ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ: กรณีศึกษาเกาะเสม็ด จังหวัดระยอง

ผู้แต่ง

  • ทิพย์รุ่ง เพิ่มพูนศรีศิลป์
  • สโรชินี ศิริวัฒนา

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ, เกาะเสม็ด, ระยอง

บทคัดย่อ

การท่องเที่ยวเชิงนิเวศบนเกาะเสม็ด จังหวัดระยอง ไม่เพียงแต่อาศัยความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่เท่านั้น แต่ยังรวมถึงการจัดบริการที่พัก สิ่งอำนวยความสะดวก กิจกรรมการท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยว และการคมนาคมที่สะดวก การบริหารจัดการที่ดีเป็นแรงจูงใจให้นักท่องเที่ยวตัดสินใจมาท่องเที่ยวทำให้ประชาชนและผู้ประกอบการบนเกาะเสม็ดมีรายได้เพิ่มขึ้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศบนเกาะเสม็ด และ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศบนเกาะเสม็ด จำแนกตามปัจจัยบุคคล

ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล จากนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาท่องเที่ยวบนเกาะเสม็ด จำนวน 353 คน และได้รับแบบสอบถามคืนที่มีความถูกต้องและสมบูรณ์ของข้อมูลทั้งสิ้น 353 ชุด คิดเป็นร้อยละ 100 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทดสอบที และค่าทดสอบเอฟ

ผลการวิจัยแสดงว่า 1) นักท่องเที่ยว มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศบนเกาะเสม็ด ทั้งในภาพรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านกิจกรรม ด้านสิ่งดึงดูดใจ ด้านที่พัก และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านการคมนาคม อยู่ในระดับมาก และ
2) นักท่องเที่ยว ที่มีอายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือนต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศบนเกาะเสม็ด แตกต่างกัน ส่วนปัจจัยด้านเพศและด้านอาชีพ ไม่แตกต่างกัน

 

References

กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา, สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). รายงานศึกษาขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจการท่องเที่ยวทางทะเลและชายหาด. สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2565, จาก https://secretary.mots.go.th/ ewtadmin/ewt/policy/download/article/article_20190625145933.pdf

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). ยุทธศาสตร์กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พ.ศ. 2559-2568. สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2565, จาก https://www.mots.go.th/download/article/article20171201174031.pdf

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2545). การวิเคราะห์เชิงปริมาณ. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

จังหวัดระยอง. (2565). ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดระยอง. สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2565, จากhttp://jigsawinnovation.com/project/rayongweb/department/detail/33

ดารารัตน์ ต่อศักดิ์. (2564). แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติจังหวัดชัยภูมิ. การค้นคว้าด้วยตนเองศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและโรงแรม), มหาวิทยาลัยพะเยา.

ธนาพร ฉิมมิ. (2562). แนวทางการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในกลุ่มนักท่องเที่ยวยุโรป กรณีศึกษาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศในตำบลแสมสาร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการจัดการธุรกิจโลก), มหาวิทยาลัยบูรพา.

นวินดา บูรณะวังศิลา. (2562). ศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศผจญภัยในภาคตะวันออกของประเทศไทยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวยุโรป. งานนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการจัดการธุรกิจโลก), มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ: เพรส แอนด์ ดีไซน์.

พชยดนย์ ขวัญดี. (2564). แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

มาตรฐานการท่องเที่ยวไทย. (2564). มาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ. สืบค้นเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2565, จาก http://tts.dot.go.th/knowledge/stardard/59/detail

เมธาวี บุหงาเรือง. (2562). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของชุมชนในตำบลสิงหนาท อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการสิ่งแวดล้อม), สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สุวิมล ติรกานันท์. (2550). การสร้างเครื่องมือวัดตัวแปรในการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัจฉริยาพร คันธมาลาเจริญ. (2564). การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวในแนวทางการท่องเที่ยว 40 กรณีศึกษาพื้นที่ตำบลกื้ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการวางผังเมืองและสภาพแวดล้อม), มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

เอกชล เวชปัญญา. (2562). แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ดอยผากลอง จังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว), มหาวิทยาลัยพะเยา.

Cronbach, L.J. (1990). Essentials of psychological testing. New York: Harper Collins.

Fraenkel, J.R., & Wallen, N.E. (2006). How to Design and Evaluate Research in Education. Boston: McGraw Hill.

Hirotsune, K. (2011). Tourism, Sustainable Tourism and Ecotourism in Developing Countries. Graduate School of International Development, Nagoya University, Paper for ANDA International Conference in Nagoya, 5 - 7 March 2011. Retrieved November 7, 2018, from https://www2.gsid.nagoya-u.ac.jp/blog/anda/files/2011/08/4-kimura_hirotsunee38080.pdf.

Jacobs, L.C. (1991). Test Reliability.UI Bloomington Evaluation Services and Testing (Best). Indiana University: Blomington.

Rangpan, V. (2020). Guideline for Sustainable Eco-System Development in the Manao Bay and Thanyong Mountain National Park Narathiwat Province southern Thailand. Thailand: Bangkok.

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-09