การขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ ในจังหวัดสระบุรี

ผู้แต่ง

  • พระวัฒธยา ฐิติสมฺปนฺโน (ศรีลาศักดิ์)

คำสำคัญ:

การขับเคลื่อน, ธรรมนูญสุขภาพแห่งชาติ, การมีส่วนร่วมของ, พระสงฆ์ชุมชนและสังคม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการขับเคลื่อนธรรมสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ ในจังหวัดสระบุรี 2) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติในจังหวัดสระบุรี 3) เพื่อศึกษานโยบายการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ ในจังหวัดสระบุรี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญซึ่งเป็นตัวแทนจาก วัด ชุมชน และสังคม เพื่อช่วยในการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมชุมชนและสังคม เครือข่ายทั้งในปัจจุบันและอนาคต เครือข่ายการพัฒนาเป็นการดำเนินการอย่างมีนโยบายเพื่อให้สมาชิกได้รับประสบการณ์และการเรียนรู้เพื่อปรับปรุงความสามารถในการปฏิบัติงานด้านการพัฒนาขับเคลื่อนสุขภาวะ และเป็นการช่วยส่งเสริมความก้าวหน้าของภาคีเครือข่าย วัด ชุมชน สังคมและประเทศชาติสืบต่อไป

ผลการวิจัยพบว่า

  1. สภาพการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพสงฆ์แห่งชาติ ในจังหวัดสระบุรี ด้านพระสงฆ์กับการดูแลสุขภาพตนเองตามหลักพระธรรมวินัย ได้มีการส่งเสริม พระสงฆ์ให้มีความรู้รอบด้านสุขภาพ การดูแลตนเอง ชุมชนและสังคมกับการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ที่ถูกต้องตามหลักพระธรรมวินัย ชุมชนและสังคม ในจังหวัดสระบุรีตระหนัก และใส่ใจในการดูแลพระสงฆ์ ด้วยปัจจัย ๔ ให้ถูกต้องตามสุขภาวะ หน่วยงานของรัฐ และชุมชนได้เปิดโอกาสพระสงฆ์มีบทบาทในการเป็นผู้นำด้านสุขภาวะของชุมชนและสังคม พระสงฆ์และคณะสงฆ์เข้าไปมีส่วนร่วมในการสร้างสุขภาวะ ในทุกมิติ ภายในวัดและชุมชนสังคม ให้วัดเป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อน โดยใช้วันสำคัญทางพุทธศาสนา และวันสำคัญของชาติเป็นจุดเริ่มต้น ในการพัฒนาด้านกาย จิต ภาวนา และปัญญา อันจะนำไปสู่ความยั่งยืน
  2. การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพสงฆ์แห่งชาติใน จังหวัดสระบุรี เป็นการสร้างระบบกลไกในการสร้างเสริมสุขภาพจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม และภัยคุกคาม ด้วยกระบวนการการมีส่วนร่วมภายในวัด โดยวัด (เจ้าอาวาส) ส่งเสริมพระสงฆ์ให้เข้ากระบวนการเรียนรู้ด้านสุขภาวะ เพื่อนำความรู้ไปอบรมสั่งสอน ในการถวายปัจจัย ๔ ที่เอื้อต่สุขภาพชองพระสงฆ์ และ เข้าร่วมต้องส่งเสริม ระบบบริการสาธารณสุขสำหรับพระสงฆ์ บทบาทพระสงฆ์ในการเป็นผู้นำด้านสุขภาวะของชุมชนและสังคม บทบาทของพระสงฆ์ ที่เกิดขึ้น โดยการยอมรับ ของหน่วยงานภาคีเครือข่ายความร่วมมือ บูรณาการขับเคลื่อนส่งเสริมและสร้างเสริมสุขภาวะ ชุมชนและสังคมให้เป็นไปในแนวเดียวกัน
  3. นโยบายการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพสงฆ์แห่งชาติ ในจังหวัดสระบุรี พบว่ามี 3 ด้าน คือ 1 การขับเคลื่อนโดยพระสงฆ์เป็นผู้ดำเนินกิจกรรม ในการขับเคลื่อนโดยมีกระบวนการที่ชัดเจน 2. การขับเคลื่อนแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย โดยการมีส่วนร่วมขับเคลื่อนนโยบาย 3. นโยบายบทบาทพระสงฆ์เป็นผู้นำด้านสุขภาวะโดย ต้องใช้กลไกวัดเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน โดยใช้ หน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล วัดส่งเสริมสุขภาพในการสร้างเครือข่าย เพื่อการมีส่วนรวมในการขับเคลื่อนในแต่ละด้านทุกหน่วยงานของภาคีในการขับเคลื่อนโดยการเอานโยบายของคณะสงฆ์ ร่วมกับนโยบายรัฐและภาคีเครือข่าย ถือว่าเป็นบทบาทของพระสงฆ์ ในการเป็นผู้นำด้านสุขภาวะ ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดขึ้นโดยมีวัดเป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อนโดยเอาหลักธรรมคำสั่งสอน พระพุทธศาสนาเชื่อมโยง กับนโยบายของรัฐบาล เพื่อไม่ให้ผิดวัตถุประสงค์ในการใช้จ่ายงบประมาณของภาครัฐ

References

ชาติชาย ณ เชียงใหม่. (2545) การมีส่วนร่วมกับการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นที่สมดุล, (กรุงเทพมหานคร: บริษัทธรรมดาเพรส จำกัด,).

ผกามาศ กมลพรวิจิตร และมนู วาทิสุนทร, (2525) กระบวนการวัดส่งเสริมสุขภาพโดยดำเนินการเก็บข้อมูลวัดส่งเสริมสุขภาพวัดที่ผ่านการรับรองมาตรฐานวัดส่งเสริมสุขภาพ 5 แห่งในจังหวัดราชบุรี เชียงใหม่ตรัง ชัยนาท และนครราชสีมา, กรุงเทพมหานคร : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข,

ไพรัตน์ เตชะรินทร์. (2529) “นโยบาย และกลวิธีการมีส่วนร่วมของชุมชนในยุทธศาสตร์การพัฒนาปัจจุบันของประเทศไทย” ในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา, ม.ป.ท.,

มณีรัตน์ นุตเจริญ. (2550). “การมีส่วนร่วมของตัวแทนประชาชนในการจัดซื้อจัดจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง”, การค้นคว้าอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

วิชิต เปานิล. (2546) พุทธกระบวนทัศน์เพื่อสุขภาพและการเยียวยาในสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร:สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.), (2553) คู่มือการนำธรรมนูญว่าด้วนระบบสุขภาพแห่งชาติ เพื่อพัฒนาระบบสุขภาพของชุมชน , กรุงเทพมหานคร : บริษัทวิชั่นพรีเพรส จำกัด,

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแหงชาติ (สช.), (2560) ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ, กรุงเทพมหานคร : บริษัท โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮาส จำกัด,

อุดม แยมชื่นพงษ. (2545) “การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสภาตำบลในการอนุรักษ์แหล่งน้ำท่าจีน ศึกษาเฉพาะกรณีแม่น้ำท่าจีน เขตอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม,”

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28