พระราชบัญญัติการศึกษากับการจัดการศึกษาในยุคโลกาภิวัตน์
คำสำคัญ:
พระราชบัญญัติการศึกษา, โลกาภิวัฒน์, การจัดการศึกษาในยุคโลกาภิวัตน์บทคัดย่อ
บทความเรื่อง พระราชบัญญัติการศึกษากับการจัดการศึกษาในยุคโลกาภิวัตน์ สำหรับบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ เพื่อจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องถูกต้องตามบริบทตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และเพื่อการจัดการศึกษาในยุคโลกาภิวัตน์ แนวคิดที่สามารถสรุปได้ดังนี้ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติของการจัดการศึกษาสำหรับประเทศไทยโดยมีคำสำคัญ คือพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขซึ่งในทุกมาตราสามารถส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อนนำไปสู่การจัดการเรียนรู้อันนำสู่การพัฒนาคนในศตวรรษที่ 21 ยุคโลกาภิวัตน์มีผลกระทบต่อการจัดการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง โดยมีการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการศึกษา คุณภาพของการจัดการศึกษาในยุคโลกาภิวัตน์จึงต้องเป็นการศึกษาที่สามารถทำให้ผู้เรียนสามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อประโยชน์สำหรับชีวิตประจำวันในการปฏิบัติหน้าที่และการศึกษาต่อ การจัดการศึกษาในยุคโลกาภิวัตน์จึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ โดยเฉพาะครูต้องเปลี่ยนแปลงแนวการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้รับทักษะที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ในชีวิตประจำวัน ทักษะสำคัญที่จำเป็นต้องใช้ในยุคโลกาภิวัตน์เป็นทักษะที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่คนต้องมีการปรับตนเองด้วยการเพิ่มทักษะใหม่ และการเพิ่มทักษะใหม่ที่จำเป็นต่อการศึกษาต้องสามารถทำให้ผู้เรียนนำข้อมูลสารสนเทศมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีคุณภาพ
References
กัญภร เอี่ยมพญา. (2561). การพัฒนาวิชาชีพครู. นนทบุรี: 21 เซนจูรี่.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2560). การศึกษาบนฐานโลกาภิวัฒน์: กรณีการจัดการศึกษาฮาร์วาร์ดได้. เข้าถึงข้อมูล http://drdancando.com. สืบค้นเมื่อ 6 มกราคม.พ.ศ.2566.
นิวัตต์ น้อยมณี. (2562). การศึกษาไทยกับยุคโลกาภิวัตน์. ฉะเชิงเทรา: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6.
พระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน และปฐมพงศ์ ศุภเลิศ. (2557). วิเคราะห์ปรัชญาแนวคิดทางการศึกษาตามพรบ.การศึกษาแห่งชาติ 2542 กับแนวคิดทางการศึกษาของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 1(1). 104.
พระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมฉบับ 2.(2563). เข้าถึงข้อมูล https://www.pcccr.ac.th/filesAttach/OIT/O3/1.pdf สืบค้นเมื่อ 6 มกราคม.พ.ศ.2566.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และ พเยาว์ ยินดีสุข. (2557). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และนักรบ หมี้แสน. (2560). ความเป็นครูและการพัฒนาครูมืออาชีพ. กรุงเทพมหานคร: แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพมหานคร: ศิริวัฒนา.
วิชัย วงษ์ใหญ่. (2554). สี่เสาหลักของการเรียนรู้. สารานุกรมวิชาชีพครูเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). เอกสารประกอบการประชุมโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การจัดทำประมวลสาระกฎหมายทั้งระบบที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการศึกษา เพื่อการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2560). ครูกับการศึกษายุคโลกาภิวัตน์. เข้าถึงข้อมูล https://sites.google.com /site/nilobonnoeyps/h. สืบค้นเมื่อ 6 มกราคม.พ.ศ.2566.
หริสา ยงวรรณกร และคณะ. (2557). การปฏิรูปการเรียนรู้ของครูในยุคโลกาภิวัฒน์. เข้าถึงข้อมูลhttp://ejournals.swu.ac.th สืบค้นเมื่อ 6 มกราคม.พ.ศ.2566
อดุลย์ วังศรีคูณ. (2557). การศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21 ผลผลิตและแนวทางการพัฒนา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์บัณฑิต วิทยาลัยมหาวิทยาลัยพิบูลสงคราม. 8(1). 1-17.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มจร การพัฒนาสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.