กระบวนการบำบัด ฟื้นฟูเด็กและเยาวชนกระทำความผิดตามแนววิถีพุทธ
คำสำคัญ:
คำสำคัญ: กระบวน, การบำบัด, ฟื้นฟู, เด็กและเยาวชน, ความผิด, วิถีพุทธ.บทคัดย่อ
เด็กและเยาวชนเป็นช่วงวัยที่กำลังเรียนรู้ ครอบครัวเป็นหน่วยที่สำคัญที่สุดของสังคม บ้านและครอบครัว นับว่าเป็นสถาบันสังคมที่มีความสำคัญอันดับแรก ในการที่จะสร้างลักษณะนิสัยและบุคลิกภาพของเด็ก ถ้าภายในบ้านหรือครอบครัวมีความผาสุก ทุกคนมีความสามัคคีกลมเกลียวกันเป็นอย่างดี บิดา มารดา มีความห่วงใยในตัวลูก โดยเอาใจใส่อุปการะเลี้ยงดู และพยายามอบรมบ่มนิสัยในทางที่ดีงามแก่บุตร ย่อมทำให้บุตรเกิดความรักพ่อแม่ มีความอบอุ่นและมีแต่ความสุขรวมทั้งรับสิ่งดีงามเข้ามาในชีวิต ทำให้เด็กเจริญเติบโตด้วยดี พร้มอทั้งมีการเปลี่ยนแปลง ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ด้วยสภาพแวดล้อมของสังคมในยุคปัจจุบันที่มีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทั้งข้อมูลข่าวสาร สื่อ สิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่น ติ๊กต๊อก ไลน์ อินสตาแกรมต์ เฟสบ๊ค สิ่งเหล่านี้มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ที่จะนำเด็กและเยาวชนไปสู้ความผิดพลาด เสียหาย เกิดนำไปสู่การกระทำความผิดทางกฎหมายบ้านเมือง ทั้งที่ตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจ และอาจตกเป็นเยื่อของการล่อลวงต่างๆ ได้ ตามที่เป็นข่าวกันมานัดต่อนัดแล้ว ซึ่งจะส่งผลเสียอย่างมากกับตัวเด็กและเยาวชน และจะเห็นได้ว่าหลักธรรมในพระพุทธศาสนาที่กล่าวว่า ทุกอย่างเกิดแต่เหตุ ดังนั้นจึงได้นำหลักอริยสัจ ๔ มาช่วยแก้ปัญหา ด้วยการให้เด็กและเยาวชนมองให้เห็นปัญหาที่แท้จริง ตามลำดับ คือ 1. ทุกข์ คือ สภาพที่ทนได้ยาก 2. สมุทัย คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหา 3. นิโรธ คือ ดับสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหา 4. มรรค คือ แนวปฏิบัติการแก้ปัญหา ถ้าเด็กและเยาวชนเข้าใจกระบวนการของหลักอริยสัจ 4 ก็ย่อมจะสามารถดำเนินชีวิตใจสังคมได้อย่างเข้าใจและมีความสุขตลอดไป
References
นิรันดร์ ทรงนิรันดร์ และคณะ. (2560). ปัญหาเกี่ยวกับการบังคับใช้สิทธิการคุ้มครองผู้ต้องหาเด็กและเยาวชนในคดีอาญา. วารสารศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 4 (6), 67-79.
อริยพร โพธิโส, ปัญหาการดำเนินคดีอาญากรณีที่เด็กหรือเยาวชนถูกต้องหาว่าเป็นผู้กระทำความผิด. สารพันปัญหากฎหมาย, เอกสารคัดสำเนา,
บัญชา วิทยาอนันต์. (2564). มาตรการทางกฎหมายในการบังคับใช้กับเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิด: ศึกษารูปแบบการจัดการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชนเพื่อการแก้ไข บำบัด ฟื้นฟู. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 15 (2), 55.
ปุณยวัจน์ ไตรจุฑากาญจน์. (2562). มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญากับการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรม. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 45 (2), 66-67.
จิตศริณย์พร ปัญจวัฒนคุณ. (2561). อริสัจ 4 กับวัยรุ่นในศตวรรษที่ 21. วารสารปรัชญาปริทรรศน์, 23 (1), 2.
อภิรัฐ ถนอมสิงห์, ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการกระทำผิดของเด็กและเยาวชน เกี่ยวกับยาเสพติดประเภทยาบ้า ในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลาง, สาขาสังคมวิทยามหาบัณฑิต (บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย), 2542.
ฟาติมะห์ ขันธศักดิ์, สาเหตุการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนและกระบวนการพิจารณาคดีเด็กและเยาวชนตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนละครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว, สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัววจังหวัดยะลา, 2553,
พรรณรัตน์ เกรียงวัฒนา, สิทธิเด็กกับการกระทำความผิด, รายงาการอบรมหลักสูตรนิติธรรมเพื่อประชาธิปไตย รุ่นที่ 6 วิทยาลัยศาลรัฐธรรมนูญ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. เอกสารคัดสำเนา
กฎหมายอาญา, เด็กและเยาวชนกระทำความผิด, [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://sites.google.com/site/criminallaw406/home/dek-laea-yeawchn-kratha-khwam-phid, [31 สิงหาคม 2565]
ปุณยวัจน์ ไตรจุฑากาญจน์. (2562). มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญากับการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรม. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 45 (2), 64-66.
จิตศริณย์พร ปัญจวัฒนคุณ. (2561). อริสัจ 4 กับวัยรุ่นในศตวรรษที่ 21. วารสารปรัชญาปริทรรศน์, 23 (1), 8-9.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มจร การพัฒนาสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.