กระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแอพพลิเคชั่น Shopee ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ณัชชา วงค์นากลาง
  • สโรชินี ศิริวัฒนา

คำสำคัญ:

กระบวนการตัดสินใจ, การประเมินทางเลือก, แอพพลิเคชั่น Shopee, การแสวงหาข้อมูล

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง “กระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแอพพลิเคชั่น Shopee ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแอพพลิเคชั่น Shopee และ 2) เปรียบเทียบกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแอพพลิเคชั่น Shopee ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากผู้ที่เคยซื้อสินค้าผ่านแอพพลิเคชั่น Shopee ที่อาศัยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทดสอบที และค่าทดสอบเอฟ ผลการวิจัยแสดงว่า 1) ผู้บริโภคเห็นว่ากระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแอพพลิเคชั่น Shopee โดยภาพรวม มีความสำคัญอยู่ในระดับมาก และ
2) ผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร ที่มีอายุต่างกัน มีกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแอพพลิเคชั่น Shopee แตกต่างกัน ที่นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนเพศ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ไม่แตกต่างกัน

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2545). หลักสถิติ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2542). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติเพื่อการตัดสินใจ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฉัตรชัย หอมเพชร. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชันออนไลน์ของผู้บริโภคในอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (แขนงวิชาการตลาด สาขาวิชาวิทยาการจัดการ), มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชลลดา จำเริญ. (2563). ศึกษาพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Shopee ในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ), คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธงชัย สันติวงษ์. (2538). องค์การ ทฤษฎี และการออกแบบ. กรุงเทพมหานคร: แมเนจเม้น เซ็นเตอร์.

บุญฑวรรณ วิงวอน. (2551). มนุษยสัมพันธ์ในองค์การ. ลำปาง: คณะวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.

พุทธิพงศ์ เอี่ยมสอาด. (2561). องค์ประกอบและการสื่อสารการตลาดของเว็บไซต์ Shopee ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภค. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

รติรัตน์ เครืออำอ้าย. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าอะไหล่แอร์บ้านของช่างแอร์ผ่านเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในเขตอำเภอ พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (แขนงวิชาการตลาด สาขาวิชาวิทยาการจัดการ), มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วิจิตร ตัณฑสุทธิ์, วันชัย ริจิรวนิช, และศิริจันทร์ ทองประเสริฐ. (2550). ส่วนประสมทางการตลาด. สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2565, จาก http://www.ru.ac.th

สุวิมล ติรกานันท์. (2550). การสร้างเครื่องมือวัดตัวแปรในการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques (3rd ed.). New York: Wiley.

Cronbach, L.J. (1990). Essentials of psychological testing (5th Ed.). New York: Harper Collins.

Fraenkel, R.J. & Wallen, E.N. (2006). How to design and evaluate research in education (6th Ed.). Boston: McGraw-Hill.

Jacobs, L.C. (1991). Test Reliability. IU Blomington Evaluation Services and Testing (Best). Blomington: Indiana University.

Kriddikorn Padermkurkulpong. (2563). 3 กลยุทธ์การเติบโตของ Shopee ที่ทำให้แซง Lazada ขึ้นเป็นเบอร์หนึ่งแพลตฟอร์มช็อปปิ้งออนไลน์ในอาเซียน. สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2565, จาก http://workpointtoday.com/shopee-growth-strategies-over-lazada/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-08