พุทธวิธีการบริหารการศึกษาในศตวรรษที่ 21
คำสำคัญ:
พุทธวิธีการบริหาร, การเรียนรู้แบบโครงการเป็นฐาน, ศตวรรษที่ 21บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอแนวคิดพุทธวิธีการบริหารการศึกษาในศตวรรษที่ 21 เพื่อใหเกิดการรับรูและตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นของการบริหารการศึกษาในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การบริหารถือว่าเป็นศาสตร์หนึ่งที่มีองค์ประกอบในด้านความรู้ หลักการ และกฎเกณฑ์ที่นำมาจากศาสตร์ต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการศึกษาหาความรู้ในหลักการบริหาร แล้วนำไปสู่การปฏิบัติจริง การบริหารจะประสบความสำเร็จได้นั้นจึงขึ้นอยู่กับความสามารถ ประสบการณ์และทักษะของผู้บริหารหรือผู้นำองค์กรในการประยุกต์แนวคิดและทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารไปสู่การปฏิบัติจริงได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ ในการบริหารการศึกษานอกจากจะอาศัยหลักการ แนวคิดและทฤษฎีการบริหารตามศาสตร์สมัยใหม่แล้ว ยังต้องอาศัยการประยุกต์ใช้หลักการบริหารตามแนวพุทธธรรมที่เหมาะสม การบริหารการศึกษาเชิงพุทธจึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่สามารถนำมาเป็นหลักสำคัญในการขับเคลื่อนการบริหารการศึกษาให้เกิดการพัฒนาได้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542 ที่มีจุดมุ่งหมายตามมาตรา 6 ที่ว่า“การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข” ซึ่งพุทธวิธีการบริหารการศึกษาดังกล่าวแบ่งเป็น 3 ด้าน คือด้านการบริหารตน ได้แก่ หลักพรหมวิหาร 4 ด้านการบริหารคน ได้แก่ หลักสังคหวัตถุ 4 และด้านการบริหารงาน ได้แก่ หลักอิทธิบาท 4 หลักธรรมทั้งหมดเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงได้ทรงกำหนดแนวทางในการปฏิบัติตนดังกล่าวไว้เป็นเวลานานนับพันปีมาแล้ว แต่หลักการและแนวทางดังกล่าวยังคงมีความเป็นปัจจุบัน สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมกับสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล
References
กุลนที ทองจันทร์. (2555). ผู้บริหารยุคใหม่กับเทคโนโลยีสารสนเทศ. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2565, จาก GoToKnow : https://www.gotoknow.org/posts/429105.
จอมพงศ์ มงคลวนิช. (2556). การบริหารองค์การและบุคลากรทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : บริษัท วี.พริ้นท์ (1991) จำกัด.
เจริญผล สวรรณโชติ. (2551). ทฤษฎีบริหาร ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพมหานคร : บริษัท เอกพิมพ์ไท จำกัด.
จำรัส จันทร์แสงศรี. (2552). หลักการบริหารงานสมัยใหม่กับหลักการบริหารงานเชิงพุทธศาสตร์ : บทความพิเศษ. กรุงเทพมหานคร : สมาคมฟันดาบสมัครเล่นแห่งประเทศไทย.
พุธิวรรณ กิติคุณ. (2560). การปฎิรูปประเทศตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร : สำนักวิชาการ.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2549). พุทธวิธีบริหาร. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมโกศาจารย์ . (2553). วิธีบูรณาการพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2540). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพมหานคร : ธรรมสภา.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2558). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 31. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ผลิธัมม์ จำกัด.
พระมหาอุดร อุตฺตโร. (2565). พุทธวิธีการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วันชัย มีชาติ. (2554). การบริหารองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามลดา.
สมเดช สีแสง. (2544). คู่มือการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ. ชัยนาท : อมรการพิมพ์.
สิน งามประโคน. (2560). พุทธบริหารการศึกษา : แนวคิดทฤษฎีและการบูรณาการ. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย. ปีที่1 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม - สิงหาคม).
สัญญา สัญญาวิวัฒน์ และชาย สัญญาวิวัฒน์. (2550). การบริหารจัดการแนวพุทธ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.
เสกสรรค์ สนวา และคณะ. (2561). คุณลักษณะของผู้นำองค์การภาครัฐสมัยใหม่. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, Special Issue (September-October).
Gulick L. and Urwick J.. (1973). Papers on the Science of Administration. New York : Institute of Public Administration.
Hoy, Wayne K. & Cecil, Masker G.. (1996). Educational Administration Theory : Research, and Practice. New York: McGraw-Hill Inc.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มจร การพัฒนาสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.