แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพสตรีในจังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • พัชชา เจิงกลิ่นจันทร์ Thammasat University
  • ปิ่นหทัย หนูนวล
  • กาญจนา รอดแก้ว
  • มาดี ลิ่มสกุล

คำสำคัญ:

ส่งเสริมพัฒนาสตรี, ศักยภาพสตรี, กลุ่มสตรี

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหา ความต้องการ และบทบาทของสตรีในจังหวัดปทุมธานี 2) เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพสตรีในจังหวัดปทุมธานี 3) เพื่อการพัฒนาแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพสตรีในจังหวัดปทุมธานี โดยการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) มีกลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มสตรีในจังหวัดปทุมธานี ผลการศึกษาพบปัญหาและความต้องการของกลุ่มสตรีทั้ง 4 กลุ่ม คือ การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสินค้า และผลิตภัณฑ์ ประชาสัมพันธ์สินค้า และเพิ่มมูลค่าสินค้า จึงส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพกลุ่มสตรีด้วยการอบรมเชิงปฏิบัติการเสริมเทคนิคและทักษะที่แต่ละกลุ่มต้องการ การศึกษาดูงาน การสำรวจตลาด การออกแบบบรรจุภัณฑ์ และพัฒนาการประชาสัมพันธ์ งานวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะ 3 ระดับ คือ ระดับบุคคล กลุ่ม และนโยบาย ประกอบด้วยการส่งเสริมศักยภาพสตรี การสร้างการมีส่วนร่วมของสตรีหลายช่วงวัย การส่งเสริมและพัฒนาเครือข่ายสตรี และการส่งเสริมบทบาทสตรีในการพัฒนาชุมชน รวมทั้งการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นที่มีความยืดหยุ่นสอดคล้องกับความต้องการของสตรี

References

กิตวิภา สุวรรณรัตน์. (2545). การสร้างพลังอำนาจในตนเองของสตรีที่ประสบปัญหาความรุนแรงในครอบครัว: ศึกษาเฉพาะกรณีศูนย์พิทักษ์สิทธิสตรี มูลนิธิเพื่อนหญิง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จารุวรรณ จินดามงคล. (2541). ผลการใช้โปรแกรมการเสิรมสร้างพลังอำนาจต่อความสามารถในการเผชิยปัญหาของผู้ป่วยจิตเวช. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ธีรนาถ กาญจนอักษร. (2542). หญิงชายกับการเปลี่ยนแปลงสังคม. กรุงเทพฯ : เอดิสันเพรสโปรดักส์.

ปรานี วงษ์เทศ. (2559). เพศและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นาตาแฮก.

ปาริชาติ วลัยเสถียร และคณะ. (2543). กระบวนการและเทคนิคการทํางานของนักพัฒนา. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา. (ธันวาคม 2563). การประเมินความเสียหายผลกระทบและการปรับตัวของชุมชนท้องถิ่นต่อภาวะโรคระบาด COVID-19 [ออนไลน์]. สืบค้นจาก https://www.kpi.ac.th/uploads/pdf/7lX8AQpyC1B7wJlwgxNBQpYWzORibPrFAbyR0Ixn.pdf

เมทินี พงษ์เวช. (2541). ผู้หญิงบนเส้นทางแห่งอำนาจและการตัดสินใจ. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยบทบาทหญิงชายและการพัฒนา.

วรวิทย์ เจริญเลิศ. (2543). เศรษฐกิจไทยในระบบเศรษฐกิจโลกในพลวัตไทย: มุมมองจากเศรษฐศาสตร์การเมือง. กรุงเทพฯ : จุลาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สนธยา พลศรี. (2556). การพัฒนาความสามารถของบุคคลและกลุ่ม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

สมาคมเครือข่ายโกบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย. (ม.ป.ป.). ความเสี่ยงชองผู้หญิงที่พบเห็นได้ทั่วโลกขณะเกิดวิกฤติโควิด-19 [ออนไลน์}. สืบค้นจาก https://globalcompact-th.com/highlights/detail/57#

อมรา พงศาพิชญ์. (2548). เพศสถานะและเพศวิถีในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สำหนัดพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Breeding. R.R. (2008). Empowerment as a function of contextual self-understanding. Rehabilitation Counseling Bulletin. 51:96-106.

Zimmerman, M.A. (2000). Empowerment theory; Psychological, Organizational, and Community levels of analysis. In J. Rappaport & E. Seidman (Eds.), Handbook of Community Psychology (pp.46-63). Kluwer Academic Publishers. https//:doi.org/10.1007/978-1-4615-4193-6_2

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31