ปัจจัยที่ส่งผลต่องานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

ผู้แต่ง

  • พัชรา กาจุลศรี Valaya Alongkorn Rajabhat University under the Royal Patronage
  • ชาญชัย วงศ์สิรสวัสดิ์ ที่ปรึกษา อาจารย์ประจำสาขาวิชานวัตกรรมการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • อรสา จรูญธรรม ที่ปรึกษา อาจารย์ประจำสาขาวิชานวัตกรรมการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่ส่งผล, งานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพและระดับปัจจัยที่ส่งผลต่องานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่องานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครู และ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน 384 คน เครื่องมือที่ใช้ในการ เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ค่าความเที่ยง 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน สรุปผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x}= 4.21, SD = 0.29)  ปัจจัยที่ส่งผลต่องานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก  ( gif.latex?\bar{x} = 4.28, SD = 0.24) 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่องานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ประกอบด้วย ภาวะผู้นำของผู้บริหาร (X1) การติดต่อสื่อสาร (X3) โครงสร้างองค์การ (X5) ทรัพยากรทางการศึกษา (X2) ตามลำดับ โดยสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ (raw score equation) คือ Y= 0.888 + 0.275X1 + 0.261X3 + 0.159X5 + 0.095X2  ส่วน สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน (standardized equation) คือ Zy = 0.547Z1 + 0.456Z3   + 0.204Z5 + 0.121Z2

References

กฤษฎา การีชุม. (2554). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1.วิทยานิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

โชคชัย พรหมมาก. (2561). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยม เขต 6. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มาหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.

ประเทืองทิพย์ สุกุมลจันทร์. (2557). การพัฒนาตัวแบบประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาใน โครงการหนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

สำนักงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. (2553). ประมวลพระราชดำรัสสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร. กรุงเทพฯ: สวนจิตรลดา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). นวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษาในการพัฒนาผู้เรียน ให้เกิดผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ : กรณีตัวอย่างโรงเรียนไพรบึงวิทยาคม. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2561). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุวิมล ติรกานันท์. (2546). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ : แนวทางสู่การปฎิบัติ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Cronbach, L.J. (1990). Essentials of Psychological Testing (5th ed.). New York: Haper Collins Publishers.

Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining Sampling Size for Research Activities. Journal of Education and Psychoogical Measurement. 30(3), 308.

Likert, R. (1967). New pattern of management. Englewood New Jersey: Prentice-Hall. McGrw-Hill.

Murgatroyd, S & Morgan, C. (1993). Total Quality management and the school. Buckingham: Open University.

Ossiannilsson, E. & Landgren, L. (2011). Quality in e-learning – conceptual framework based on experiences from three international benchmarking projects. Centre for Educational Development and Library Head Office, Lund University, Lund, Sweden. Education. 2nd ed. 7(3), 3865-3873.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-04