พัฒนาการและการบริหารงานของผู้นำองค์กร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในสังกัดสถาบันราชภัฏนครสวรรค์ (พ.ศ.2535-2546)

ผู้แต่ง

  • สาวิตรี สอาดเทียน

คำสำคัญ:

พัฒนาการ, การบริหารงาน, ผู้นำองค์กร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่องพัฒนาการและการบริหารงานของผู้นำองค์กรคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สังกัดสถาบันราชภัฏนครสวรรค์ พ.ศ.2435-2546 และศึกษาการบริหารงานของผู้นำองค์กรคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สังกัดสถาบันราชภัฏนครสวรรค์ พ.ศ. 2435-2546
เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยวิธีการเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสัมภาษณ์เจาะลึก การสังเกต การเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะเจาะจง ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาและการวิเคราะห์เอกสาร

ผลการวิจัยพบว่า กระทรวงศึกษาธิการ กรมการฝึกหัดครู ได้กราบบังคมทูลพระกรุณาของพระราชทานนามแทน “วิทยาลัยครู” ว่า “สถาบันราชภัฏ” เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2535 สถาบันราชภัฏสามารถเปิดสอนสูงกว่าระดับปริญญาตรีและจัดสรรงบประมาณรายได้ทรัพย์สินของสถาบันได้คล่องตัวมากขึ้น มีฐานะเป็นนิติบุคคล เปิดหลักสูตรใหม่ที่ทันสมัยตรงความต้องการท้องถิ่น สำหรับเยาวชน สำหรับผู้บริหารท้องถิ่น เพื่อเปิดโอกาสทางการศึกษาแก่ประชาชนตลอดจนการพัฒนากิจกรรมนักศึกษา โดยมีผู้นำองค์กรบริหารงานคณะอย่างต่อเนื่อง 3 ท่าน คือ รองศาสตราจารย์ ดร.ไพศาล สรรสรวิสุทธิ์ (พ.ศ.2535-2538) เป็นคณบดีคนที่ 6 อาจารย์สมศักดิ์ ขวัญเมือง (พ.ศ.2539-2541) เป็นคณบดีคนที่ 7 และผู้ช่วยศาสตราจารย์ เสรี ซาเหลา (พ.ศ.2542-2546) เป็นคณบดีคนที่ 8 ตามลำดับ ซึ่งการบริหารงานองค์กรเชิงรุกของผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นด้วยการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และแผนงานโครงการอย่างมีประสิทธิภาพความก้าวหน้าทั้งด้านงานวิชาการ งานบริหาร งานกิจการนักศึกษา สอดคล้องกับปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจของมหาวิทยาลัย มุ่งส่งเสริมให้การศึกษาเป็นเครื่องมือผลิตบัณฑิตถึงความพร้อมทั้งสติปัญญา ความรู้ และจริยธรรม คุณธรรม สามารถสร้างองค์ความรู้และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทั้งระดับสากลและท้องถิ่นด้วยกระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน สามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงโลกในอนาคตได้

References

นิตย์ สัมมาพันธ์. (2546). ภาวะผู้นำ: พลังขับเคลื่อนองค์กรสู่ความเป็นเลิศ, บริษัทอินโนกราฟฟิกส์จำกัด, กรุงเทพมหานคร.

แพรภัทร ยอดแก้ว. (2559). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง. แหล่งที่มา www.gotoknow.org/posts/236686 สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2566

วาสนา วงษ์สิงห์. (2555). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง. แหล่งที่มา www.gotoknow.org/posts/384595 สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2566

ศักดิ์ไทย สูรกิจพวร. (2545). จิตวิทยาสังคม. กรุงเทพมหานคร : สุวีระยาสาส์น.

ศักดิ์ไทย สูรกิจบวร. (2548). การวิเคราะห์งานวิจัยทางการบริหารการศึกษา. สกลนคร : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สถาบันราชภัฏนครสวรรค์. (2543). รายงานประจำปี ปีการศึกษา 2543. สำนักวางแผนและพัฒนา.

สนุก สิงห์มาตร พิกุล มีมานะ และดุษฎีวัฒน์ แก้วอินทร์. (2560). คุณลักษณะภาวะผู้นำของผู้บริหารองค์กรในศตวรรษที่ 21. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัย

ระดับบัณฑิตศึกษาครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2560. 487-793. แหล่งที่มา https://gs.rmu.ac.th/grc2017/fullpaper/file/PS-O-01.pdf สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2566

สมยศ นาวีการ. (2543). การบริหารและพฤติกรรมองค์กร. กรุงเทพมหานคร : กรุงธนพัฒนา.

สุรีย์รักษ์ อุดมเศรษฐ์. (2552). ภาวะผู้นำของคณบดีที่ส่งผลการบริหารจัดการที่ของคณะวิชา มหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ. มหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

เสวก ใจสะอาด. (2540). ราชภัฏ. วารสารดงแม่นางเมือง ฉบับที่ 1 มกราคม-พฤษภาคม ปี พ.ศ.2540.

Bass, B. M. & Avolio, B. J. (1990). Transformational leadership development. California: Consulting Psychologist.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-06