การศึกษาทุนทางสังคมที่สนับสนุนครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทในการอยู่ร่วมกับชุมชน กรณีศึกษาชุมชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • จิราภรณ์ สร้อยเพชร
  • มาดี ลิ่มสกุล

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยจิตเภท, ทุนทางสังคม, การสนับสนุนทางสังคม, ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทุนทางสังคมและแนวทางการพัฒนาทุนทางสังคมที่สนับสนุนครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทในการอยู่ร่วมกับชุมชน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่อาศัยอยู่ในชุมชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 5 ครอบครัว ประกอบด้วยผู้ดูแลหลัก 5 กรณี และผู้ดูแลรอง 5 กรณี รวมเป็น 10 กรณี ผลการศึกษาพบว่าทุนทางสังคมทั้ง 3 ประเภท ได้แก่ ทุนทางสังคมภายในครัวเรือน ทุนทางสังคมภายในชุมชน และทุนทางสังคมภายนอกชุมชน ล้วนสนับสนุนผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภททั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านอารมณ์และจิตใจ ด้านการยอมรับและการเห็นคุณค่าในตนเอง ด้านทรัพยากรทางสังคม และด้านข้อมูลข่าวสาร และผู้ดูแลได้เสนอแนวทางในการพัฒนาทุนทางสังคมที่สำคัญทั้ง 3 ประเภท ดังนี้ 1) สมาชิกในครอบครัวควรมีการสื่อสารและรับฟังปัญหามากขึ้น 2) ชมรมเพื่อนช่วยเพื่อนควรเพิ่มกิจกรรมให้กับผู้ป่วยและครอบครัวเพิ่มมากขึ้น 3) สถานพยาบาลควรให้ความรู้เกี่ยวกับโรคจิตเภทในชุมชนมากขึ้น

References

กรมสุขภาพจิต. (2557). รายงานประจำปีกรมสุขภาพจิต ปีงบประมาณ 2559. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม

จาก https://dmh-elibrary.org/items/show/331.

ขวัญสุดา บุญทศ และคณะ. (2555). การสนับสนุนทางสังคมของผู้ป่วยโรคจิตเภท. วารสารสมาคม

จิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 58(1). 89-100.

ณัฐติกา ชูรัตน์. (2559). การศึกษาสาเหตุและแนวทางการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยจิตเภทใน

ชุมชน เขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปิเหล็งที่ประสบเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2562 จาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/pnuhuso/article/view/52695/43739

ดวงจันทร์ บัวคลี่ และคณะ. (2549). คู่มือสำหรับญาติการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภท (ฉบับปรับปรุง). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บียอนด์ พับลิสซิ่ง.

ประเวศ วะสี. (2542). ชุมชนเข้มแข็ง : ทุนทางสังคมของไทย หนังสือชุดชุมชนเข้มแข็ง ลำดับที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนเพื่อสังคม ธนาคารออมสิน.

เปรมฤดี ดำรักษ์ และคณะ (2557). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังซับซ้อน อำเภอหนองจอก จังหวัดปัตตานี. วารสารสมาคมนักวิจัย. 19(2). 92-101.

พิมพ์กุล กำจาย และคณะ. (2550). สายใยรักจากชุมชน : กรณีศึกษาการฟื้นฟูผู้ป่วยจิตเภทไร้บ้าน ไร้อาชีพ โดยกลยุทธ์ชุมชนเพื่อชุมชน. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2562, จาก https://www.dmh.go.th/abstract/details.asp?id=936

สุพัชรา ศิริณวัฒน์. (2549). การพัฒนาทุนทางสังคมเพื่อการจัดการศึกษาด้านอาชีพ : ศึกษาเฉพาะ

กรณีชุมชน แขวงบางระมาด เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์.

สุรพล ไชยเสนะ. (2545). ปัจจัยที่มีผลต่อความก้าวหน้าในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทของครอบครัว. กระทรวงสาธารณสุข. กรมการแพทย์. โรงพยาบาลศรีธัญญา.

สุวิมล สุบรรณพงษ์. (2557). การศึกษาความตั้งใจคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพ การสนับสนุนทางสังคม ความภาคภูมิใจในองค์กร และคุณภาพชีวิตการทำงาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) .มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. คณะศิลปะศาสตร์. ภาควิชาจิตวิทยา. สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ.

อัมมาร์ สยามวาลา. (2544). ทุนทางสังคมกับความยากจน. เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการ

ประจำปี 2544 ของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย เรื่อง ยุทธศาสตร์การขจัดปัญหาความยากจน ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ซิตี้ จอมเทียน ชลบุรี.

อินทุกานต์ กุลไวย์. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มแข็งอดทนและการสนับสนุนทางสังคมกับ

ความสามารถในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) .มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31