แนวทางการพัฒนาผู้นำด้านศิลปวัฒนธรรมสำหรับนักศึกษาครู
คำสำคัญ:
คำสำคัญ; แนวทางการพัฒนา; ผู้นำด้านศิลปวัฒนธรรม; นักศึกษาครูบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง แนวทางการพัฒนาผู้นำด้านศิลปวัฒนธรรมสำหรับนักศึกษาครู มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจความต้องการจำเป็นผู้นำด้านศิลปวัฒนธรรมสำหรับนักศึกษาครู
2) วิเคราะห์สาเหตุความต้องการจำเป็นผู้ของนำด้านศิลปวัฒนธรรมสำหรับนักศึกษาครู และ 3) ศึกษแนวทางการพัฒนาผู้นำด้านศิลปวัฒนธรรมสำหรับนักศึกษาครู เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาครูจากมหาวิทยาลัยของรัฐและมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐในภูมิภาคตะวันตก โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
- 1. การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นผู้นำด้านศิลปวัฒนธรรม พบว่า การประเมินตนเองเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นอยู่ อยู่ในระดับปานกลางถึงมาก สิ่งที่คาดหวัง พบว่าอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด โดยด้านความคิดสร้างสรรค์มีค่าสูงที่สุด รองลงมา คือ ด้านอุดมการณ์และการพัฒนาศิลปวัฒนธรรม ด้านทัศนคติ ความรู้ ความเข้าใจ และด้านการเป็นแบบอย่างที่ดี
- สาเหตุความต้องการจำเป็นของผู้นำด้านศิลปวัฒนธรรม 8 ด้าน ได้แก่ ด้านบริหาร ด้านวิชาการ ด้านกิจกรรมนักศึกษา ด้านบุคลากร ด้านสภาพแวดล้อมภายในสถาบันอุดมศึกษา ด้านสภาพแวดล้อมภายนอกสถาบันอุดมศึกษา ด้านงบประมาณ และด้านนักศึกษา
- 3. แนวทางการพัฒนาผู้นำด้านศิลปวัฒนธรรม ได้แก่ การกำหนดวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ แผนพัฒนานักศึกษา การพัฒนางานวิจัยไปใช้ในงานด้านศิลปวัฒนธรรม มีการบูรณาการศิลปวัฒนธรรมในการจัดการเรียนการสอน ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมนักศึกษาด้านศิลปวัฒนธรรมในรูปแบบต่างๆ ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในสถาบันด้านศิลปวัฒนธรรม บุคลากรอำนวยความสะดวกและให้บริการด้านศิลปวัฒนธรรม มีสถานที่ดำเนินกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรม ใช้เทคโนโลยีพัฒนากิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรม การส่งเสริมความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก เพื่อสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือในด้านศิลปวัฒนธรรม สนับสนุนการจัดสรรงบประมาณ การสร้างให้นักศึกษาเป็นผู้นำศิลปวัฒนธรรม และเชิดชูเกียรตินักศึกษาที่ทำกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรม
References
กมลวรรณ ม่วงสุข. (2560). การพัฒนาคู่มือการบริหารงานด้านศิลปวัฒนธรรม สาขาอนุรักษ์มรดกไทยของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามเกณฑ์รางวัลกระทรวงศึกษาธิการ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาบริหารการศึกษาภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ขวัญชัย พะยอม. (2550). แนวทางพัฒนาการจัดกิจกรรมนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร.
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. (2561). รายงานการประเมินตนเอง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. (2563). ข้อมูลคณะศึกษาศาสตร์. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2563 จาก https://www.su.ac.th/th/faculty-education.php)
ณิชาภัทร จาวิสูตร. (2557) . การสำรวจความต้องการจำเป็นเพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำด้านศิลปะวัฒนธรรมสำหรับนิสิตสโมสรนิสิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ: สถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ธัญวิทย์ ศรีจันทร์. (2559). การวิเคราะห์องค์ประกอบคุณลักษณะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของกรรมการองค์กรนิสิตนักศึกษา. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย, 29(2), 139-156.
ธิติ ญานปรีชาเศรษฐ ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม และยุวรี ญานปรีชาเศรษฐ. (2565). การศึกษาองค์ประกอบผู้นำด้านศิลปวัฒนธรรมสำหรับนักศึกษาครู. วารสารการวัดผลการศึกษา, 39, 250-263.
บรรจบ บุญจันทร์ และ จตุรงค์ ธนะสีลังกูร. (2561) . กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา. นครราชสีมา : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุสีริยาสาส์น
พัชรีพร วรจักร. (2559). “รูปแบบการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของสถาบันอุดมศึกษาในภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ”. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา ดุษฎีนิพนธ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
วัลลภา เทพหัสดิน ณ อยุธยา. (2544). การพัฒนานิสิตนักศึกษา. กรุงเทพมหานคร : ภาควิชาอุดมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักนโยบายและแผนการอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2561). แผนอุดมศึกษาระยะยาว 20 ปี พ.ศ. 2580. กรุงเทพมหานคร : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สุมิตรา วิริยะ. (2554). “การพัฒนากลยุทธ์การพัฒนาบทบาทสถาบันอุดมศึกษาด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมสถานภาพองค์กรด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของสถาบันอุดมศึกษา” .วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาอุดมศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษาคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรีรัตน์ จีนพงษ์. (2556). “ยุทธศาสตร์การบริหารเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำเชิงวัฒนธรรมไทยของนักศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์”. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำเนาว์ ขจรศิลป์. (2538). มิติใหม่ของกิจการนักศึกษา 1 : พื้นฐานและการบริการนักศึกษา. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. . (2542). มิติใหม่ของกิจการนักศึกษา 2 : พื้นฐานและบริการนักศึกษา. กรุงเทพมหานคร :ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มจร การพัฒนาสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.