การตัดสินใจลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งทั่วไปปี พ.ศ. 2566 กรณีศึกษา ประชากรในพื้นที่อำเภอเมืองแพร่

ผู้แต่ง

  • กิตติกร กอบเงิน
  • วัลลภ พิริยวรรธนะ

คำสำคัญ:

การตัดสินใจ; คะแนนเลือกตั้ง; สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้ง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่องการตัดสินใจลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งทั่วไปปี พ.ศ. 2566 กรณีศึกษา ประชากรในพื้นที่อำเภอเมืองแพร่ มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งทั่วไป ปี พ.ศ. 2566 กรณีศึกษาอำเภอเมืองแพร่ และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ข้อมูลประชากรของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในพื้นที่อำเภอเมืองแพร่กับปัจจัยมีผลต่อการตัดสินใจลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งทั่วไป ปี พ.ศ. 2566 กรณีศึกษาอำเภอเมืองแพร่ โดยมีระเบียบวิธีการวิจัยคือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งทั่วไป ปี พ.ศ. 2566 ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ โดยถือเกณฑ์ผู้มีสิทธิเลือกตั้งอายุตั้งแต่ 18 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ จำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย One Way Anova (F-test), Pearson’s product moment correlation coefficient ผลการวิจัยพบว่า  ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งทั่วไปปี พ.ศ. 2566 กรณีศึกษา ประชากรในพื้นที่อำเภอเมืองแพร่ โดยภาพรวมยู่ในระดับมาก เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ ดังนี้ มากที่สุดคือ ด้านคุณสมบัติผู้สมัคร รองลงมาคือ ด้านนโยบาย ด้านการรณรงค์หาเสียง/กลยุทธ์หรือวิธีการหาเสียงเลือกตั้ง และด้านพรรคการเมือง และ เพศ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือน ไม่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งทั่วไปปี พ.ศ. 2566 กรณีศึกษา ประชากรในพื้นที่อำเภอเมืองแพร่ หมายถึง ประชากรในพื้นที่อำเภอเมืองแพร่ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือน ต่างกัน มีปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโดยรวมไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ สถานภาพสมรส อาชีพ และระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ มีความสัมพันธ์กับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งทั่วไปปี พ.ศ. 2566 กรณีศึกษา ประชากรในพื้นที่อำเภอเมืองแพร่ หมายถึง ประชากรในพื้นที่อำเภอเมืองแพร่ที่มีสถานภาพสมรสอาชีพ และระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ ต่างกัน มีปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

References

นงค์รักษ์ ต้นเคน (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกนายกองค์การบริหารส่วนตำบลคำเตย อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม. (วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม :มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ปิยะรัตน์ สนแจ้ง. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร: ศึกษากรณีประชาชนกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2562. (การศึกษาค้นคว้าอิสระ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (6 เมษายน 2560). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 134 ตอนที่ 40ก

วินิจ ผาเจริญ. (2563). พฤติกรรมการตัดสินใจไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชนในพื้นที่เลือกตั้งซ่อมเขต 8 จังหวัดเชียงใหม่. วารสาร “ศึกษาศาสตร์ มมร” คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย 8(1) ม.ค. – มิ.ย. 2563 (91 - 101)

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2561). การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สิริพรรณ นกสวน สวัสดี. (2561). ระบบการเลือกตั้งเปรียบเทียบ.(พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สยาม.

สุภี นะที. (2564) การตัดสินใจในการเลือกตั้งของประชาชนแขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ วิทยาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28