แนวทางการพัฒนาทักษะภาษาจีนของสามเณรจีนนิกาย โรงเรียนพระปริยัติธรรม สังกัดคณะสงฆ์จีนนิกาย

ผู้แต่ง

  • พระนนธีร์ เมืองมาละ
  • อนันต์ รัศมี
  • สโรชินี ศิริวัฒนา

คำสำคัญ:

ทักษะภาษาจีน , สามเณรจีนนิกาย , โรงเรียนพระปริยัติธรรม

บทคัดย่อ

โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 13 เป็นองค์การหลักแห่งหนึ่งของพระพุทธศาสนาฝ่ายจีนนิกายในการทำงานด้านการศึกษา เป้าหมายคือจัดการเรียนการสอนภาษจีนให้กับภิกษุ สามเณรจีนนิกาย ที่เข้ามาบวชในวัดสังกัดคณะสงฆ์จีนนิกาย ให้เป็นมาตรฐานสากล ตามอัตลักษณ์คณะสงฆ์จีนนิกาย เพื่อให้ภิกษุ สามเณรจีนนิกายที่เข้ารับการศึกษา มีทักษะภาษาจีนทั้ง 4 ทักษะ และสามารถใช้ภาษาจีนในการเผยแพร่ และเป็นศาสนทายาทของคณะสงฆ์จีนนิกายต่อไป การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาระดับบริบทของสถานศึกษา การบริหารจัดการการเรียนการสอนภาษาจีน กิจกรรมการเรียนรู้ เครือข่ายแหล่งเรียนรู้ และทักษะภาษาจีนของสามเณรจีนนิกายของสามเณรจีนนิกายโรงเรียนพระปริยัติธรรม  สังกัดคณะสงฆ์จีนนิกาย 2) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อทักษะภาษาจีนของสามเณรจีนนิกายโรงเรียนพระปริยัติธรรม สังกัดคณะสงฆ์จีนนิกาย และ 3) นำเสนอแนวทางการพัฒนาทักษะภาษาจีนของสามเณรจีนนิกายโรงเรียนพระปริยัติธรรม สังกัดคณะสงฆ์จีนนิกาย ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ในการวิจัยเชิงปริมาณ มีกลุ่มตัวอย่างคือ สามเณรของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 13 สังกัดคณะสงฆ์จีนนิกาย 386 รูป ขนาดของกลุ่มตัวอย่างกำหนดโดยใช้เกณฑ์ไม่น้อยกว่า 20 เท่าของตัวแปรสังเกต วิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนา และแบบจำลองสมการโครงสร้าง สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 4 กลุ่ม ได้แก่ (1) ผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 13 จำนวน 4 รูป (2) ครูผู้สอนภาษาจีน จำนวน  4 คน (3) นักวิชาการด้านการศึกษา จำนวน 4 คน และ (4) นักวิชาการของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จำนวน 4 คน รวมทั้งสิ้น 16 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับบริบทของสถานศึกษา การบริหารจัดการการเรียนการสอนภาษาจีน กิจกรรมการเรียนรู้ เครือข่ายแหล่งเรียนรู้ และทักษะภาษาจีนของสามเณรจีนนิกายของสามเณรจีนนิกายโรงเรียนพระปริยัติธรรม  อยู่ในระดับมากที่สุด   2) กิจกรรมการเรียนรู้มีอิทธิพลทางตรงต่อทักษะภาษาจีนของสามเณรจีนนิกาย มากที่สุด รองลงมาคือ เครือข่ายแหล่งเรียนรู้ ขณะที่ บริบทของสถานศึกษา และการบริหารจัดการการเรียนการสอนภาษาจีน มีอิทธิพลทางอ้อมต่อทักษะภาษาจีนของสามเณรจีนนิกาย และ 3) แนวทางการพัฒนาทักษะภาษาจีนของสามเณรจีนนิกาย คือ 3.1) เน้นความสามารถในการสื่อสารของผู้เรียนเป็นหลัก 3.2) เน้นบรรยากาศการเรียนการสอนที่สนุกสนาน 3.3) สอดแทรกความรู้ทางวัฒนธรรมเพื่อสร้างความเข้าใจในวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา 3.4) ควรเริ่มจากการสอนการฟังพูด โดยเลียนแบบเสียงผู้สอนจนสามารถฟังเข้าใจแล้วจงฝึกพูดตาม 3.5) สอนโดยใช้กิจกรรมที่หลากหลายเพื่อเพิ่มความสนใจ และ 3.6) เน้นให้มีการท่องจำบทสนทนา ผลของการวิจัยนี้ ผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม สังกัดคณะสงฆ์จีนนิกาย และภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนภาษาจีน สามารถนำผลการวิจัยไปใช้ในการกำหนดนโยบายหรือทิศทางการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในระดับสามัญศึกษาให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย

References

กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). แนวทางการนำมาตรฐานหลักสูตรไปสู่การออกแบบ

จัดการเรียนรู้และการวัดประเมินตามสภาพจริง. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

คณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย. (2560). ความหมายการประกอบพิธีบำเพ็ญกุศล ประวัติคณะสงฆ์

จีนนิกายแห่งประเทศไทยและปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร. นครปฐม: ต้นน้ำ.

