นวัตกรรมการจัดการการเงินเพื่อการพัฒนาองค์กรธุรกิจในสังคม
คำสำคัญ:
นวัตกรรม, การจัดการการเงิน, นวัตกรรมการจัดการการเงิน, องค์กรธุรกิจ, สังคมไทยบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์ เรื่อง “นวัตกรรมการจัดการการเงินเพื่อการพัฒนาองค์กรธุรกิจในสังคม” มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและกระบวนการจัดการการเงินขององค์กรธุรกิจในสังคมไทย 2) เพื่อพัฒนาการจัดการการเงินขององค์กรธุรกิจในสังคมไทยด้วยนวัตกรรมสร้างสรรค์ 3) เพื่อนำเสนอนวัตกรรมการจัดการการเงิน เพื่อความมั่นคงขององค์กรธุรกิจในสังคมไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้การศึกษาโดยการวิจัยเอกสารและการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ในลักษณะของการลงพื้นที่เพื่อรวบรวมข้อมูล โดยการสอบถาม สัมภาษณ์ ผู้ประกอบการธุรกิจหรือผู้บริหาร ที่มีประสบการณ์ธุรกิจไม่น้อยกว่า 3 ปี จำนวน 10 ราย ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญการด้านการจัดการการเงิน จำนวน 5 ราย และนำไปทดลองใช้กับเจ้าของกิจการและผู้บริหาร จำนวน 30 ราย ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัญหาและกระบวนการจัดการการเงินขององค์กรธุรกิจในสังคมไทย พบว่าสถานการณ์การใช้เงินในธุรกิจยังไม่มีการแบ่งประเภท มีการใช้เงินผิดประเภท และไม่สามารถควบคุมการเงินได้ทั้งหมดทำให้มีการใช้เงินมากกว่าที่มีการบันทึกลงในรูปแบบบัญชีบริษัท ซึ่งส่งผลให้เกิดการขาดสภาพคล่อง หรือทำธุรกิจมีรายได้แต่ไม่มีเงิน กระบวนการจัดการปัญหาการจัดการการเงิน ขององค์กรธุรกิจ เมื่อทำธุรกิจได้สักระยะหนึ่งแล้วพบว่าระบบ การเงินในธุรกิจ มีปัญหา เงินไม่พอ หมุนไม่ทัน ยอดรายจ่ายสูงกว่ารายรับ กิจการอาจจะมองหาแหล่งเงินทุนเพิ่ม เพื่อมาจัดการค่าใช้จ่าย สิ่งที่ควรทำต้องจัดการระบบการเงินในบริษัทให้ได้ก่อน เพื่อที่จะได้ใช้เงินลงทุนที่ได้มาใหม่นั้นให้คุ้มค่าที่สุด และหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาแบบเดิมอีก
2. การพัฒนาการจัดการการเงินขององค์กรธุรกิจในสังคมไทยด้วยนวัตกรรมสร้างสรรค์ พบว่า การพัฒนาการจัดการการเงินด้วยนวัตกรรมสร้างสรรค์ ผู้วิจัยได้กำหนดขบวนการพัฒนาการจัดการการเงินอออกเป็น 7 ส่วน 1) ข้อมูลและความรู้ 2) แนวคิดสู่นวัตกรรม 3) การสร้างสรรค์สู่แม่แบบ 4) พัฒนาสู่โมเดล 5) นวัตกรรม 6) การนำไปปฏิบัติและส่งเสริม 7) บทสรุป กระบวนการเหล่านี้มีเป้าหมายในการสร้างการเรียนรู้ การรับรู้ พัฒนากิจกรรมและกระบวนการการจัดการกระแสเงินในองค์กร เพื่อยกระดับการจัดการของธุรกิจขนาดกลาง ขนาดเล็ก และวิสาหกิจชุมชน นำไปสู่การการบริหารจัดการและพัฒนาธุรกิจอย่างเหมาะสม เพื่อให้ได้ข้อมูลที่แท้จริงเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินของผู้ประกอบการธุรกิจในกิจกรรมดำเนินการที่ต้องการใช้จ่ายเงินในการทำธุรกิจ
3. ผลการนำเสนอนวัตกรรมการจัดการการเงินเป็น NI PRM Model (นิพีอาร์เอ็มโมเดล) ซึ่งมาจากการนำนวัตกรรมการใช้เงินในธุรกิจ 10 ด้าน ประกอบด้วย 1. เงินลงทุน 2. เงินในการซื้อวัตถุดิบและเก็บวัตถุดิบ 3. เงินเกี่ยวกับพนักงานในองค์กร 4. เงินใช้ระหว่างการผลิต 5. เงินใช้ระหว่างการบริหารหน้าร้าน 6. การเก็บเงินจากลูกค้า 7. เงินใช้สำหรับระบบหน่วยงานภาครัฐ 8. เงินกู้ยืมและใช้คืน 9. เงินเพื่อสินทรัพย์ถาวร 10. ค่าใช้จ่ายในการสร้างจริยธรรมทางองค์กร มาจัดกลุ่มเพื่อสะดวกต่อการนำไปใช้ออกมาเป็น NI PRM MODEL ดังนี้
N = Natural เข้าใจวัฎจักรธุรกิจ สภาวะความผันผวนขึ้นลง กิจกรรมทางเศรษฐกิจ ผู้บริหารเข้าใจวัฎจักรของธุรกิจที่เกิดขึ้นแล้วสามารถรับมือกับแต่ละสถานการณ์ได้ การมีจริยธรรมองค์กรและรับผิดชอบต่อสังคมในด้านการเสียภาษีจากธุรกิจส่งต่อการพัฒนาประเทศต่อไป ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายเพื่อจริยธรรมองค์กร และเงินใช้หน่วยงานภาครัฐ
