การจัดการโลจิสติกส์เพื่อพัฒนาธุรกิจสังคมไทย

ผู้แต่ง

  • ฐิติพล พงวิรัตน์สุข

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่อง การจัดการโลจิสติกส์เพื่อพัฒนาธุรกิจสังคมไทย นี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์และสภาพปัญหาการจัดการโลจิสติกส์ในธุรกิจของสังคมไทย 2) เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการโลจิสติกส์เพื่อพัฒนาองค์กรธุรกิจในสังคมไทย 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาสังคม อย่างยั่งยืน โดยใช้กระบวนการการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เป็นกระบวนการศึกษาทดลองกับกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจตามแบบกรอบแนวคิดในการวิจัย เพื่อให้ได้ผลการศึกษาที่นำไปสู่บทสรุปเป็นชุดความรู้เพื่อยกระดับการจัดการโลจิสติกส์ของธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลาง และวิสาหกิจชุมชนได้ รวมจำนวน 10 ท่าน และผู้เชียวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 ท่าน ซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการศึกษาเรื่องการจัดการโลจิสติกส์ และนำมาสู่การพัฒนาหลักสูตรเพื่อจัดอบรมในกลุ่มทดลอง 10 ท่าน และใช้การวิเคราะห์แบบ Content analysis

ผลการวิจัยพบว่า

1) สถานการณ์และสภาพปัญหาการจัดการโลจิสติกส์ปัจจุบัน ขึ้นอยู่กับรูปแบบของกิจกรรมหรืองานที่ทำเพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงของงานและข้อมูลเพื่อใช้ในการบริหารซึ่งมีลักษณะของการเคลื่อนย้าย ส่งต่อ วางแผน จัดเก็บ รวบรวม และกระจาย และนำไปใช้ สภาพปัญหาที่พบในการจัดการโลจิสติกส์อยู่ประกอบไปด้วยเรื่องของคน วัตถุดิบ เงิน วิธีการ การสื่อสาร และ การวิเคราะห์ ในการนำมาแก้ไขปัญหา ให้สามารถส่งมอบได้ตรงเวลาหรือต้นทุนลดลง

2) การสร้างรูปแบบการจัดการเพื่อพัฒนาการจัดการโลจิสติกส์ของธุรกิจในสังคมไทย วิเคราะห์จากข้อมูลการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการและผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิ มาสรุปเป็นขั้นตอนการพัฒนาได้ 4 ด้าน การรวบรวม การจัดเก็บ การกระจาย และการนำไปใช้ ซึ่งมี 7 ขั้นตอนประกอบไปด้วย สรุปข้อมูลการจัดการโลจิสติกส์, แนวคิดสู่การพัฒนา, สร้างต้นแบบ, การพัฒนาสู่โมเดล, นวัตกรรม การนำไปปฏิบัติ, บทสรุป

3) เพื่อพัฒนาสร้างรูปแบบสมการโลจิสติกส์เพื่อความยั่งยืนของธุรกิจและเพื่อการพัฒนาสังคม เกิดเป็นรูปแบบโมเดลซื่อ LEK MODEL คือ แบบจำลองธุรกิจว่าการบริหารจัดการโลจิสติกส์ ควรมีสูตร การรวบรวมต้นทุนต่อครั้ง จัดเก็บต้นทุนต่อครั้ง กระจายต้นทุนต่อครั้ง และนำไปใช้ต้นทุนต่อครั้ง หารด้วยต้นทุนต่อวัน หารด้วยเวลาทำงานต่อวัน มีการศึกษาปัจจัยภายนอก ความเสี่ยง ภัยคุกคาม ข้อจำกัดต่าง ๆ ขององค์กร และการนำหลักธรรมเกี่ยวกับการพัฒนาให้เกิดความยั่งยืนในการทำงานตามหลักศาสนาจากโมเดล LEK MODEL สามารถอธิบาย ได้ดังนี้

  1. 1. Logistic management การจัดการโลจิสติกส์ที่นำสูตรไปใช้กับกิจกรรมหรืองานที่ทำ โดยมีการคำนวนและเก็บข้อมูล การรวบรวม, จัดเก็บ, กระจาย, และนำไปใช้ต่อครั้ง หารด้วยต้นทุนต่อวัน หรือหารด้วยเวลาทำงานต่อวัน
  2. 2. External factors ปัจจัยภายนอก ความเสี่ยง ภัยคุกคาม ข้อจำกัด หรืออุปสรรคต่าง ๆ ขององค์กร ซึ่งประกอบด้วย พนักงาน (Man), เงินทุน (Money), วัสดุ (Material), วัสดุสิ่งของ วัตถุดิบ, วิธีปฏิบัติงาน (Method), การสื่อสารข้อมูล (Communication), การวิเคราะห์ (analyze) เป็นปัจจัยที่สำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรให้สร้างมูลค่าเพิ่มจากสิ่งที่มีอยู่โดยไม่ต้องลงทุนในทรัพยากรเพิ่มเติม
  3. 3. Knowledge of dharmic principle หลักธรรมเกี่ยวกับการพัฒนาและให้เกิดความยังยืนในการทำงานตามหลักศาสนา โดยใช้ อปริยธรรม ๗ ผู้บริหารควรมีการจัดการการประชุมพบปะปรึกษาหารือกันในกิจการงานต่าง ๆ อย่าง สม่ำเสมอ อันเป็นเหตุส่งเสริมให้การปกครองการบริหารเกิดผลดี มีประสิทธิภาพ

 

References

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. “รายงานโลจิสติกส์ของประเทศไทย ประจำปี 2563” E- book. https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=11803 [18 สิงหาคม 2564]. หน้า 5- 8

Covid-19 กับเศรษฐกิจโลก [ออนไลน์].แหล่งที่มา: https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_18Mar2020. aspx [ 15 สิงหาคม 2564].

ยงยุทธ์ แฉล้มวงษ์ และคณะ, ผลกระทบ COVID-19 ระบาดรอบ 2 ต่อเนื่องรอบ 3 กับทิศทางตลาดแรงงานไทย, (ออนไลน์) แหล่งที่มา https://tdri.or.th/2021/04/covid-19-2-3-affected-thai-labor-market/

โลจิสติกส์.[ออนไลน์].แหล่งที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/โลจิสติกส์ [28 พฤษจิกายน 2563].

รศ.ดร.กมลชนก สุทธิวาทนฤพุฒิ ดร.ศลิษา ภมรสถิตย์ ดร.จักรกฤษณ์ ดวงพัสตรา แปลและเรียบเรียง. . “การจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์” บจก.สำนักพิมพ์ทัอป/แมคกรอ-ฮิล, ๒๕๔๗ หน้า ๔

เพ็ญแข ลิ่มสุวรรณโรจน์,การบริหารจัดการโลจิสติกส์ใน ยุค 4.0,สัมนา,วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ.2563

แนวโน้มธุรกิจโลจิสติกส์ไทยเติบโตสูง ม.ค. 65 เปิดกิจการใหม่เพิ่มขึ้น 39%, [ออนไลน์].แหล่งที่มา: https://www.mreport.co.th/news/government-news,21 มี.ค. 2565

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-26