ศิลปะมวยไทย : รูปแบบการเรียนรู้และการสร้างเครือข่ายทางสังคมเชิงสร้างสรรค์

ผู้แต่ง

  • มณีวรรณ พูลสวัสดิ์

คำสำคัญ:

มวยไทย, การเรียนรู้, เครือข่าย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ความรู้ และกระบวนการสร้างสรรค์ศิลปะมวยไทย 2) เพื่อพัฒนารูปแบบ องค์การเรียนรู้ศิลปะมวยไทยขององค์กรมวยไทย 3) เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ขององค์กรมวยไทยกับการพัฒนาสังคมเชิงสร้างสรรค์ เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบสนทนากลุ่ม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะมวยไทยจากหน่วยงานภาครัฐ กลุ่มเยาวชนและประชาชนที่มาฝึกมวยไทยในพื้นที่วิจัย จำนวน 18 คน

ผลการวิจัย พบว่า 1) ด้านศิลปวัฒนธรรม เป็นการสืบสานและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทย ได้แก่ การไหว้ครู ให้คงอยู่คู่กับมวยไทยตลอดมา 2) ด้านการป้องกันตัว มวยไทย เป็นศิลปะป้องกันตัวเองที่หน้ากลัวมากที่สุด สามารถทำอันตรายให้กับศัตรูเจ็บได้ 3) ด้านการสร้างอาชีพ สามารถสร้างรายได้ให้กับนักมวยได้มาก นักมวยที่มีชื่อเสียงจะมีค่าตัวในการชกแต่ละครั้งค่อนข้างสูง 4) ด้านการท่องเที่ยว ชาวต่างชาติจำนวนมากเดินทางมาประเทศไทย โดยมี ‘กีฬามวย’ เป็นเป้าหมายหลักทำให้การท่องเที่ยวเปิดกว้าง 5) ด้านเครือข่ายมวยไทย ได้มีการจัดทำโครงการพัฒนาเครือข่ายมวยไทยขึ้น เพื่อกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือและเชื่อมโยงกันระหว่างผู้ประกอบการในกลุ่มเครือข่ายมวยไทยโดยมุ่งเน้นการรวมกลุ่มของเครือข่ายต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ให้เป็นเครือข่ายที่เข้มแข็ง 6) แนวทางการการเรียนรู้และการสร้างเครือข่ายทางสังคมเชิงสร้างสรรค์ ประกอบไปด้วยองค์ประกอบ ดังต่อไปนี้ได้แก่ วัฒนธรรม (Culture) การเรียนรู้ (Learning) การปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง (Permanence) และเครือข่าย (Network)

 

References

เขตร ศรียาภัย. (๒๕๕๐). ปริทัศน์มวยไทย. กรุงเทพฯ : มติชน.หน้า ๒๑.

เฉลิม อุ่นทอง. (๒๕๔๗). มวยไทยยุคโลกาภิวัฒน์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาไทยคดี

ศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

เตชินี ชวลิตนิธิผลลาภ. (๒๕๕๑). สุขภาพดีด้วยแม่ไม้มวยไทย. พิมพ์ลักษณ์, กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

สมใจ รอดสุขเจริญ. (๒๕๕๙). หนังสือศิลป์การต่อสู้ป้องกันตัว วิธีต่อสู้อันชาญฉลาด.หน้า ๙.

สำนักวัฒนธรรมกีฬาและการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร. (๒๕๕๕). มวยไทย กระบวนยุทธ์แห่งสยาม. กรุงเทพฯ : สำนักวัฒนธรรมกีฬาและการท่องเที่ยว.

ฝ่ายวิชาการ บริษัทสกายบุ๊กส์ จำกัด. (๒๕๔๘). รวมกฎกติกา และพื้นฐานการเล่นฟันดาบ. ฝ่ายวิชาการ บริษัท สกายบุ๊กส์ จำกัด.

ณัฏฐพันธ เขจรนันทน และฉัตยาพร เสมอใจ. (๒๕๔๗). การจัดการ. บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด,

กรุงเทพมหานคร.

นปภัสร์ ชูสุวรรณ. (๒๕๕๙). ปัจจัยด้านการตลาดที่มีอิทธิพลต่อความต้องการเดินทางท่องเที่ยว

เพื่อมาชมมวยไทยของนักท่องเที่ยวต่างชาติ. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

รุ่งอรุณ สุทธิพงษ์. (๒๕๕๗). การพัฒนาสมรรถภาพทางกายของนักศึกษาสาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน

โดยใช้การเต้นแอโรบิกมวยไทย. วารสารวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏหมูบานจอมบึง (ปที่ ๑ฉบับที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๖ – มีนาคม ๒๕๕๗).

วินัย พูลศรี. (๒๕๔๕). การศึกษาวิวัฒนาการมวยไทยในมิติวัฒนธรรม, งานวิจัย ภาควิชาพลศึกษาและกีฬามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. หน้า ๖.

สำนักวัฒนธรรมกีฬาและการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร. (๒๕๕๕). มวยไทยกระบวนยุทธ์แห่งสยาม, กรุงเทพมหานคร : สำนักวัฒนธรรมกีฬาและการท่องเที่ยว.

ต่วย และนายขยะ (นามแฝง). (๒๕๔๖ : ๑๗)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-02