รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเชิงพุทธบูรณาการ
คำสำคัญ:
รูปแบบ, ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, พุทธบูรณาการบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังตามหลักการแพทย์แผนปัจจุบัน 2) เพื่อศึกษาการดูแลผู้ป่วยตามแนวทางพระพุทธศาสนา และ 3) เพื่อนำเสนอผลการทดลองใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเชิงพุทธบูรณาการ โดยมีวิธีวิจัยแบบกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลอินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ที่ได้จากการสุ่ม จำนวน 50 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 25 คน และกลุ่มควบคุม 25 คน กลุ่มทดลองได้รับการดูแลตามรูปแบบเชิงพุทธบูรณาการซึ่งเพิ่มจากการรักษาตามปกติด้วยการสวดมนต์และทำสมาธิแบบอานาปานสติ วันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 25 นาที ติดต่อกัน 4 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมได้รับการรักษาตามปกติ ตัวแปรตาม คือ ระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสมรรถภาพร่างกายของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่เพิ่มขึ้น ประเมินผลการทดลองด้วยการวัดสมรรถภาพทางกาย และวัดคุณภาพชีวิต จำนวน 2 ครั้ง คือ ก่อนการทดลอง และเมื่อสิ้นสุดการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ใช้สถิติพรรณนาแสดงข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง วิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยค่า T-test
ผลการวิจัยพบว่า
- การดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังตามหลักการแพทย์แผนปัจจุบันนั้น ใช้แนวคิดการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และสิ่งแวดล้อม การรักษาแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ 1) การรักษาที่ไม่ใช้ยา และ 2) การรักษาด้วยยา มีการประเมินสมรรถภาพทางกาย และวัดคุณภาพชีวิต
- การดูแลผู้ป่วยตามแนวทางพระพุทธศาสนา มีแนวคิดรักษาผู้ป่วยทั้งร่างกายและจิตใจ แบ่งโรคเป็น 2 ชนิด คือ โรคทางกาย และโรคทางใจ วิธีการรักษาโรคทางกาย ได้แก่ 1) การรักษาโรคด้วยสมุนไพร 2) การรักษาโรคด้วยเทคนิค 3) การรักษาโรคด้วยการเจริญพระพุทธมนต์ และ 4) การรักษาโรคด้วยการบำเพ็ญเพียรทางจิต การรักษามุ่งเน้นรักษาโรคทางใจ ประกอบด้วย การสวดมนต์เพื่อรักษาโรค และการปฏิบัติสมาธิแบบอานาปานสติ
References
กลุ่มงานสารสนเทศทางการแพทย์ โรงพยาบาลอินทร์บุรี, “รายงานสถิติผู้ป่วยโรงพยาบาลอินทร์บุรี พ.ศ. 2561”, (สิงห์บุรี: โรงพยาบาลอินทร์บุรี, 2561). (อัดสำเนา).
จุฑามาศ วารีแสงทิพย์, “การฟื้นฟูคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายด้วยธรรมะปฏิบัติ”, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2552).
จเร บุญเรือง และคณะ, “ปัจจัยทำนายการกำเริบฉับพลันรุนแรงในผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง”,วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, ปีที่ 28 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2560): 111-128.
เบญญาภา กุลศิริไชย, "การลดภาวะซึมเศร้าในผู้ประสบภัยพิบัติด้วยการรับบทสวดโพชฌงคปริตรเข้าจิตใต้สำนึก", วารสารบัณฑิตปริทรรศน์, ปีที่ 9 ฉบับ 3 (กันยายน–ธันวาคม 2556): 138-149.
เมธี จินะโกฎิ และ การันต์ พงษ์พานิช, “การเปลี่ยนแปลงของระบบหายใจในผู้สูงอายุและการจัดการทางกายภาพบำบัดทรวงอก”, วารสารแพทย์ทหารบก, ปีที่ 71 ฉบับที่ 4 (ตุลาคม-ธันวาคม 2561): 279-283.
แพทย์พงษ์ วรพงศ์พิเชษฐ, พุทธธรรมบำบัด, (กรุงเทพมหานคร: บจก. สุขุมวิทมีเดียมาเก็ตติ้ง, 1551), หน้า 9.
วัชรีพร รถทองและคณะ, “ต้นทุนการเจ็บป่วยด้วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง”, วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน, ปีที่ 11 (มีนาคม 2558): 151-158.
วัชรา บุญสวัสดิ์, แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, (ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2548), หน้า 12.
สลิลทิพย์ กมลศิริ และคณะ, “ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดฉะเชิงเทรา”, วารสาร มฉก. วิชาการ, ปีที่ 22 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2561): 27-42.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข, สถิติโรคกรมการแพทย์: รายงานสถิติโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2563, (นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข, 2564), หน้า 19-20.
Richard Gerber, Vibrational Medicine: The # 1 Handbook of Subtle-Energy Therapies, (Rochester: Bear Company, 1998), p. 96.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มจร การพัฒนาสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.