การศึกษาทัศนคติต่อความตายของวัยรุ่นในยุคปรับเปลี่ยนชีวิตวิถีใหม่ กรณีศึกษานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • พระกิตติพงศ์ สุกิตฺติโก
  • พระครูสังฆรักษ์เอกภัทร อภิฉนฺโท
  • ประสิทธิ์ แก้วศรี

คำสำคัญ:

ทัศนคติต่อความตาย, ปรับเปลี่ยนชีวิตวิถีใหม่, จังหวัดสุราษฎร์ธานี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับทัศนคติต่อความตายของวัยรุ่นในยุคปรับเปลี่ยนชีวิตวิถีใหม่ กรณีศึกษานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความแตกต่างและความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อความตายของวัยรุ่นในยุคปรับเปลี่ยนชีวิตวิถีใหม่ กรณีศึกษานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยมีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 316 คน ทั้งเพศชายและเพศหญิง สถิติที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน คือ การทดสอบไคสแควร์ (Chi-Square Test) และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ (Correlation) ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับทัศนคติต่อความตายของวัยรุ่นในยุคปรับเปลี่ยนชีวิตวิถีใหม่ ด้านการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา และด้านทัศนคติต่อความตาย มีระดับทัศนคติต่อความตายโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ขณะที่ด้านการสนับสนุนทางสังคม และด้านการเตรียมตัวเพื่อเผชิญกับความตาย มีระดับทัศนคติต่อความตายโดยรวมอยู่ในระดับมาก และ 2) ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามไม่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อความตายของวัยรุ่นในยุคปรับเปลี่ยนชีวิตวิถีใหม่ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อความตายของวัยรุ่นในยุคปรับเปลี่ยนชีวิตวิถีใหม่ ด้านการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา ด้านการสนับสนุนทางสังคม และด้านการเตรียมตัวเพื่อเผชิญกับความตาย มีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อความตายของวัยรุ่นในยุคปรับเปลี่ยนชีวิตวิถีใหม่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กรมสุขภาพจิต. (2563). ความตาย. กรุงเทพฯ: กรมสุขภาพจิต.

ปองพล คงสมาน. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลของญาติผู้ดูแลเกี่ยวกับความตายของผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม. (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาบาลผู้ใหญ่. บัณฑิตวิทยาลัย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มารยาท สุจริตวรกุล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเตรียมตัวเพื่อการตายของผู้สูงอายุไทยพุทธ. วารสารเกื้อการุณย์, 25(1), 154-169.

สารภี รังสีโกศัย. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเตรียมตัวเพื่อ เผชิญกับภาวะใกล้ตายและความตายของผู้สูงอายุใน ชมรมผู้สูงอายุ จังหวัดปัตตานี. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 33(1), 43-56.

สุธารัตน์ กุลรัตนมาศ. (2558). ประสบการณ์ของพยาบาลวิชาชีพในการบริหารจัดการ การดูแลผู้ป่วยในวาระสุดท้ายของชีวิต. วารสารพยาบาลทหารบก, 18(2), 76-84.

สุปรียส์ กาญจนพิศศาล. (2562). ศูนย์พุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วารสารพุทธศาสน์ศึกษาจุฬาลงกรณ์, 26(2), 192-213.

Chan, P. P., & Lowe, T. M. (2009). GtRNAdb: a database of transfer RNA genes detected in genomic sequence. Nucleic acids research. 7(1), 93-97.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28