รูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองเชิงพุทธของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองหนองปรือจังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • ภูวเดช โพธิ์เก้าเพชร

คำสำคัญ:

รูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมือง, เชิงพุทธ, ประชาชน

บทคัดย่อ

ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปและปัญหาอุปสรรคของการมีส่วนร่วมของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองหนองปรือ จังหวัดชลบุรี (2) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมและหลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน (3) เพื่อเสนอรูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองเชิงพุทธของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองหนองปรือ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ และการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยเรียบเรียงเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า:

สภาพโดยทั่วไปและปัญหาของการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนด้านการตัดสินใจ ยังขาดการประสัมพันธ์และข้อมูลข่าวสารและรายละเอียดที่ชัดเจนให้กับประชาชนรับทราบ และความเสียสละเพื่อส่วนรวมยังไม่ประสบความสำเร็จและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบและประเมินผลยังไม่ได้รับความเป็นธรรมยังขาดการสานต่อการให้ความยุติธรรมและความเสมอภาคในชุมชนระบบการตรวจสอบและการประเมินผลยังไม่มีความโปร่งใสในการทำงานและในการวางแผนและนโยบาย ด้านการดำเนินงาน ขาดแรงจูงใจในดำเนินงานหรือกิจกรรมต่างๆ เพื่อประโยชน์ของส่วนร่วม

การส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนได้นำแนวคิด ทฤษฎีมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อชุมชน เป็นการส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมทางการเมืองในประเด็นต่าง ๆ โดยได้นำหลักการต่าง ๆ มาเป็นแผนพัฒนาชุมชนให้มีความเจริญยิ่งๆ ขึ้น โดยการพัฒนาศักยภาพและสร้างโอกาสให้ภาคประชาชนสังคมได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ โดยเน้นหลักการมีส่วนร่วมตั้งแต่การร่วมคิด ร่วมค้นหาปัญหา ร่วมตัดสินใจ การรับผลประโยชน์ การติดตามและประเมินผล อาศัยหลักอปริหานิยธรรม 7 ในการเป็นแบบแผนในการพัฒนาประชาชนให้มีส่วนร่วมกับการบริหารงานขององค์กรท้องถิ่นโดยประยุกต์แนวคิดและหลักธรรมมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติ

References

ปัทมา สูบกำปัง, “การมีส่วนร่วมของประชาชนชาวไทยในรอบทศวรรษที่ผ่านมา”, [ออนไลน์], แหล่งที่: http://www.isranews.org/south-news/stat-history/256-articles/13788-2010-07-30-09-19-02.html?pop=1&print=1&tmpl=component [23 มีนาคม 2565].

ไททัศน์ มาลา, “บทบาทในการทางานร่วมกันระหว่างสภาองค์กรชุมชนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น”, วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, (คณะรัฐประศาสนศาสตร์: สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์, 2555).

ภาส ภาสสัทธา. “การบูรณาการหลักพุทธธรรมในการบริหารจัดการด้านความโปร่งใสขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2558.

รัฐพงศ์ บุญญานุวัตร. “การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของประชาชนเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร”. รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2552.

วิชัย ตันศิริ, ศาสตร์การสอนความเป็นนักประชาธิปไตย, (กรุงเทพฯมหานคร: สถาบันนโยบายศึกษา มูลนิธิส่งเสริมนโยบายศึกษา, 2557), หน้า 43.

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน องค์การมหาชน, คู่มือการจัดตั้ง และพัฒนากิจการของสภาองค์กรชุมชนตามพระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พ.ศ. 2551, พิมพ์ครั้งที่ 3, (กรุงเทพฯมหานคร: สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน), 2553).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-07