การส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนิสิตปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
คำสำคัญ:
คำสำคัญ : การส่งเสริมบรรยากาศ, การเรียนรู้, ศตวรรษที่ 21, นิสิตปริญญาตรี.บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 2) เพื่อศึกษาปัจจัยการส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นิสิตปริญญาตรี ชั้นปี 1 ถึงปี 4 คณะครุศาสตร์ จำนวน 152 รูป/คน โดยเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการและมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นโดยใช้ค่าที (t-test) เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยสองกลุ่ม และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไปและเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference: LSD)
ผลการวิจัยพบว่า การส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนิสิตปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มากที่สุด (= 4.22, S.D. = 0.28) และเมื่อจำแนกตามรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (= 4.27, S.D. = 0.32) รองลงมาคือด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ (= 4.22, S.D. = 0.36) และด้านบรรยากาศการเรียนรู้ (= 4.21, S.D. = 0.31) ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือด้านการส่งเสริมการเรียนรู้ระหว่างครูกับนิสิต (= 4.18, S.D. = 0.35)
ผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัยที่ผู้ตอบแบบสอบถามที่มี สถานภาพ อายุ ระดับชั้นที่ศึกษา และสาขาวิชา มีความคิดเห็นต่อการส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 แตกต่างกัน สรุปผลการทดสอบสมมติฐานโดยภาพรวม พบว่า แนวทางการส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่มีเพศต่างกัน มีสถานภาพ อายุ ระดับชั้นที่ศึกษา และสาขาวิชาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ไม่แตกต่างกันจึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขึ้น
พื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
ดาราวรรณ รองเมือง. (2562). บรรยากาศการเรียนรู้ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต. (จันทบุรี: วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า.
ดาราวรรณ รองเมือง. (2562). บรรยากาศการเรียนรู้ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต. จันทบุรี: สำนักพิมพ์วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า.
ธานินทร์ ผะเอม. (2558). ทิศทางการพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.singburi.go.th/etc_files/แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ๑๒.pdf. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 ก.ย. 2558
นางสาวชลธิชา จิรภัคพงค์. (2552). “ปัจจัยที่เอื้อต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่”. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่.
นายบุญฤทธิ์ บุญมา และผศ.ดร.นันทรัตน์ เจริญกุล. (2559). แนวทางการบริหารโรงเรียนสาธิตเพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่สนุกสนานสำหรับนักเรียน. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นายบุญฤทธิ์ บุญมา และผศ.ดร.นันทรัตน์ เจริญกุล. (2565). “แนวทางการบริหารโรงเรียนสาธิตเพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่สนุกสนานสำหรับนักเรียน”. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/83963 สืบค้นเมื่อวันที่ 4 มี.ค. 2565
นายพนมนคร มีราคา. (2560). ครูต้องมีลักษณะอย่างไร... ในศตวรรษที่ 21. วารสาร “ศึกษาศาสตร์ มมร” คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม -ธันวาคม 2560): 27.
บุญฤทธิ์ บุญมา. (2565). “อิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา”. แนวทางการบริหารโรงเรียนสาธิตเพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่สนุกสนานสำหรับนักเรียน. [ออนไลน์]. 11 (3): 2 ย่อหน้า. แหล่งที่มา: https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/83963 สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มี.ค. 2565.
ปทุมมาศ ว่องอรุณชัย. (2561). “มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ”. ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลของความสำเร็จในการเรียนการสอน : ศึกษากรณี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย นวบ.จังหวัดจันทบุรี. ปีที่ 11 ฉบับที่ 3 (กันยายน 2561) : 1632.
สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล. ผศ.ดร.. (2546). ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (The Twenty-First Century Skills). [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.trueplookpanya.com/education/ content/66054/-teaartedu-teaart-teaarttea- สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2546
อิทธิศักดิ์ ศิริจันทร์และ ชัยอนันต์ มั่นคง. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การกับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสระบุรี. ศรีสะเกษ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มจร การพัฒนาสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.