ฉัตรฑริกา ยุทธิวัฒน์ และชิดชไม วิสุตกุล. (2565). การพัฒนาทักษะการฟังและการอ่านคำศัพท์ภาษาจีนใน YCT

ระดับ 1 โดยใช้เกมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ, 9(2), 103-113.

พระครูพนมปรีชากร แก้วบุตตา. (2563). อนาคตภาพของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาระหว่าง

พ.ศ.2559-2573. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา

มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

พระธวัชชัย แก้วสิงห์. (2560). อัตลักษณ์โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาของคณะสงฆ์

จีนนิกาย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร

พระพิทักษ์ บุญปัน. (2560). รูปแบบการบริหารงานวิชาการโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรมใน

เขตจังหวัดหนองคาย. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค, 3(2), 12-22

พระมหาสุวัฒน์ เสนเพ็ง. (2563). รูปแบบการบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ที่ สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง ในศตวรรษที่ 21. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการ

บริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

พระราชวรมุนี (พล ไชยวิชู). (2561). การพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ใน โรงเรียน

พระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 18(3), 161-169.

พระวีระพงษ์ ปาสานนท์. (2563). อนาคตภาพการจัดอุดมศึกษาของคณะสงฆ์จีนนิกาย. วิทยานิพนธ์

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตภาควิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พระศรีรัตนมุนี ขวัญรัก เกสรบัว. (2564). ตัวแบบการบริหารจัดการโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี

ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา

รัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ฯ.

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง. (2564). แนะนำระบบการศึกษาใหม่. สืบค้น มิถุนายน 2, 2565

จาก https://reg.mfu.ac.th/registrar/home.asp

วัดโพธิ์แมนคุณาราม. (2564). ประวัติคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย. สืบค้น กันยายน 23

, จาก https://www.pumenbaoensi.com/main/pad2.html

ศิริภรณ์ บุญประกอบ, กรรณิการ์ ประทุมโทน และต้องหทัย ทองงามขำ. (2563). ผลการใช้เทคนิค CIRC

เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาจีน เพื่อความเข้าใจของนักศึกษาสาขา วิชาภาษาอังกฤษ

เพื่อการสื่อสารสากล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก. การประชุมวิชาการวิจัย

และนวัตกรรมสร้างสรรค์ ครั้งที่ 6 (CRCI 2020). เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2566). โครงสร้างหลักสูตรพระปริยัติธรรม. สืบค้น มีนาคม 10, 2566 จาก

http://www1.onab.go.th/index.php?option=com_contentandview=categoryan

สุกัญญา ทองแห้ว. (2561). การพัฒนาการจำอักษรจีน โดยใช้ชุดฝึกทักษะการเขียนอักษรจีน โครงสร้าง

อักษรเดี่ยว ของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี. วารสารลวะศรี

มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี. 5(1), 117-126.

สุวพิชญ์ ตั๋นตะพันธ์. (2560). แนวทางการพัฒนาทักษะการเรียนภาษาจีนหลักสูตรระยะสั้นสำหรับผู้ใหญ่.

วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 11(1), 20-34.

Alshayea, A. (2021). Improvement of the quality Assurance in Saudi Higher Education.

Procedia - Social and Behavioral Sciences. [serial online] 2021. Available from: URL :

https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S1877042812027140

Anwer, J., Kayani, A., & Jabeen, M. (2018). Role of School Heads’ Leadership Competencies in

the Context of School Improvement Initiatives. Journal of Education and Practice,

(25), 1-9.

Bernhard, A. (2016). Knowledge-based Society Needs Quality in Higher Education” Problems of Education in the 21st Century. London : Jessica Kingsley Publishers.

Bouchamma, Y., April, D. & Basque, M. (2018). How to Establish and Develop Communities of

Practice to Better Collaborate school administrators. Canadian Journal of Educational Administration and Policy, 187, 91-105.