I = Investment การลงทุนการขยายการเติบโต การลงทุนเพื่อถาวรอสังหาริมทรัพย์เครื่องจักร การกู้ยืมและการใช้คืน ให้ผลตอบแทนเป็นสัดส่วนกับความเสี่ยง ผู้บริหารจำเป็นต้องบริหารเงินทุนหมุนเวียนพิจารณาระดับของความเสี่ยงผลตอบแทนหรือกำไรในระดับที่เหมาะสม ประกอบด้วย เงินการลงทุน เงินใช้เพื่อสินทรัพย์ถาวร และเงินกู้ยืมและการใช้คืน
P= Purchase การจัดซื้อและเก็บวัตถุดิบ กระบวนการที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดหาวัตถุดิบตามความต้องการของหน่วยงานได้ตรงและมีคุณภาพสูงสุด ประกอบด้วย เงินในการซื้อวัตถุดิบและเก็บวัตถุดิบ
R =Revenue หมายถึง รายได้รายรับรายจ่ายการขายทั้งหมดของธุรกิจที่ได้มาจากการขายสินค้าและบริการกลับเข้ามาในธุรกิจสมเหตุสมผลและครบถ้วนเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจ ประกอบด้วย การเก็บเงินจากลูกค้า เงินในระบบการขายและการบริหารหน้าร้าน
M = Management and Man การจัดการ (Management) และคน (Man) เป็นกระบวนการบริหารจัดการ กำหนดทิศทางในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทั้งหลายอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร ประกอบด้วย เงินใช้ระหว่างการผลิต และเงินเกี่ยวกับพนักงาน
NI PRM MODEL เป็นเป็นโมเดลที่สร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อช่วยแก้ปัญหาพัฒนาองค์กรธุรกิจให้ดีขึ้น เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาเป็นสำคัญโดยเฉพาะธุรกิจการเงินซึ่งจำเป็นต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อสนองความต้องการของลูกค้า นำไปสู่การพัฒนาธุรกิจทางการเงินอย่างเป็นรูปธรรม สามารถนำมาใช้ได้จริงในธุรกิจและผู้ประกอบการธุรกิจสามารถนำไปสู่การบริหารจัดการการเงินในธุรกิจได้อย่างยั่งยืนมั่นคงและมั่งคั่ง
References
กฤษฎา สังขมณี, รูปแบบการจัดการการการเงินของธุรกิจที่พักในจังหวัดสมุทรสงครามสู่เศรษฐกิจยั่งยืน, รายงาน วิจัย, (ได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, ๒๕๕๓), หน้า ๑๓.
รัชนีกร วงศ์จันทร์, ผลของการเรียนวิชาการเงินส่วนบุคคลที่มีต่อความตระหนักในการวางแผนการ เงินส่วนบุคคล ของนักศึกษาในชั้นเรียน, รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยพายัพ เชียงใหม่:, ๒๕๕๕.
ดร.เสาวณีย์ จันทะพงษ์ และทศพล ต้องทุ้ย, “ศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจไทยหลังโควิด 19 : โรคปฏิวัติโลก ยกเครื่อง สู่อนาคตวิถีชีวิตใหม่”,บทความวิชาการ ธนาคารแห่งประเทศไทย แหล่งที่มา: https://www.bot.or.th/Thai/BOTMagazine/Pages/256303_CoverStory.aspx,30 มิถุนายน 2563,หน้าที่ 1-3
บุญญานุช เริ่มภักดี, ผลกระทบวิกฤต COVID-19 กับเศรษฐกิจโลก "This Time is Different" วารสารโพส์ทูเดย์ 18 มีนาคม 2563
นายพีรณัฎฐ์ ยาทิพย์, การพัฒนาแผนบริหารการเงินของผู้ประกอบการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถ SMEs, รายงาน วิจัยฉบับสมบูรณ์, สถาบันวิจัยและพัฒนา งบประมาณกองทุนส่งเสริมงานวิจัย ประจำปี ๒๕๖๑, (สาขาวิชาการเงินและเศรษฐศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลสุวรรณภูมิ, ๒๕๖๑), หน้า ๔๖.
รัชนก พวงธนะสาร, ปัญหาธุรกิจ, [ออนไลน์]. แหล่งที่มา https://www.leaderwings.co /leadership/ financial-arguments/, [๑ ต.ค. ๖๓].
การเงินธุรกิจ.[ออนไลน์]. แหล่งที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/การเงินธุรกิจ , [๑ ต.ค. ๖๓].
สุกิจ อุดมศิริกุล, วิกฤตเศรษฐกิจ, [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://thestandard.co/podcast/ thesecretsauce-executive-espresso๗/, [๑ ต.ค. ๖๓.]
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มจร การพัฒนาสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.