ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด จังหวัดระยอง

ผู้แต่ง

  • ทิพย์รุ่ง เพิ่มพูนศรีศิลป์
  • สโรชินี ศิริวัฒนา

คำสำคัญ:

การตัดสินใจท่องเที่ยว, อุทยานแห่งชาติ, เขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด

บทคัดย่อ

การท่องเที่ยวเป็นการเดินทางเพื่อการพักผ่อน การหาความรู้ การทำธุรกิจ เป็นการเดินทางเป็นการชั่วคราว อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด จังหวัดระยอง เป็นอุทยานแห่งชาติประเภทชายฝั่งผสมหมู่เกาะในทะเล ซึ่งปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการมาท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติได้แก่ เจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอต่อการให้บริการและอำนวยความสะดวก การให้บริหารไม่มีความเป็นกันเอง การจัดลานกางเต้นท์ยังไม่เป็นระบบ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด จังหวัดระยอง และ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด จังหวัดระยอง จำแนกตามปัจจัยบุคคล

ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล จากนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด จังหวัดระยอง จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทดสอบที และค่าทดสอบเอฟ

ผลการวิจัยแสดงว่า 1) นักท่องเที่ยวเห็นว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด จังหวัดระยอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าส่งผลต่อการตัดสินใจอยู่ในระดับมาก 4 ด้าน คือ ด้านวัตถุประสงค์ของการท่องเที่ยว ด้านความปลอดภัย ด้านสถานที่ท่องเที่ยว และด้านการคมนาคม ตามลำดับ ส่วนด้านการได้รับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งต่างๆ ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยว อยู่ในระดับปานกลาง และ 2) นักท่องเที่ยวที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยว แตกต่างกัน ส่วนสถานภาพสมรส รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และที่อยู่อาศัย ไม่แตกต่างกัน

 

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2545). การวิเคราะห์เชิงปริมาณ. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

จังหวัดระยอง. (2565). ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดระยอง. สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2565, จากhttp://jigsawinnovation.com/project/rayongweb/department/detail/33

ฉลองศรี พิมลสมพงศ์. (2542). การวางแผนและพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว (พิมพ์ครั้งที่ 2).

กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ฉลองศรี พิมลสมพงศ์. (2544). การวางแผนและพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว (พิมพ์ครั้งที่ 3).

กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ธีระวิทย์ พรายแย้ม. (2545). การศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวต่างประเทศในการมาท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ราณี อิสิชัยกุล. (2545). เอกสารการสอนวิชากลยุทธ์การตลาดในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุชาดา นิ่มหิรัญวงษ์. (2544), ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการท่องเที่ยวภายในประเทศของผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุวิมล ติรกานันท์. (2550). การสร้างเครื่องมือวัดตัวแปรในการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อิตถีรัตน์ จันทร์แสงทอง. (2548). ปัจจัยกับพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทย: กรณีศึกษา เกาะเสม็ด จังหวัดระยอง. ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

Hirotsune, K. (2011). Tourism, Sustainable Tourism and Ecotourism in Developing Countries. Graduate School of International Development, Nagoya University, Paper for ANDA International Conference in Nagoya, 5 - 7 March 2011. Retrieved November 7, 2018, from https://www2.gsid.nagoya-u.ac.jp/blog/anda/files/2011/08/4-kimura_hirotsunee38080.pdf.

Jacobs, L.C. (1991). Test Reliability.UI Bloomington Evaluation Services and Testing (Best). Indiana University: Blomington.

Rangpan, V. (2020). Guideline for Sustainable Eco-System Development in the Manao Bay and Thanyong Mountain National Park Narathiwat Province southern Thailand. Thailand: Bangkok.

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-09