รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาของนักเรียนสำหรับโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้, หลักไตรสิกขา, โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาของนักเรียน สำหรับโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร 3) เสนอรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาของนักเรียน สำหรับโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า
1) สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้ของนักเรียน ด้านผู้เรียน: นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษเรียนรู้ได้ช้า ทำให้เสียเวลาในการอธิบาย ด้านเนื้อหาวิชา: ขาดความรู้ความเข้าใจในการปรับหลักสูตรให้เหมาะสมกับสภาพความบกพร่องของเด็กแต่ละคน ด้านสื่อ/แหล่งเรียนรู้ อุปกรณ์: สื่อและสิ่งอำนวยความสะดวกอาคารสถานที่ขาดความเหมาะสม ด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศการเรียนรู้: การจัดห้องเรียนสะอาดเรียบร้อย จัดให้มีห้องเรียนให้มีแสงสว่างตามเกณฑ์มาตรฐาน ด้านปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับบรรยากาศทางจิตวิทยาในชั้นเรียน: นักเรียนเข้าเรียนโดยไม่ได้รับประทานอาหารเชา ด้านตัวผู้สอนอาจมีความกดดันจากฝ่ายบริหารหรือจากครอบครัวเศรษฐกิจ
2) การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาของนักเรียน สำหรับโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร พิจารณาเป็นรายด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านความถูกต้อง และเมื่อเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านความเป็นประโยชน์ และด้านความเหมาะสม ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยนต่ำที่สุด ในระดับมาก ได้แก่ ด้านความเป็นไปได้
3) ผลการเสนอรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาของนักเรียน สำหรับโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 5 ด้าน คือ 1) หลักการการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา 2. วัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา 3) ตัวแบบของการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาของนักเรียน 4) การนำรูปแบบไปใช้ 5) เงื่อนไขแห่งความสำเร็จ
References
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย.
วศิน อินทสระ. (2528). พุทธวิธีในการสอน. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ บริษัท ตถาตา พับลิเคชั่น จำกัด.
วิภาดา พินลา. (2559). “กระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวพุทธศาสตร์สำหรับครูสังคมศึกษาเพื่อปลูกฝังจริยธรรมในผู้เรียนยุคศตวรรษที่ 21”, ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – เมษายน.
วีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร. (2563). โรคใหม่ สร้าง โลกแห่งการเรียนรู้ใหม่ : อนาคตการศึกษาไทยยุคหลัง COVID-19 [ออนไลน์] : https://www.the101.world/future-of-thai-education-after-covid19/ 25 มิถุนายน
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก. (2543). หลักพระพุทธศาสนา. พิมพครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : ธรรมสภา.
สุมน อมรวิวัฒน์. (2528), การสอนโดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ตรีรณสาร.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), คู่มือการจัดการโรงเรียนรับมือโควิด-19, [ออนไลน์] : https://resourcecenter.thaihealth.or.th/ [25 มิถุนายน 2563]
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2544) “รายงานการอภิปรายเรื่อง พุทธธรรมนำการศึกษาได้อย่างไร”,(กรุงเทพมหานคร: สกศ.
Hills, P.J. A. (1982). Dictionary of education. London: Routledge & Kegan Payi.
Barrow, Haward S. (1985). How to Design a Problem Based Curriculum for the Preclinical Years. New York: Springer Publishing.
Cronbach, Lee.J. (1977). Educational psychology. New York: Harcourt Brace Jevanoich. Inc.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มจร การพัฒนาสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.