อิทธิพลของชีวิตวิถีใหม่ที่มีต่อการเตรียมความพร้อมเป็นผู้สูงอายุที่มีพฤฒพลังของวัยก่อนสูงอายุ

ผู้แต่ง

  • พนารัตน์ ศาสนะสุพินธ์
  • จารุณี จันทร์เปล่ง -
  • ถนอมรัตน์ ประสิทธิเมตต์

คำสำคัญ:

อิทธิพล, ชีวิตวิถีใหม่, การเตรียมความพร้อมเป็นผู้สูงอายุพฤฒพลัง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการดำเนินชีวิตในยุคชีวิตวิถีใหม่ของวัยก่อนสูงอายุ 2) ศึกษาระดับพฤฒพลังในยุคชีวิตวิถีใหม่ของวัยก่อนสูงอายุ 3) ศึกษาการเตรียมความพร้อมเป็นผู้สูงอายุที่มีพฤฒพลังในยุคชีวิตวิถีใหม่ของวัยก่อนสูงอายุ 4) ศึกษาอิทธิพลของชีวิตวิถีใหม่ที่มีต่อการเตรียมความพร้อมเป็นผู้สูงอายุที่มีพฤฒพลังของวัยก่อนสูงอายุ  เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ประชากรในการศึกษา ที่มีอายุในช่วง 50-59 ปี อาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดนครนายกจำนวน  39,923 คน การคำนวณกลุ่มตัวอย่างจากสูตรของเครซี่และมอร์แกนได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 380 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multistage random sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามผลการวิจัย พบว่า การปฏิบัติตัวตามรูปแบบชีวิตวิถีใหม่ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ระดับพฤฒพลังวัยก่อนผู้สูงอายุภาพรวมอยู่ในระดับสูงร้อยละ 70.2 ระดับปานกลางร้อยละ 28.2 และระดับต่ำมีเพียงร้อยละ 1.6  ภาพรวมการเตรียมความพร้อมเป็นผู้สูงอายุอยู่ระดับมากปัจจัยที่สามารถร่วมทำนายการเตรียมความพร้อมเป็นผู้สูงอายุมีทั้งหมด 7 ปัจจัย ได้แก่ การใช้ทิชชู่ป้องปากและจมูกเวลาไอหรือจาม แล้วทิ้งลงในถังขยะที่ปิดสนิททันที รายได้ ใช้มือมาสัมผัสบริเวณใบหน้า เช่น การขยี้ตา แคะจมูก สัมผัสปาก โดยไม่ได้ล้างมือก่อน เว้นระยะห่างกับบุคคลอื่น หลีกเลี่ยง
การสัมผัสกับผู้อื่น เพศ สถานภาพสมรส และเมื่อไปสถานที่ที่มีคนแออัด เช่น ตลาดนัด ห้างสรรพสินค้าใช้เวลา
ไม่นาน โดยสามารถทำนายการเตรียมความพร้อมเป็นผู้สูงอายุที่มีพฤฒพลังของวัยก่อนผู้สูงอายุได้ร้อยละ 22.5   (R2= 0.225., p= .000)   

References

กันต์ธมน สุขกระจ่างและคณะ. (2559). ความรู้ และพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต บ้านท่าไทร (หมู่ 5-9) ตำบลเกาะยอ จังหวัดสงขลา. เอกสารการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 7 (23 มิถุนายน 2559) มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, หน้า 1286-1293.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564). สถานการณ์ผู้ติดเชื้อ COVID-19 อัพเดทรายวัน รูปแบบ API(Json/CSV Data Format) : ข้อมูลผู้ป่วยระลอก 1 ถึงระลอก 2 (ตั้งแต่ 12/01/2020 – 31/03/2021). แหล่งที่มา: https://covid19.ddc.moph.go.th/ สืบค้นเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2565

กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย. (2562). เติมรู้เตรียมพร้อมก่อนสูงวัย. กรุงเทพมหานคร: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

จักรกฤษ เสลาและคณะ. (2564). วิถีชีวิตใหม่ในการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID–19 ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร, 24 (2), 8-73.

จุฑามาศ ภิญโญศรี. (2564). รับมือโควิด-19 ปฏิบัติตามมาตรการ D M H T T . แหล่งที่มา: http://www.msu.ac.th สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2565

จุฑาวรรณ ใจแสน. (2563). พฤติกรรมการป้องกันโรค COVID-19 ของพนักงานสถาบันวิจัย

วิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต).กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ดลนภา ไชยสมบัติ และบัวบาน ยะนา. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุของ ประชากรวัยก่อนสูงอายุ (Factors Related to the Preparation for Aging among Pre-aging Population). วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 29 (3), 131-143.

บดินทร์ ชาตะเวที. (2020). พฤติกรรม กับ ชีวิตวิถีใหม่ : New Normal. แหล่งที่มา: https://www.ttmed.psu.ac.th/th/blog/258 สืบค้น 15 มิถุนายน 2566

ปิยะนันท์ เรือนคำ. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 31 (2), 247-259.

รัตน์ศิริ ทาโต. (2561). การวิจัยทางพยาบาลศาสตร์ แนวคิดสู่การประยุกต์ใช้ (NURSING RESEARCH: CONCEPTS TO APPLICATION). พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รังสฤษฎ์ แวดือราแม และคณะ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ และการรับรู้กับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตแบบวิถีใหม่ (New Normal) เพื่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของนักศึกษา

พยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 8 (2), 80-92.

วิศปัตย์ ชัยช่วย. (2560). การใช้LINEของผู้สูงอายุ: การศึกษาเชิงปรากฏการณ์วิทยา. E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10 (1),

ศุภัคชญา ภวังคะรัต สมภพ อาจชนะศึก และปิยะณัฐ นามชู. (2563). สถานการณ์การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชน. Udonthani Hospital Medical Journal, 30 (1),

สุภจักษ์ แสงประจักษ์สกุล. (2557). วุฒิวัยของผู้สูงอายุไทย (Active Ageing of Thai Elderly). วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 17, 231-248.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครนายก. (2565). ข้อมูลประชากรจังหวัดนครนายก. แหล่งที่มา http://nayok.moph.go.th สืบค้นเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2565

สุภาภรณ์ พรหมบุตร. (2563). New normal กับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลง.แหล่งที่มา

https://dsp.dip.go.th/th/category/2017-11-27-08-04-02/2020-06-29-14-39-49 สืบค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2566.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). ดัชนีพฤฒพลังผู้สูงอายุไทย (Active Ageing Index of Thai Elderly). กรุงเทพมหานคร: เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัลพับลิเคชั่น.

Best, J. W. (1977). Research in Education. New Jersey: Prentice hall Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28