การศึกษาปัญหาในการปฏิบัติงานตามบทบาทของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในการช่วยเหลือคนพิการด้านการเคลื่อนไหวให้เข้าถึงสิทธิของคนพิการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556

ผู้แต่ง

  • ณิชานันท์ เสมาทอง
  • มาดี ลิ่มสกุล

คำสำคัญ:

อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, บทบาท, ปัญหาในการปฏิบัติงาน, แนวทางในการพัฒนาการปฏิบัติงาน, คนพิการด้านการเคลื่อนไหว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาในการปฏิบัติงานและแนวทางในการพัฒนาการปฏิบัติงานตามบทบาทของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในการช่วยเหลือคนพิการด้านการเคลื่อนไหวตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555  โดยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี ประกอบด้วย วิธีวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามกับอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จำนวน    243 คน และวิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ประธานอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครนายก ประธานอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์อำเภอบ้านนา และเจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครนายก ที่รับผิดชอบงานอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จำนวน 3 คน ผลการศึกษาพบว่า มีปัญหาในการปฏิบัติงานตามบทบาทของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในการช่วยเหลือคนพิการด้านการเคลื่อนไหว ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง แต่เมื่อพิจารณาปัญหารายด้าน พบว่า ปัญหาด้านความรู้ เป็นประเด็นสำคัญที่สุด รองลงมา คือ ปัญหาการปฏิบัติงานในพื้นที่ และปัญหาส่วนบุคคล ตามลำดับสำหรับแนวทางในการพัฒนา พบว่า ควรมุ่งเน้นการอบรมส่งเสริมความรู้แบบพี่สอนน้องทั้งแบบ ออนไลน์และในพื้นที่ควรปฏิบัติงานเป็นทีม ควรเพิ่มทักษะในการเขียนโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก และควรสนับสนุนส่งเสริมให้มีการจดทะเบียนจัดตั้งเป็นองค์กรสาธารณะประโยชน์

References

จันทิรา หงส์รพิพัฒน์. (2563). การรับรู้และการเข้าถึงสิทธิคนพิการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและ พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 ตามมาตรา 20 ในคนพิการทางการเคลื่อนไหวเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาล ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์,35(3): 765-776.

ชนกานต์ แสงคํากุล, พนิดา จันทโสภีพันธ์, และ เดชา ทำดี. (2560). การส่งเสริมการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิของคนพิการ. ราชาวดีสาร, 7(2): 36-46.

พรทิพย์ แท่นทอง, เดชชาติ ตรีทรัพย์, และ ประเวศ อินทองปาน. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงเซา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 3(1): 29-40.

พิสิฐ โอ่งเจริญ. (2563). รูปแบบการเพิ่มประสิทธิผลในการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) เพื่อการพัฒนาชุมชน.

วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยนอรทกรุงเทพ, 9(1): 65-75.

ระพีพรรณ คำหอม และ รณรงค์ จันใด. (2561). สัดส่วนอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ที่เหมาะสมตามภารกิจของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. วารสารสำนักบัณฑิตอาสาสมัคร, 14(1): 77-108.

อัจฉรา ฉัตรแก้ว และ โชติ บดีรัฐ. (2564). การรับรู้สิทธิคนพิการตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 : กรณีศึกษาในเขตจังหวัดพิจิตร. Journal of Modern Learning Development, 6(3): 180-192.

จุไรรัตน์ พละเลิศ. (2550). แนวทางการสร้างเครือข่ายอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เพื่อการปฏิบัติงานด้านสวัสดิการสังคม. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. คลังทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

http://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:111256

มนธิรา ธาราเวชรักษ์. (2558). การส่งเสริมการปฏิบัติตามบทบาทของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ตามระเบียบกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ว่าด้วยอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พ.ศ.2557. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. คลังทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. http://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:90074

ยุพาพิศ วรรณโชติ. (2552). การมีส่วนร่วมของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(อพม.)ต่อการเฝ้าระวังความรุนแรงในครอบครัว จังหวัดปทุมธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, ภาควิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์,

สาขาการบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม.

อรนภา อบสุวรรณ (2557). การปฏิบัติตามคู่มือการปฏิบัติงานอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดสมุทรสงคราม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, สาขาการบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม.กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการ, กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

(2565). รายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านคนพิการในประเทศไทย.

อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคง

ของมนุษย์จังหวัดสงขลากับการพัฒนาชุมชน. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์

นพพร ทิพวงศ์ (2552) .การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อการปฏิบัติงานด้านสวัสดิการสังคม.(สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, สาขาการบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28