ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จังหวัดพิจิตร

ผู้แต่ง

  • ธนัตถ์ภัทร์ ภู่โพธิ์ -
  • วิราสิริริ์ วสีวีรสิร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, ผู้นำชุมชน, ภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิทยานิพนธ์ เรื่อง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จังหวัดพิจิตรมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จังหวัดพิจิตรโดยมีระเบียบวิธีการวิจัยคือการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้นำชุมชนในจังหวัดพิจิตร จำนวน 340 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามระหว่างวันที่ 15 มิถุนายน – 15 กรกฎาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน การวิเคราะห์ไคสแควร์ และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน ผลการศึกษา พบว่า การมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง   ร้อยละ 42.65 รองลงมา อยู่ในระดับน้อยร้อยละ 36.17 และอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 21.18 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีอิทธิพลและสามารถคาดทำนายการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p - value < 0.05) ได้แก่ แรงจูงใจนโยบายด้านส่งเสริมสุขภาพ ทัศนคติ และความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยสามารถคาดทำนายได้ ร้อยละ 60.80 (R2 = 0.608)

ผลการวิจัยครั้งนี้ เสนอแนะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเพิ่มนโยบายส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โดยสร้างแรงจูงใจ ให้คำแนะนำ สร้างความเข้าใจ และส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพที่ถูกต้องแก่ผู้นำชุมชน

References

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.(2561). การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ. [เอกสารอัดสำเนา]. นนทบุรี: ผู้แต่ง

พิมพ์บุญญา สมุทรรัตน์. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง (รายงานผลการวิจัย). ระยอง: สำนักงานสาธารณสุขอำเภอนิคมพัฒนา.

เมธี สุทธศิลป์, เนตรนภา สาสังข์ และทัศพร ชูศักดิ์. (2560). “ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการควบคุมป้องกันโรคติดต่อตามแนวชายแดนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา”. วารสารพยาบาลทหารบก, 18(1), 83-93.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). การวิจัยเชิงนโยบายแบบมีส่วนร่วม. สืบค้น 20 มกราคม 2566, จาก Policy.pdf (mbuisc.ac.th)

วรพงศ์ ผูกภู่. (2562). ผู้นำในการพัฒนาชุมชน 4 ประเภท. สืบค้น 10 มกราคม 2566, จากranddcreation, (บริษัท อาร์แอนด์ดี ครีเอชั่น จำกัด).

Cohen J. M. &Uphoff, N.T. (1981). Participation place in rural development: Seeking clarity

through specificity, world development. New York: Cornell University.

Daniel WW. (2010). Biostatics: Basic Concepts and Methodology for the Health. Herzberg,F. et al (1959). The Motivation to work. New York: John Wiley and Sons.

Kool and Dierendonck. (2012). “Servant leadership and commitment to change, the mediating roleof

justice and optimism,” Journal of Organizational Change Management, 25(3), 422-433.

Nutbeam, D. (2008). “The evolving concept of health literacy.” Social Science & Medicine,

(12), 2072-2078.

Zimbardo, L. and Leippe M (1991). The Psychology of attitude change and Social Influence.

New York: Mc Graw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-04