รูปแบบการเสริมสร้างภาวะผู้ตามที่ดีตามหลักพุทธธรรมของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
คำสำคัญ:
รูปแบสารเสริมสร้าง, ภาวะผู้ตาม, หลักพุทธธรรมบทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาภาวะผู้ตามของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 2) พัฒนารูปแบบการเสริมสร้างภาวะผู้ตามที่ดีตามหลักพุทธธรรมของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 3) ตรวจสอบรูปแบบการเสริมสร้างภาวะผู้ตามที่ดีตามหลักพุทธธรรมของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีโดยมีระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 5 ท่าน การสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบศึกษาเอกสาร แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และระเบียบวิจัยเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน 379 คน โดยการสุ่มอย่างง่ายแบบเป็นระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเอกสารด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและการวิเคราะห์ทางสถิติ คือ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า:
- ผลการวิเคราะห์สภาพปัญหาภาวะผู้ตามของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับจากด้านที่มีปัญหามากไปหาด้านที่มีปัญหาน้อยได้ ดังนี้ ผู้ตามแบบเฉื่อยชาข้อทำงานแล้วหยุดต้องบอกหรือสั่งใหม่จึงทำต่อมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ผู้ตามแบบเอาตัวรอดข้อไม่มีจุดยืนที่แน่นอนมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ผู้ตามแบบเหินห่างข้อมีความอิสระมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ผู้ตามแบบปรับตามข้อทำตามคำสั่งโดยไม่คำนึงว่าเป็นงานประเภทไหนมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด และผู้ตามแบบมีประสิทธิผลข้อมีความเอาใจใส่ในการทำงานมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด - การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างภาวะผู้ตามที่ดีตามหลักพุทธธรรมของครู
ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ 1. หลักการ 2. วัตถุประสงค์ 3. แนวทางการเสริมสร้างภาวะผู้ตามที่ดีตามหลักพุทธธรรม ประกอบด้วย 1) แบบภาวะผู้ตาม 2) หลักพุทธธรรม 3) การเสริมสร้างภาวะผู้ตามที่ดีตามหลักพุทธธรรม 4. เงื่อนไขแห่งความสำเร็จ - ผลการตรวจสอบรูปแบบการเสริมสร้างภาวะผู้ตามที่ดีตามหลักพุทธธรรมของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความถูกต้องอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านความเหมาะสมและด้านความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มจร การพัฒนาสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.