Chen, C. (2022). Factors Affecting Online Chinese as a Foreign Language Learning Stickiness: A

Study on International Students in China. Frontiers of Psychology, 12(803669), 1-15.

Conneely, C., Girvan, C., Lawlor, J., & Tangney, B. (2018). An exploratory case study into

the adaption of the Bridge 21 Model for 21st Century Learning in Irish Classrooms.

San Francisco: Jossey-Bass Publishing.

Ge, X., & Qu, X. M. (2017). Exploring the professionalization process of skilled international

Chinese language teachers. Continue Education Research, 10, 84-86.

Gong, Y., Lyu, B., & Gao, X. (2018). Research on teaching Chinese as a second or foreign

language in and outside mainland China: A bibliometric analysis. The Asia-Pacific

Education Researcher 27: 277–89.

Grzesik, K., & Piwowar-Sulej, K. (2018). School administrators’ competencies and leadership

styles from the perspective of organizations functioning in Poland. Journal of

Entrepreneurship, Management and Innovation, 14(3), 35–60.

Gulsun, B., Zehra, A., Gokmen, D., & Fahriye, A. (2016). Assessment of the Quality Management Models in Higher Education. Journal of Education and Learning, 5(3), 107-121.

Huang, F., Teo, T., & Zhou, M. (2019). Factors Affecting Chinese English as a Foreign Language

Teachers’ Technology Acceptance: A Qualitative Study. Journal of Educational

Computing Research, 57(1), 83–105.

Kalayci, S., & Humiston, K. R. (2015). Students’ Attitudes Towards Collaborative Tools In A

Virtual Learning Environment. Educational Process International Journal, 4(1-2), 71- 86.

Kaya, E. (2015). The Role of Reading Skills on Reading Comprehension Ability of Turkish EFL

Students. Üniversitepark Bülten, 4(1-2), 37-51.

Li, X., Leeniwa, J., & Charoenarpornwattana, P. (2022). Teaching Experiences of Chinese

Teachers Teaching Chinese Language in Thai Public Schools in Chonburi Province.

Journal of BSRU-Research and Development Institute, 7, 36–50.

Lü, C., Pace, A. E., & Ke, S. (2022). Bidirectional transfer of definition skills and expressive

vocabulary knowledge in Chinese-English dual language learners. International

Journal of Bilingual Education and Bilingualism, 1-15.

Luo, M., Chano, J., Chittranun, T., & Nithideechaiwarachok, B. (2022). Improving Chinese

Reading and Writing Skills: Second Language Acquisition Theory Perspective. Journal of

Educational Issues, 8(2), 325-346.

Ma, X., Gong, Y., Gao, X., & Xiang, Y. (2017). The teaching of Chinese as a second or foreign

language: a systematic review of the literature 2005–2015. Journal of Multilingual

and Multicultural Development, 38(9), 815–830.

Matei, L. and Iwinska, J. (2021). Quality Assurance in Higher Education : a Practical Handbook. [online] Retrieved December 23, 2021: URL:

https://elkanacenter.ceu.edu/sites/elkanacenter.ceu.edu/files/attachment/b

asicpage/57/qahandbook.pdf

Phyliters, M., Mulwa, A. S., & Kyalo, D. N. (2018). School administrators Management for

Effective Schools: Bridging Theory and Practice through Competency Development

among Secondary School Principals in Kitui County, Kenya. International Journal of

Education and Research, 6(11), 1-18.

Sung, K-Y., & Li, X. (2019). Factors Influencing Chinese Language Learning Anxiety in

the Classroom Setting. New Waves Educational Research & Development, 1(22), 1–15.

Sung, K-Y. (2014). Novice Learners’ Chinese-Character Learning Strategies and Performance.

Electronic Journal of Foreign Language Teaching, 11(1), 38–51.

Valentine, J. W., & Prater, M. (2019). School administrators Instructional, Transformational, and

managerial leadership and student achievement: High school principals make a

difference. NASSP Bulletin, 95(1), 5-30.

Wang, C. (2021). A Study on the Teaching of Advanced Chinese Listening from the Perspective of

Relevance Theory. Advances in Social Science, Education and Humanities Research,

, 128-133.

Wu, Y. H. (2016). Dynamic Development and Country Differences of International Chinese

Language Teacher's Demand. Educational Research, (11), 144-149.

Zhang, R. Z. (2018). Research on the structural model of traits of distance Chinese language

teachers from students' perspective. Modern Distance Education Research, (2), 74-82.

Zhong, B. (2019). Chinese Communication Skills of Secondary School Students in

Thailand. e- Journal of Education Studies, Burapha University, 1(5), 1-15.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28