ความคาดหวังของสหวิชาชีพต่อบทบาทของนักสังคมสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ พ.ศ. 2556 มาตรา 28(1)
ความคาดหวังของสหวิชาชีพต่อบทบาทของนักสังคมสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ พ.ศ. 2556 มาตรา 28(1)
คำสำคัญ:
social worker, multi-disciplinary team, role of social worker, expectation of social worker roleบทคัดย่อ
บทความนี้ศึกษาความคาดหวังของสหวิชาชีพต่อบทบาทของนักสังคมสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ พ.ศ.2556 มาตรา28(1) กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ปฏิบัติงานที่เป็นทีมสหวิชาชีพในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ได้แก่ พนักงานอัยการ แพทย์ จิตแพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา พนักงานคุมประพฤติ นักกฎหมาย นักพัฒนาสังคม ครูฝึกอาชีพ พี่เลี้ยง พนักงานพินิจ เป็นต้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และ แบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัย พบว่า ทุกวิชาชีพรับรู้บทบาทของนักสังคมสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ “ในระดับปานกลางไปจนถึงระดับสูง” กลุ่มตัวอย่างสะท้อนความคาดหวังต่อบทบาทของนักสังคมสงเคราะห์ด้านวิชาการมากกว่าบทบาทด้านการบริหารและด้านบริการ ซึ่งบทบาทในด้านวิชาการนี้ ประกอบไปด้วย 2 ด้าน คือ บทบาทด้านผู้ประเมินผล และบทบาทผู้ให้ความรู้ โดยนักสังคมสงเคราะห์เป็นผู้รวบรวมข้อมูลแล้วนำมาประเมินปัญหาของบุคคล กลุ่ม หรือชุมชน และช่วยให้เกิดกระบวนการตัดสินใจในการดำเนินงาน ซึ่งบทบาทนี้เป็นส่วนหนึ่งของอำนาจหน้าที่ที่ระบุในกฎหมายทั้ง 4 ใน 8 ฉบับตามพระราชบัญญัติวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ พ.ศ. 2556 มาตรา 28(1)
References
ระพีพรรณ คำหอม. (2545). สวัสดิการสังคมกับสังคมไทย. กรุงเทพ: โรงพิมพ์สามเจริญพาณิชย์.
พระราชบัญญัติวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ พ.ศ. 2556. (2556, มกราคม 24). ราชกิจจานุเบกษา, 130 (8ก), 11-13.
พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546. (2546, กันยายน 24). ราชกิจจานุเบกษา, 120 (95ก).
พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545. (2545, กันยายน 27). 119 (96ก).
พระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551 (2551, กุมภาพันธ์ 13). ราชกิจจานุเบกษา, 125 (36ก).
พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 (2553, พฤศจิกายน 16). ราชกิจจานุเบกษา, 127 (72ก).
ปราโมทย์ จุงสกุล. (2544). ความคาดหวังของพระภิกษุสงฆ์ต่อบทบาทของนักสังคมสงเคราะห์ในโรงพยาบาลสงฆ์. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุกัญญา กกแก้ว. (2544). ความคิดเห็นของผู้บริหารโรงพยาบาลต่องานสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ ภายใต้ทิศทางสู่องค์การมหาชน. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อารีรัตน์ อดิศัยเดชรินทร. (2560). ข้อท้าทายงานสังคมสงเคราะห์ในกระบวนการยุติธรรมเด็กและเยาวชนต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนกระทำผิดซ้ำ. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Herzberg, F. et al. (1959). The Motivation to work. New York: John Wiley and Sons
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มจร การพัฒนาสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.