ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชนในพื้นที่เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม; การเมือง; การเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่องปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชนในพื้นที่เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชนในพื้นที่เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร และเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชนในพื้นที่เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล โดยมีระเบียบวิธีการวิจัยคือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชนในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 397 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ จำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย One Way Anova (F-test) ผลการวิจัยพบว่า การมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชนในพื้นที่เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร พบว่า ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชนในพื้นที่เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการเลือกตั้งอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านการเป็นเจ้าหน้าที่พรรคการเมืองและผู้รณรงค์หาเสียง ด้านการเป็นผู้สื่อข่าวสารทางการเมือง ด้านการเป็นผู้มีบทบาทในชุมชน ด้านการติดต่อกับทางราชการ และด้านการเป็นผู้ประท้วง ตามลำดับ และผลการเปรียบเทียบของระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชนในพื้นที่เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่าประชาชนที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกัน มีระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่แตกต่างกัน
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2545). หลักสถิติ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
ธนากร ใสโศก. (2560). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโนนภิบาล อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา รัฐประศาสนศาสตร : มหาวิยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2564). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้ง ที่ 11. กรุงเทพฯ : บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
นภัส เล็กเจริญ. (2562). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองหนองปรือ อําเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา.
เพิ่มศักดิ์ วรรณยิ่ง, ณัฐวีณ์ บุนนาค,จตุพร บานชื่น. (2559). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตอำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม. คณะสังคมศาสตร์ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วิลัยจิตร เสนาราช. (2559). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนกลาง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์นี้หลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สุชาดา รุ่งจิรกาล. (2564). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร. ตามหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน : มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มจร การพัฒนาสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.