รูปแบบการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมขององค์กรพระพุทธศาสนาไทย-อินเดีย

ผู้แต่ง

  • ธัญญรัตน์ ญาโณทัยขจิตต์

คำสำคัญ:

รูปแบบการเรียนรู้, วัฒนธรรม, องค์กรพระพุทธศาสนาไทย-อินเดีย

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมขององค์กรพระพุทธศาสนาไทย-อินเดีย 2) เพื่อพัฒนากิจกรรมการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมขององค์กรพระพุทธศาสนาไทย-อินเดีย และ 3) เพื่อเสนอรูปแบบการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมขององค์กรพระพุทธศาสนาไทย-อินเดีย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวิธีดำเนินการวิจัย โดยการวิเคราะห์เอกสาร การร่วมทำกิจกรรม การสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่มย่อย วิเคราะห์เนื้อหาด้วยการพรรณนาตามหลักอุปนัยวิธี

ผลการวิจัยพบว่า  

  1. การเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมขององค์กรทางพระพุทธศาสนาไทย-อินเดีย ได้เรียนรู้ความเป็นมาขององค์กรทางพระพุทธศาสนาไทย-อินเดีย ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน มีองค์กรทางพระพุทธศาสนาไทย-อินเดีย ส่งเสริมการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมในมิติพระพุทธศาสนา 1) องค์กรพระธรรมทูตไทย-เนปาล-อินเดีย
    2) มหาโพธิสมาคม 3) สมาคมชาวพุทธแห่งอินเดีย 4) องค์กร Ambedkarite Buddhist Organizations ล้วนมีบทบาทที่ขับเคลื่อนพระพุทธศาสนาและพัฒนาสังคมไปพร้อมกัน มีการส่งเสริมแนวคิดของพระพุทธศาสนาเพื่อสังคมและมีการสลับวัฒนธรรมความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันร่วมกันเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมโดยไม่แบ่งแยกนิกายของชาวพุทธทั่วโลก
  2. การพัฒนากิจกรรมการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมขององค์กรทางพระพุทธศาสนาไทย-อินเดีย เป็นการร่วมทำกิจกรรมนำสู่การแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมขององค์กรทางพระพุทธศาสนาไทย-อินเดีย มี 5 กิจกรรม ได้แก่ 1) การอุปสมบทหมู่ของชาวพุทธไทย-อินเดีย 2) การทัศนศึกษาแหล่งโบราณคดีทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรม 3) กิจกรรมท่องเที่ยวทางศาสนาและวัฒนธรรม 4) การเดินธรรมยาตรา และ 5) กิจกรรมสาธยายพระไตรปิฎก ณ ประเทศอินเดีย
  3. รูปแบบการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมขององค์กรทางพระพุทธศาสนาไทย-อินเดีย ประกอบด้วย

1) องค์กรพระพุทธศาสนาไทย-อินเดีย องค์กรพระธรรมทูตไทย-เนปาล,
มหาโพธิสมาคม,องค์กรพุทธสมาคมแห่งอินเดีย, องค์กร Ambedkarite Buddhist, และองค์วัดไทยในอินเดีย เป็นต้น

2) กระบวนการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม มีโครงการ แผนงาน ขั้นตอน เป้าหมาย กิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันชัดเจน  

3) วิธีการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม 5 อย่าง (1) การอุปสมบทหมู่ของชาวพุทธไทย-อินเดีย (2) การทัศนศึกษาแหล่งโบราณคดีทางพระพุทธศาสนาไทย-อินเดีย (3) กิจกรรมการเดินธรรมยาตรา (4) กิจกรรมท่องเที่ยวทางศาสนาและวัฒนธรรม และ(5) กิจกรรมความร่วมมือของไทย-อินเดีย

4) วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม (1) ได้เรียนรู้คุณค่าวัฒนธรรมความดีงามที่มนุษย์สร้างขึ้น (2) ได้กัลยาณมิตร เป็นแบบอย่างที่ดี (3) มีศีลธรรม ละเว้นความชั่ว ประพฤติสิ่งดีงาม

5) ลักษณะของรูปแบบการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมขององค์กรทางพระพุทธศาสนา
ไทย-อินเดีย เป็นกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรม โดยผ่านกิจกรรม 5 กิจกรรมโดยการร่วมของคณะสงฆ์ไทย คณะสงฆ์นานาชาติ มีอุบาสก อุบาสิกา ทั้งไทยและอินเดีย-เนปาล ใช้สื่อต่างๆ ของวัด เช่น เว็บไชด์ เพจ เฟสบุ๊ค ถ่ายทอดเวลาจัดกิจกรรม นำรูปภาพกิจกรรมสื่อสารไปยังผู้ที่ศรัทธา ที่สนใจ ผ่านสื่อต่างๆ ของวัดไปสู่สื่อสิ่งพิมพ์สำนักข่าวต่างๆ ของไทย-อินเดีย-เนปาล ได้เป็นอย่างดี เป็นการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมขององค์กรทางพระพุทธศาสนาไทย-อินเดีย และเป็นสิ่งที่ชาวพุทธทั่วโลกร่วมกันพัฒนากิจกรรมทางพระพุทธศาสนาให้เกิดขึ้นเพื่อช่วยกันเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่ระดับโลก

References

การเรียนรู้ของมนุษย์ฯ, ออนไลน์, แหล่งที่มา, www.https://th.wikipedia.org/wiki/ สืบค้นเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2563.

สมศักดิ์ ศรีสันติสุข, การวิจัยข้ามวัฒนธรรม ประสบการณ์ภาคสนามในการศึกษาชุมชนชาติพันธุ์, (กรุงเทพมหานคร: การประชุมวิชาการวัฒนธรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 7 วันที่ 3 สิงหาคม 2560 ณ โรงแรมดิเอมเมอริดัล กรุงเทพมหานคร).

อภิรักษ์ กาญจนคงคา, (ออนไลน์), แหล่งที่มา, http://huexonline.com/knowledge/15/38/ (สืบค้นเมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๖๓).

อมรา พงศาพิชญ์, วัฒนธรรม ศาสนาและชาติพันธุ์ วิเคราะห์สังคมไทย แนวมานุษยวิทยา,

(กรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๗), หน้า ๕๘-๖๐.

ชลวิทย์ เจียรจิตต์. องค์กรทางพระพุทธศาสนาในสังคมไทยยุคปฏิรูป. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ปีที่ ๑๙. ฉบับเดือนมกราคม-ธันวาคม ๒๕๕๙.

ทับทิม เป็นมล และคณะ. การจัดการองค์ความรู้ทางวัฒนธรรม เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น. ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๓: กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑.

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. ทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑เพื่อการพัฒนาอาจารย์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่ สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ๒๕๕๗.

ธนภณ สมหวัง, พุทธศาสนากับการพัฒนาไทยแลนด์ ๔.๐, บทความพิเศษ (๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๐), (ออนไลน์), แหล่งที่มา, https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/116169, (๒๕ กันยายน ๒๕๖๓).

ทินวัฒน์ สุขสง, “แนวทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในโลกตะวันตก, วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหา บัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, ๒๕๕๙), บทคัดย่อ.

เดือนเพ็ญพร ชัยภักดี, การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ทักษะศตวรรษที่ ๒๑ ที่เน้นการเรียนรู้ เชิงผลิตภาพ สำหรับนักเรียนในโรงเรียนเรียนรวม จังหวัดชัยภูมิ, Vol.20 Special Issue (Septemper-October) ๒๐๑๘-JHSSRRU, หน้า ๑๙๓.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31