การพัฒนาคุณภาพชีวิตวิถีใหม่ของคนเมืองเชิงพุทธบูรณาการ

ผู้แต่ง

  • ภัทรานิษฐ์ กัปโก -

คำสำคัญ:

การพัฒนาคุณภาพชีวิต, ชีวิตวิถีใหม่, พุทธบูรณาการ

บทคัดย่อ

             งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาคุณภาพชีวิตวิถีใหม่ของคนเมืองเชิงพุทธบูรณาการ มีวัตถุประสงค์ดังนี้  1) เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตวิถีใหม่ของคนเมืองในจังหวัดนนทบุรี 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่นำมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตวิถีใหม่ของคนเมืองในจังหวัดนนทบุรี และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตวิถีใหม่ของคนเมืองเชิงพุทธบูรณาการ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาจากเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในรูปแบบการพรรณนาวิเคราะห์ 

              ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพชีวิตวิถีใหม่ของคนเมืองในจังหวัดนนทบุรีในท่ามกลางการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประสบปัญหาทางด้านครอบครัว เกิดจากการเปลี่ยนแปลงค่านิยมเกี่ยวกับการสร้างครอบครัวซึ่งมีปัจจัยเชิงสาเหตุจากด้านเศรษฐกิจ ส่วนปัญหาด้านสังคมเกิดการหลอกลวงผ่านการสื่อสารสมัยใหม่ และปัญหาด้านจิตใจ ผู้สูงอายุส่วนหนึ่งมีปัญหาด้านจิตใจ แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตวิถีใหม่ของคนเมืองเชิงพุทธบูรณาการ โดยการนำหลักพุทธธรรม และกิจกรรมของคณะกรรมการชุมชน มาเป็นกรอบแนวทางการการพัฒนาคุณภาพชีวิตเชิงพุทธบูรณาการทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านครอบครัว ใช้หลักฆราวาสธรรม กับส่งเสริมสร้างสายใยรักในครอบครัว ทำให้ลดปัญหาความรุนแรงในครอบครัว 2) ด้านเศรษฐกิจ ใช้หลัก    ทิฏฐธัมมิกัตถะ กับส่งเสริมให้ประชาชนดำเนินชีวิตตามแนวหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้สามารถพึ่งตนเองและมีความเป็นอยู่อย่างพอเพียง 3) ด้านสังคม ใช้หลักศีล 5 กับจัดให้มีศูนย์รวมจิตใจสร้างพลัง     ยึดเหนี่ยวจิตใจคนในชุมชน ทำให้มีความจริงใจต่อกัน และเกิดความสามัคคีช่วยเหลือกันในสังคม และ 4) ด้านจิตใจ ใช้หลักจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน กับส่งเสริมให้สมาชิกทุกครอบครัวถือศีลปฏิบัติธรรม ทำให้คนส่วนใหญ่มีสุขภาพจิตแข็งแรงขึ้น สามารถดำเนินชีวิตในช่วงการแพร่ของโรคระบาดได้อย่างปกติสุข            

References

กองวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการบริหารความเสี่ยงในโรงพยาบาล. กรุงเทพมหานคร: บริษัท จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์ จำกัด, 2564.

พระครูอุดมจันทวรรณ (อุตฺตโม). “การพัฒนาคุณภาพชีวิตเชิงพุทธบูรณาการของประชาชนในจังหวัดบุรีรัมย์”. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2561.

พระพุทธโฆสาจารย์. วิสุทธิมรรค. แปลโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ). พิมพ์ครั้งที่ 4, กรุงเทพมหานคร: บริษัท ประยูรวงศ์พริ้นท์ติ้งจำกัด, 2546.

พระมหาถนอม ฐานวโร (พิมพ์สุวรรณ์). “รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนหมู่บ้านรักษาศีล 5 ในจังหวัดนครปฐม”. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2563.

พระมหาสุทิตย์ อาภากโร และเขมณัฎฐ อินทรสุวรรณ. ตัวชี้วัดความสุข : กลยุทธ์การสร้างและการใช้เพื่อชุมชนเป็นสุข. กรุงเทพมหานคร: สถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข, 2553.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.

ศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด-19 (ศบค.), จำนวนผู้ติดเชื้อโควิดในประเทศ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://media.thaigov.go.th/uploads/public_img/source/310864.pdf [31 สิงหาคม 2564].

UNESCO. Quality of Life: An Orientation to Population Education. Bangkok: UNESCO, 1980.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28