ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้า ผ่านแอพพลิเคชั่น Shopee ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
ส่วนประสมทางการตลาด, การตัดสินใจซื้อสินค้า, แอพพลิเคชั่น Shopeeบทคัดย่อ
ปัจจุบันความก้าวหน้าของโลกดิจิทัลเป็นจุดเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคสินค้าโดยผ่านระบบเครือข่ายออนไลน์โดยเฉพาะปัจจุบันที่ทั่วโลกประสบปัญหาของโรคระบาด COVID-19 ทั้งนี้ธุรกิจการซื้อขายสินค้าผ่านออนไลน์เป็นการเพิ่มโอกาสในการขายสินค้าและสามารถสร้างรายได้และกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งระบบได้อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (2) ศึกษาระดับกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแอพพลิเคชั่น Shopee และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดกับกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแอพพลิเคชั่น Shopee ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร
ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากผู้ที่เคยซื้อสินค้าผ่านแอพพลิเคชั่น Shopee ที่อาศัยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน และได้รับแบบสอบถามคืนที่มีความถูกต้องและสมบูรณ์ คิดเป็นร้อยละ 100.00 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทดสอบที ค่าทดสอบเอฟ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัยแสดงว่า (1) ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแอพพลิเคชั่น Shopee ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก (2) ผู้บริโภคเห็นว่ากระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแอพพลิเคชั่น Shopee โดยภาพรวม มีความสำคัญอยู่ในระดับมาก และ (3) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด มีความสัมพันธ์กับกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแอพพลิเคชั่น Shopee ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2542). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติเพื่อการตัดสินใจ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จิตติมา จารุวรรณ์ และอรกัญญา โฆษิตานนท์. (2557). พฤติกรรมและปัจจัยสำคัญจากการสื่อสารการตลาดที่มีต่อการซื้อผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภคจากการสื่อสารการตลาดในรูปแบบสื่อสังคมออนไลน์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
ฉัตรชัย หอมเพชร. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชันออนไลน์ของผู้บริโภคในอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (แขนงวิชาการตลาด สาขาวิชาวิทยาการจัดการ), มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ชลลดา จำเริญ. (2563). ศึกษาพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Shopee ในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ), คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2550). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. นนทบุรี: เทพเนรมิตการพิมพ์.
ดลนัสม์ โพธิ์ฉาย. (2562). ปัจจัยทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจบริโภคผลไม้พรีเมียบ กรณีศึกษา ผู้บริโภคในอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ธงชัย สันติวงษ์. (2538). องค์การ ทฤษฎี และการออกแบบ. กรุงเทพมหานคร: แมเนจเม้น เซ็นเตอร์.
นันทพร พงษ์พรรณนากุล. (2557). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าเบเกอรี่ผ่านร้านค้าออนไลน์. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
พิบูล ทีปะปาล. (2545). หลักการตลาด: ยุคใหม ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มิตรสัมพันธ์ กราฟฟิก.
พุทธิพงศ์ เอี่ยมสอาด. (2561). องค์ประกอบและการสื่อสารการตลาดของเว็บไซต์ Shopee ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภค. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
รติรัตน์ เครืออำอ้าย. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าอะไหล่แอร์บ้านของช่างแอร์ผ่านเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในเขตอำเภอ พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (แขนงวิชาการตลาด สาขาวิชาวิทยาการจัดการ), มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เรวดี ฉลาดเจน. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า ผ่านช่องทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของกลุ่มเจเนอเรชั่น Y. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา.
วิลาส ฉ่ำเลิศวัฒน์. (2554). I Marketing 10.0. กรุงเทพฯ: โปรวิชั่น.
สุวิมล ติรกานันท์. (2550). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Balakrishnan, B.K., Dahnil, M.I., & Wong, J.Y. (2014). The impact of social media marketing medium toward purchase Intention and brand loyalty among generation Y. Social and Behavioral Sciences, 148: 177-185.
Barnard, C. (1968). The Function of the Executive. Cambridge, Mass : Harvard University Press.
Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques (3rd ed.). New York: Wiley.
Datareportal. (2023, 15 February). Digital 2022 Thailand. https://www.datareportal.com/reports/digital-2022-thailand
Cronbach, L.J. (1990). Essentials of psychological testing (5th Ed.). New York: Harper Collins.
Fraenkel, R.J. & Wallen, E.N. (2006). How to design and evaluate research in education (6th Ed.). Boston: McGraw-Hill.
Jacobs, L.C. (1991). Test Reliability. IU Blomington Evaluation Services and Testing (Best). Blomington: Indiana University.
Kotler, P., & Dupree, J. (1997). Marketing Management: Analysis, Planning, Implementation, and Control, Test Item File. New York: Prentice Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มจร การพัฒนาสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.