การศึกษาระบบสวัสดิการของผู้ป่วยจิตเวชไร้บ้านในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งและสถานที่อื่น ที่มีโอกาสหรือสามารถรองรับได้ของไทยและต่างประเทศ

ผู้แต่ง

  • ปุณยวัจน์ ไตรจุฑากาญจน์ Thammasat University

คำสำคัญ:

คนไร้บ้าน, โรคจิตเวช, ผู้ป่วยจิตเวชไร้บ้าน, สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบสวัสดิการ การดําเนินงาน รวมถึงปัญหาอุปสรรคในการดําเนินงานด้านการคุ้มครองสิทธิและสวัสดิการของผู้ป่วยจิตเวชไร้บ้านในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งและสถานที่อื่นที่มีโอกาสหรือสามารถรองรับได้ และจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาระบบสวัสดิการที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยจิตเวชไร้บ้าน โดยเป็นการวิจัยเชิงเอกสาร และ วิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารสาธารณะที่เกี่ยวข้องซึ่งตีพิมพ์เผยแพร่โดยหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนในระดับประเทศและระดับสากลของประเทศไทย สหรัฐอเมริกา และ ญี่ปุ่น

ผลการศึกษา พบว่า ระบบสวัสดิการสำหรับผู้ป่วยจิตเวชไร้บ้านในประเทศไทยและต่างประเทศยังมีปัญหาอุปสรรคที่สำคัญ 2 เรื่องหลัก คือ ประเด็นของการบริหารจัดการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานของหน่วยงานด้านการคุ้มครองสิทธิและสวัสดิการของผู้ป่วยจิตเวชไร้บ้าน และประเด็นของผู้ป่วยจิตเวชไร้บ้านในการดำเนินงานของการคุ้มครองสิทธิและสวัสดิการ สำหรับข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาระบบสวัสดิการที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยจิตเวชไร้บ้าน มี 3 นโยบายหลัก คือ นโยบายการประสานงานการบริการแบบองค์รวมของกลุ่มหน่วยงานและองค์กรแนวร่วมภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม, นโยบายการพัฒนากระบวนการให้บริการและการบำบัดฟื้นฟูอย่างยั่งยืนและอย่างมีเสถียรภาพ และนโยบายการดำรงไว้ซึ่งความตระหนักและความมุ่งมั่นการให้บริการอย่างต่อเนื่องร่วมกับหน่วยงาน และองค์กรที่เกี่ยวข้อง

References

ขนิษฐา กู้ศรีสกุล, พันธ์ุนภา กิตติรัตนไพบูลย์, ณัฐพัชร์ มรรคา, กนิษฐา บุญธรรมเจริญ. (2561). “ภาระโรคจิต

เวชและความผิดปกติของพฤติกรรมใช้สุราสารเสพติดในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2557”. วารสาร

สุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 26 (1). Bangkok, Thailand:1-15.

https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht/article/view/142911.

ทานตะวัน อวิรุทธ์วรกุล. (2559). สํารวจความชุกโรคจิตเวชของกลุ่ม คนไร้บ้านในเขตกรุงเทพมหานคร.

รายงานวิจัยไม่เผยแพร่. กรุงเทพฯ: JustNet.

ธนียา วงศ์จงรุ่งเรือง, สุจิรา เนาวรัตน์, กฤตนัย แก้วยศ (2562). “ลักษณะของผู้ป่วยไร้บ้านที่รับการรักษาแบบ

ผู้ป่วยในของสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา” วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา, 13 (2), 43-52.

นิฤมน รัตนรัต และคณะ. (2562) รายงานวิจัย การขับเคลื่อนเชิงนโยบายระบบการดูแลให้บริการด้าน

สุขภาพจิตแก่ผู้ป่วยจิตเวชไร้บ้านในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

ประชาไท. ข่าวต่างประเทศ (16 ตุลาคม พ.ศ. 2562). คนไร้บ้าน ปัญหาใต้พรม “ญี่ปุ่น” สืบค้นใน

https://www.prachachat.net/world-news/news-382454

ผู้จัดการออนไลน์. (2564).(18 สิงหาคม). American Nightmare คนไร้บ้านซ้ำป่วยโรคจิต ชีวิตมืดมน:

เป็นปท.เจ้าโลกแต่บำบัดผู้เปราะบางไม่ได้. ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นจาก

https://mgronline.com/around/detail/9640000081154

วนิดา บุญยิ้ม. (2561). การศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบการคุ้มครองคนไร้บ้าน. (วิทยานิพนธ์ปริญญา

มหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, ภาควิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2558). “เข้าใจ-ให้โอกาส” คนไร้บ้าน. สืบค้นจาก

http://www.thaihealth.or.th/เพื่อสุขภาวะ/เรื่องเล่าภาคี

The Active News. (23 เมษายน 2565). กทม. ครองแชมป์ ‘ผู้ป่วยจิตเวชไร้บ้าน’ วอนผู้ว่าฯ กทม. เข้าใจ

ปัญหา สร้าง ‘เมืองปลอดภัย’ เพื่อทุกคน. สืบค้นใน

https://theactive.net/news/marginalpeople-20220423/

Christopher F. Rufo. (2018). Seattle Under Siege Record numbers of homeless people are

occupying the city’s public spaces, despite massive government spending to fight the problem. https://www.city-journal.org/seattle-homelessness.

Folsom, D.P., Hawthorne, W., Lindamer, L., Gilmer, T., Bailey, A., Golshan, S., Garcia, P., Unützer,

J., Hough, R., and Jeste, D.V. (2005). “Prevalence and Risk Factors for Homelessness and Utilization of Mental Health Services Among 10,340 Patients with Serious Mental Illness in a Large Public Mental Health System.” American Journal of Psychiatry, 162:370-376.

Balasuriya Lilanthi, Buelt Eliza, Tsai Jack. (2020) The Never-Ending Loop: Homelessness,

Psychiatric Disorder, and Mortality. Psychiatric Times 37(5).

Morikawa S, Uehara R, Okuda K, Shimizu H, Nakamura Y. [Prevalence of psychiatric disorders

among homeless people in one area of Tokyo]. Nihon Koshu Eisei Zasshi. 2011 May;58(5):331-9. Japanese. PMID: 21905609.

Okamura, T., Takeshima, T., Tachimori, H., Takiwaki, K., Matoba, Y., & Awata, S. (2015).

Characteristics of Individuals with Mental Illness in Tokyo Homeless Shelters.

Prevalence of mental disorders among people who are homeless: An umbrella review. International Journal of Social Psychiatry, 66(6), 528–541.

https://doi.org/10.1177/0020764020924689

Smiljanic Stasha. (2022), The State of Homelessness in the US-2022.

https://policyadvice.net/insurance/insights/homelessness-statistics/

U.S. Department of Housing and Urban Development. (2022). The 2021 annual homeless

assessment report (AHAR) to

Congress.https://www.huduser.gov/portal/sites/default/files/pdf/2021-AHAR-Part-1.pdf

Washington State Resource Guide. (2012). “Housing for Homeless Individuals with Mental

Illness and Co-Occurring Substance Use Disorders”. Division of Behavioral Health and Recovery, Washington State Department of Social & Health Services.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31