การพัฒนาระบบการจัดการขยะมูลฝอยขององค์ปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี ด้วยระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน

ผู้แต่ง

  • วิภาต อภิปาลกุลดำรง

คำสำคัญ:

การจัดการขยะมูลฝอย, ระบบการจัดการขยะมูลฝอย, ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน

บทคัดย่อ

ปัญหาขยะมูลฝอยเป็นหนึ่งในปัญหาสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงทีมีสาเหตุมาจากปริมาณสะสมอย่างมากและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นๆ ทั้งนี้ประเด็นที่สำคัญคือประชาชนและการประกอบธุรกิจต่างๆ ไม่มีการแยกขยะมูลฝอย รวมทั้งการจัดการขยะมูลฝอยที่ยังด้อยประสิทธิภาพไม่ถูกหลักวิชาการ โดยปัญหาขยะมูลฝอยเป็นปัญหาทีเผชิญในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทั้งหลายรวมทั้ง อปท.ในจ.ปทุมธานี (พื้นทีศึกษาของโครงการ)  ด้วยแนวคิดการจัดการขยะมูลฝอยเชิงเศรษฐศาสตร์คือเศรษฐกิจหมุนเวียน  (Circular Economy) จึงเป็นทีมาของการศึกษานี้ การดำเนินการวิจัยเป็นรูปแบบผสมทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ กล่าวคือการวิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วย การทบทวนเอกสาร การสังเกตการณ์ในพื้นที่ การส่งแบบสอบถามไปยังอปท (กองช่างสุขาภิบาล) จำนวน 20 แห่ง พร้อมสนทนากลุ่มกับนายช่างบางอปท. ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 80 เข้าใจระบบการจัดการขยะมูลฝอย สามารถจะบริหารจัดการได้ อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยการใช้ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนด้วยข้อเสนอแนะดังนี้ (1) ระดับนโยบายควรกำหนดเป็นเป้าหมาย และพันธกิจด้านการจัดการขยะมูลฝอยด้วยรูปแบบเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยระยะเร่งด่วน การสั่งการจากระดับผู้บริหาร และระยะสั้น การกำหนดเป็นกฏระเบียบพร้อมมาตรการทีต้องดำเนินการและประเมินผลด้วยตัวชี้วัดโดยหน่วยงานต้นสังกัด คือกระทรวงมหาดไทย ตลอดจนสร้างความเข้าใจหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนในการจัดการขยะมูลฝอยสำหรับผู้บริหารระดับสูง โดยเฉพาะการลดปริมาณขยะมูลฝอยด้วยการเพิ่มมูลค่าเชิงเศรษฐกิจของขยะมูลฝอยทีสามารถนำกลับมาใช้ได้ (2) ระดับปฏิบัติ ควรจัดทำแผนปฏิบัติโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบคือกองช่างสุขาภิบาล โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการร่วมคิด ร่วมออกแบบ ร่วมดำเนินการ ร่วมรับผิดชอบซึ่งจะช่วยให้เกิดการจัดการขยะมูลฝอยโดยชุมชนด้วยตนเองและสนับสนุนโดยอปท.ร่วมด้วย

References

กรมควบคุมมลพิษ. รายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมประเทศไทย. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.pcd.go.th/publication/8013 [13 มกราคม 2564].

ศูนย์วิศวกรรมพลังงานและสิ่งแวดล้อม บางเขน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. แผนแม่บทในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยมูลฝอยมูลฝอยและของเสียอันตรายจังหวัดปทุมธานี. แหล่งที่มา: http://eeec.eng.ku.ac.th/files/4.plan65opt.pdf [13 มกราคม 2564]

สถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2562.[ออนไลน์]. แหล่งที่มา:https://gnews.apps.go.th/news? news=53637 [13 มกราคม 2564].

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. การสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion). [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.vijai.org/Tool_vijai/12/02.aspClean Air Solutions [26 สิงหาคม 2563].

Circular economy: กรุงเทพมหานครกับระบบเศรษฐกิจเพื่อความยั่งยืน. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.allaroundplastics.com/article/sustainability/2113 [สืบค้น 13 มกราคม 2564]

Hoornweg, D. & Bhada-Tata,P. What a Waste: A Global Review of Solid Waste Management. World Bank, 2012.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31