การจัดการเรียนการสอนในระบบออนไลน์ของนักศึกษาจีน มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทาประจำปี2565

ผู้แต่ง

  • กัญญ์รัชการย์ เลิศอมรศักดิ์
  • นภาวรรณ ลับบัวงาม

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนการสอน; ระบบออนไลน์; นักศึกษาจีน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่องการจัดการเรียนการสอนในระบบออนไลน์ของนักศึกษาจีน มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทาประจำปี 2565 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาจีนที่มีต่อการเรียนการสอนออนไลน์ โดยมีระเบียบวิธีการวิจัยคือกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนักศึกษาจีน มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทาจำนวน 200 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ จำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย One Way Anova (F-test), Pearson’s product moment correlation coefficient ผลการวิจัยพบว่า ผลการศึกษาระดับความพึงพอใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาที่มีต่อแผนการสอนการออกแบบการจัดการเรียนรู้และนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนุสนันทา รายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารการศึกษาและการเรียนรู้ พบว่า ความพึงพอใจของนักศึกษาจีนที่มีต่อการเรียนการสอนออนไลน์ พบว่า ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.50 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.74 ซึ่งเป็นความพึงพอใจในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านวิธีการสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.75 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.55 รองลงมา คือ ด้านความสอดคล้องกับสถานการณ์ และด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนการสอน มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.49 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.77 ด้านปัจจัยที่สนับสนุนการเรียนการสอน มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.44 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.81 และด้านครูอาจารย์หรือวิทยากรผู้สอนมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.31 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.74

References

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2564). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้ง ที่ 11. กรุงเทพฯ : บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2545). หลักสถิติ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-04