รูปแบบการปลูกจิตสำนึกเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนย่านคลองแสนแสบ และสาขาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ผู้แต่ง

  • นิรมล วิชิต

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง “รูปแบบการปลูกจิตสำนึกเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนย่านคลองแสนแสบ และคลองสาขาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน มีวัตถุประสงค์เพื่อ.๑)เพื่อศึกษารูปแบบ กลไกโครงการสิ่งแวดล้อมศึกษา พื้นที่คลองแสนแสบ ๒) เพื่อติดตามและประเมินผลโครงการสิ่งแวดล้อมศึกษา ๓)วิเคราะห์รูปแบบโครงการสิ่งแวดล้อมศึกษาด้วยกระบวนทัศน์ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน พื้นที่วิจัย คือโรงเรียนชุมชนย่านคลองแสนแสบ และคลองสาขา จำนวน ๕ เขต ๘ โรงเรียน จำนวนประชากรกลุ่มตัวอย่าง บุคลากรในโรงเรียนรวมทั้งหมด ๒๙๕ คน รูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ แบบผสมผสานเชิงคุณภาพและปริมาณ เครื่องมือที่ใช้เอกสาร, การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ และสนทนากลุ่มเฉพาะ, แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า(Rating sale), สถิติหาค่าความถี่,ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน

ผลการวิจัย ประการแรก พบว่า โรงเรียน ๘ โรง ประยุกต์ใช้รูปแบบบูรณาการสร้างความรู้คู่คุณธรรมด้วยกระบวนการเรียนรู้บันได ๗ ขั้น กลไกการขับเคลื่อนได้แก่ ด้านนโยบายสิ่งแวดล้อมศึกษาและโครงสร้างการบริหารงานโรงเรียน ,ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ บันได ๗ ขั้น, ด้านการจัดโรงเรียนทั้งระบบเป็นโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา, ด้านการมีส่วนร่วม และสร้างเครือข่ายสิ่งแวดล้อมศึกษา ประการที่สอง จากการสืบค้นพบว่าการติดตาม และประเมินผล โครงการสิ่งแวดล้อมศึกษา พื้นที่คลองแสนแสบ จำนวนโรงเรียน ๘ โรง ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่บุคลากรในโรงเรียน ผู้บริหาร,ครู วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริหาร,ครู ร่วมรับรู้ และแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน และชุมชน พร้อมเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักการสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยเน้นทั้ง head- heart- hand รูปแบบบูรณาการเข้ากับหลักสูตรโดยจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมศึกษา ด้วยกระบวนการเรียนรู้ ๗ ขั้นตอน เพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมทั้งสร้างนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ในการอนุรักษ์รณรงค์สิ่งแวดล้อมทัรพยากรน้ำคลองแสนแสบ และคลองสาขา ให้ผู้นำชุมชน และชุมชนโดยรอบๆมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ กับโรงเรียน ๘ โรง และเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้อง ในทุกระดับมีส่วนร่วมใน ๔ พันธกิจการขับเคลื่อนเป็น โรงเรียนอีโคสคูล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยx ̅= ๔.๑๗ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D.= ๐.๕๗ ประการที่สาม วิเคราะห์รูปแบบโครงการสิ่งแวดล้อมศึกษาด้วยกระบวนทัศน์ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนพบว่า การควบคุมจัดการโดยกองส่งเสริม และเผยแพร่กลุ่มสิ่งแวดล้อมศึกษา โครงการอีโคสคูล สิ่งแวดล้อมศึกษา พื้นที่คลองแสนแสบ มียุทธศาสตร์ควบคุม มีโมเดลการพัฒนา คือรูปแบบบูรณาการเพื่อสร้างความรู้คู่คุณธรรม ด้วยกระบวนการเรียนรู้บันได๗ ขั้นเป็นแผนพัฒนาฉบับแรกที่ระบุการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาไว้ชัดเจน เรื่องการผลักดันสู่การปฎิบัติ และสร้างนวัตกรรมที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตปัจจุบัน และภาพรวมอนาคต โดยเชื่อมโยงโครงสร้างหลักสูตรสร้างกิจกรรมให้สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมศึกษา.และสร้างเครือข่าย และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.๒๕๔๐-๒๕๕๐ได้กำหนดสิทธิและหน้าที่ของประชาชน ชุมชน ภาคเอกชน และองค์กรอิสระให้เข้ามีส่วนร่วมบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น

References

จิตรดา ศิริรัตน์ และคณะ ,คู่มือวิชาชีพครู:ปฎิรูปการศึกษา ง่ายนิดเดียว, (กรุงเทพ:โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๔๖), หน้า ๖.

จีระวรรณ เกษสิงห์. สิ่งแวดล้อมศึกษาสำหรับโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร: วิสต้า อินเตอร์ปริ้น,๒๕๖๑.

ปาริชาติ วลัยเสถียรและคณะ. การติดตาม และประเมินผล . เอกสารประกอบการศึกษาวิชาการจัดการ และการประเมินโครงการพัฒนาสังคม ( Management and evaluation in social development project ) .คณะสังคมศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, ๒๕๖๐.

ประสาน ตังสิกบุตร. คู่มือโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน บันได ๗ ขั้น…เครื่องมือการจดกระบวนการเรียนรู้ .กรุงเทพมหานคร : ป่าฝน เนกซ์สเตป จำกัด, ๒๕๕๗.

วิวัฒน์ หามนตรี รศ.ดร,.เอกสารประกอบการสอนรายวิชา๘๑๐ ๒๐๗ เรื่องการทบทวนความรู้ด้านการพัฒนาชุมชนและสังคม หลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๒๕๕๙.

บทความ :

กทม.สาร. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร ทรงทราบถึงสาเหตุปัญหาระบายน้ำของกรุงเทพมหานคร, กทม.สาร .ปีที่ ๒๔ ฉบับที่ ๒๔๗ (มิถุนายน ๒๕๖๐) : ๓.

กฤษณะ ธรรมสาสน์, การบูรณาการจิตวิทยาบริการเชิงพุทธสำหรับผู้ประกอบการท่องเที่ยว, วารสารพุทธจักร มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.ปีที่ ๗๐ ฉบับที่ ๘ (สิงหาคม ๒๕๕๙) : ๗๐.

ชลิดา จูงพันธ์ และนฤพจน์ พุธวัฒนะ (๒๕๖๓)วิธีการจัดการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาในโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน:กรณีศึกษาโรงเรียนในจังหวัดปทุมธานี วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยธรมศาสตร์ ปทุมธานี ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๑

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31