอบเลขยันต์ไทย พบว่า ประกอบไปด้วยทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ หลักการจากคัมภีร์ปถมัง และภาพวาดจากอิทธิพลความเชื่อต่างๆ มาเป็นปัจจัยในการประกอบเลขยันต์ และแบ่งขั้นตอนการใช้ยันต์เป็น ขั้นตอนก่อนการใช้ยันต์ ขั้นตอนการใช้ยันต์ และขั้นตอนหลังการใช้ยันต์หรือการประสิทธิ เพื่อตอบสนองความต้องการพื้นฐานในด้านต่างๆของคนในสังคมไทย

ผลการวิเคราะห์พบว่าหลักเบญจศีลและเบญจธรรมที่ถูกนำมาใช้บูรณาการกับการใช้เลขยันต์ไทยมีดังนี้คือเบญจศีล ได้แก่ ปาณาติบาต,อทินนาทาน,กาเมสุมิจฉาจาร,มุสาวาท และ สุราเมระยะ และ เบญจธรรม ได้แก่ เมตตากรุณา, สัมมาอาชีวะ, กามสังวร, สัจจะ และ สติสัมปชัญญะ

ดังนั้นผู้วิจัยได้จัดทำเป็นคู่มือการใช้เลขยันต์เชิงพุทธบูรณาการสำหรับผู้ใช้ยันต์ยุคใหม่ ๗ ขั้นดังนี้คือ ๑) การจัดเครื่องบูชาหรือมณฑลพิธีโดยปราศจากการบูชายัญ ๒) การสมาทานศีล ๕ ๓) การกล่าวโองการสาธยายคุณพระรัตนตรัย และ สาธยายคุณอานิสงส์ศีล ๕  ๔) การสวมมงคลรัตน์ ๕) การทำยันต์ประเภทต่างๆจากหลักเบญจธรรม ๖) การประสิทธิยันต์ให้กับผู้รับยันต์นำไปใช้ โดยวิธีการรับสัจจะผ่านการสมาทานศีล ๕ ๗) การให้โอวาทเพื่อรักษาสิริจากอานิสงส์ของเบญจศีลและเบญจธรรม โดยผู้ใช้ยันต์สามารถใช้ศึกษาและปฏิบัติตามได้อย่างเป็นรูปธรรมเพื่อเป็นกุศโลบายในการรักษาศีล และ เป็นกุศโลบายในการเจริญสมาธิ ตามหลักไตรสิกขาในพระพุทธศาสนาในลำดับต่อไป

References

พระพิษณุพล สุวณฺรูโป (รูปทอง). “การศึกษาวิเคราะห์ความเชื่อเรื่องยันต์ในล้านนา”. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาพุทธศาสตรมหาบัญฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช, 2651.

ประภัสสร วัฒนา. “แนวความคิดมนุษยนิยมของมาสโลว์(Maslow) และแนวความคิดอัตถิภาวนิยมของฌอง ปอล ซาร์ตร์(Jean Paul Startre) ที่ปรากฏผ่านนวนิยายเรื่องวันหนึ่งในชีวิตของอีวาน เดนิโซวิช”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต. คณะศิลปศาสตร์: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2560.

Euclidis Elementa. EUCLID’S ELEMENTS OF GEOMETRY, translated in English by Richard Fitzpatrick. United States of America: c Richard Fitzpatrick, 2007.

เทพย์ สาริกบุตร. พระคัมภีร์พระเวทฯ ฉบับทุติยมบรรพ. กรุงเทพมหานคร: อุตสาหกรรมการพิมพ์, 2502.

พระอมรเมธี .ตำหรับคัมภีร์ เพ็ชร์รัตน์มหายันต์ ฉบับเคยใช้ศักดิ์สิทธิ์และไว้ใจได้.กรุงเทพมหานคร: ทวีการพิมพ์, 2525.

วิชัย ธรรมเจริญ.คู่มือนักธรรมชั้นตรี.กรุงเทพมหานคร : กรมการศาสนา, 2545.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28