แนวทางการพัฒนาเกษตรกรไทยสู่การเป็นเกษตรกรอัจฉริยะในยุคไทยแลนด์ ๔.๐ บ้านลำแดง ต.หันตะเภา อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา
คำสำคัญ:
เกษตรกรอัจฉริยะ, ไทยแลนด์ 4.0, แนวทางการพัฒนาเกษตรกร, เทคโนโลยีทางการเกษตรบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้วัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาสถานการณ์ สภาพปัญหาและอุปสรรค ของเกษตรกร บ้านลำแดง ต.หันตะเภา อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา 2. เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาเกษตรกรสู่การเป็นเกษตรกรอัจฉริยะ ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ในพื้นที่บ้านลำแดง ต.หันตะเภา อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา และ 3. เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาเกษตรกรสู่การเป็นเกษตรกรอัจฉริยะ ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ในพื้นที่บ้านลำแดง ต.หันตะเภา อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา วิธีดำเนินการวิจัยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยวิธีการวิเคราะห์เอกสาร (Documentation) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 คน
ผลการวิจัยพบว่า
- เกษตรกรบ้านลำแดง ต.หันตะเภา อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา มีจุดแข็งที่เป็นสภาพภูมิศาสตร์หรือมีชัยภูมิที่ดีในการทำเกษตรมีเส้นทางคมนาคมที่สะดวกแก่การขนสินค้าทางการเกษตรทั้งทางบกและทางน้ำ แต่มักจะประสบปัญหาด้านการเกษตรใน 3 ประการ ได้แก่ ด้านการผลิตสินค้าเกษตร ด้านการลงทุน และด้านการควบคุมคุณภาพ
- แนวทางการพัฒนาเกษตรกรสู่การเป็นเกษตรกรอัจฉริยะในยุคไทยแลนด์ 4.0 แบ่งเป็น 2 ระดับคือ ระดับบุคคล และระดับชุมชน โดยระดับบุคคลจะต้องพัฒนาองค์ความรู้เทคโนโลยีสมัยใหม่ พัฒนาการวางแผนการทำงานพัฒนาการบริหารจัดการระดับชุมชนจะต้องพัฒนาองค์กรบริหารจัดการพัฒนามาตรฐานสินค้า เป็นต้น โดยการพัฒนาทั้ง 2 ระดับจะต้องมีการจัดทำแผนพัฒนาตนเองมีการสร้างและเชื่อมโยงเครือข่ายมีการให้การแนะนำช่วยเหลือจากฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และมีการประเมินศักยภาพของเกษตรกร
- การนำเสนอแนวทางการพัฒนาเกษตรกรสู่ความเป็นเกษตรกรอัจฉริยะในยุคไทยแลนด์ 4.0 แบ่งออกเป็น 2 ระดับคือ ระดับชุมชน และระดับเครือข่าย โดยระดับชุมชนจะต้องมีการวางเป้าหมายในการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ มีกระบวนการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ มีการสร้างและเชื่อมโยงเครือข่าย โดยการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน ทั้งในระดับอำเภอจังหวัด ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ มีการประเมินศักยภาพ มีหลักสูตร มีการคัดเลือกและพัฒนาเกษตรกร ส่วนในระดับเครือข่ายจะต้องอาศัยการพัฒนาจากระดับชุมชนและร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ นักวิชาการ องค์กรเอกชน และองค์กรธุรกิจเพื่อผลักดันให้เกษตรกรของชุมชนได้มีโอกาสในการเติบโตผ่านเวทีต่าง ๆ ของเครือข่ายข้างต้น
References
พรชัย เจดามาน และคณะ, การพัฒนาการศึกษาภายใต้กรอบประเทศไทย 4.0 สู่ศตวรรษที่ 21, (ม.ป.ท : ม.ป.ป.), หน้า 2.
สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, แผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (พ.ศ. 2561-2565), (พระนครศรีอยุธยา: สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, 2563), หน้า 101.
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.), Smart Farmers เกษตรกรยุคใหม่ใส่ใจเทคโนโลยีและมีองค์ความรู้ กิจกรรมจัดทำองค์ความรู้เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจงานพัฒนาองค์ความรู้สำหรับ SME (Knowledge Center) ปีงบประมาณ 2561, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.sme.go.th /upload/mod_download/download-20181005060126.pdf [24 มีนาคม 2564].
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.), Smart Farmers เกษตรยุคใหม่ ใส่ใจเทคโนโลยีและมีองค์ความรู้, (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, 2561), หน้า 2.
สำนักงานเกษตรกรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://www.ayutthaya
.doae.go.th/wordpress/ [24 มีนาคม 2564].
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มจร การพัฒนาสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.