การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพของคนพิการทางการเห็นในภูมิภาคตะวันตก
คำสำคัญ:
คนพิการทางการเห็น, การสร้างเสริมสุขภาพ, ความพิการบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาพการณ์ ความต้องการและพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพของคนพิการทางการเห็นในภูมิภาคตะวันตกโดยเก็บรวมรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน โดยการเก็บข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมาย 2 แหล่ง คือการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) ซึ่งระบุว่าเป็นคนพิการทางการเห็นรายใหม่ จำนวน 154 ราย และคนพิการทางการเห็นที่มาใช้บริการทั่วไป จำนวน 30 ราย ใช้การเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบและพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ใช้การเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 3 การทดลอง กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้พิการทางการมองเห็น จำนวน 30 คน ใช้การเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ แบบทดสอบความรู้ก่อน-หลังการอบรม และแบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบที และขั้นตอนที่ 4 การประเมินและปรับปรุงรูปแบบ โดยกลุ่มเป้าหมายเป็นคนพิการทางการเห็น จำนวน 30 คน ใช้การเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามความพึงพอใจรูปแบบ และแนวทางการถอดบทเรียน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย
- ข้อมูลพื้นฐานการดำเนินงานการสร้างเสริมสุขภาพของกลุ่มคนพิการทางการเห็น โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ด้านที่มีค่ามากที่สุด ได้แก่ ด้านปัจจัยสังคม และสิ่งแวดล้อมที่สนับสนุนสุขภาพ รองลงมาได้แก่ ด้านทัศนคติและการเสริมพลังตนเอง และน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านการจัดการสุขภาพตนเอง และ
- การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพคนพิการทางการเห็น ได้รูปแบบชื่อว่า “MIND Model” ประกอบด้วย M: mind จิตใจความรู้สึกนึกคิดต่อตนเองและสังคม I: Intervention การจัดกิจกรรมหรือวิธีการรักษาฟื้นฟู N: Network เครือข่ายการทำงานคนพิการ และ D: Disability ความพิการหรือโรคที่เป็น โดยผลการทดลองใช้รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพคนพิการทางการเห็นกับกลุ่มทดลอง ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง การเปรียบเทียบความรู้การอบรมก่อนและหลังการอบรม คะแนนเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กมลพรรณ พันพึ่ง (2553). อัตลักษณ์การเสริมพลังอำนาจ และการกำหนดวิถีชีวิตตนเอง:การดำรงชีวิตอิสระ ของคนพิการในสังคมไทย .วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
กรมการจัดหางาน (2561). รายงานสรุปสถานการณ์การจ้างงานคนพิการปี 2560 และทิศทางการปรับกลยุทธ์ปี 2561. กระทรวงแรงงาน และ Workability Thailand.
ชุติมา ปฏิรูปา และคณะ. (2565). การพัฒนาแนวทางการเสริมสร้างพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของประชาชน อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน.
(3). 100-113.
ชุลีกร ด่านยุทธศิลป์. (2561). แบบจำลองการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์และการประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพทางการพยาบาล. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 38(2). 132-141
ณัฐกา สงวนวงษ์ และคณะ (2564). การให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการทางการเห็นแบบออนไลน์ในช่วง โควิด-19: ด้านการทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว การให้คำปรึกษาทางจิตใจ และคอมพิวเตอร์พื้นฐาน. วารสารวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ. 10(1). 16-30
ภาวินี ลาโยธี และ น้อมจิตต์ นวลเนตร์. (2563). ผลของการฝึกการทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหวต่อความสามารถในการทำกิจกรรมและความภาคภูมิใจแห่งตนของคนพิการทางการเห็น.ศรีนครินทร์เวชสาร 2563; 35(5) Srinagarind Med J 2020; 35(5) หน้า 591-597
ศิริเนตร สุขดี และคณะ. (2560). การพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดการความรู้ของชุมชนในตำบลบางเกลือ จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารสุขศึกษา. 40(1). 38-52
สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ (2560). แผนพัฒนาการดูแลสุขภาพคนพิการ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560– 2564.บริษัท เอช.เอ็น.กรุ๊ป จำกัด
สุภัทร ชูประดิษฐ์.(2561). คนพิการในที่ทำงาน:ความหลากหลายและระบบสนับสนุน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ. วารสารการวิจัยกาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 12(1). 45-64.
องค์การอนามัยโลก (2556). CBR Guideline ขององค์การอนามัยโลก ฉบับบภาษาไทย.กรุงเทพมหานคร: พรีเมี่ยมเอ็กซ์เพรส
อุบลรัตน์ วิเชียร ดำรงค์ศักดิ์ สอนแจ้ง เจษฎา บุญราศรี. (2564). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพชีวิตวิถีใหม่ของผู้สูงอายุ จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารพยาบาลทหารบก. 22(3).
อารยา เชียงของ และคณะ (2564). อนาคตภาพ: แนวทางการให้บริการสุขภาพเพื่อพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ ของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก. 32(2). 217-232
อำพล จินดาวัฒนะ สุรเกียรติ อาชานุภาพ สุรณี พิพัฒน์โรรจนกมล (2550) การส้างเสริมสุขภาพ : แนวคิด หลักการ และบทเรียนของไทย. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช).
Karima S. Khimani, et al. (2021). Barriers to Low-Vision Rehabilitation Services for Visually Impaired Patients in a Multidisciplinary Ophthalmology Outpatient Practice. Hindawi Journal of Ophthalmology Volume 2021, Article ID 6122246, 7 pages https://doi.org/10.1155/2021/6122246
Lina Magnusson, et al .(2022). Access to health and rehabilitation services for persons with disabilities in Sierra Leone – focus group discussions with stakeholders .BMC Health Services Research (2022) 22:1003 https://doi.org/10.1186/s12913-022-08366-8
Matthew J Burton, et al. (2021). The Lancet Global Health Commission on Global Eye Health: vision beyond 2020. Lancet Glob Health 2021; 9: e489–551
Ratanasukon M, Tongsomboon J, Bhurayanontachai P, Jirarattanasopa P (2016) The Impact of Vision Impairment (IVI) Questionnaire; Validation of the Thai-Version and the Implementation on Vision-Related Quality of Life in Thai Rural Community. PLoS ONE 11(5): e0155509. doi:10.1371/journal.pone.0155509
Rupert R A Bourne., et al. (2020). Causes of blindness and vision impairment in 2020 and trends over 30 years, and prevalence of avoidable blindness in relation to VISION
Ruth MA van Nispen and Cochrane Eyes and Vision Group. (2020). Low vision rehabilitation for better quality of life in visually impaired adults. Cochrane Database Syst Rev. 2020; 2020(1): CD006543.
Tanui, Philomena Jepkemboi ( 2015). Community-Based Rehabilitation Supports for Social Inclusion and Work Participation of Young Adults with Visual Impairment in Kenya: A Case Study. Doctoral thesis in Rehabilitation, Human Resources and Communication Disorders, The University of Arkansas.
World Health Organization. (2022).Eye care in health systems: guide for action. 20 May 2022 | Publication
Zhen Ling Teo, et al. (2021)Global Prevalence of Diabetic Retinopathy and Projection of Burden through 2045: Systematic Review and Meta-analysis. Ophthalmology. Volume 128, Issue 11, November 2021, Pages 1580-1591
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มจร การพัฒนาสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.