ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

ผู้แต่ง

  • รชา พูลพ่วง Valaya Alongkorn Rajabhat University under the Royal Patronage
  • ชาญชัย วงศ์สิรสวัสดิ์ ที่ปรึกษา อาจารย์ประจำสาขาวิชานวัตกรรมการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • อรสา จรูญธรรม ที่ปรึกษา อาจารย์ประจำสาขาวิชานวัตกรรมการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่ส่งผล, ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา, สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพและระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครู และ ผู้บริหาร สถานศึกษา จำนวน 384 คน เครื่องมือที่ใช้ในการ เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ  มีค่าความเที่ยง 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน สรุปผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x} = 4.55, SD = 0.44)  ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x}= 4.52, SD = 0.45) 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ประกอบด้วย ผู้ปกครองและชุมชน (X3) ผู้บริหาร (X1) การพัฒนาบุคคลากร (X4) การนิเทศติดตาม (X5) ตามลำดับ สมการพยากรณ์ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในรูปคะแนนดิบ (raw score equation) คือ

         Y= 0.705 + 0.174X3 + 0.363X1 + 0.200X4 +0.111X5

ส่วน สมการคะแนนมาตรฐาน (standardized equation) คือ

         Zy= 0.186Z3 + 0.403Z1 + 0.237Z4 +0.139Z5

References

กรมสุขภาพจิต. (2551). คู่มือครูระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนช่วงชั้นที่ 3-4 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2546). คู่มือครูระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน. กรุงเทพฯ: ชวนพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). การดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). ปฏิรูปการเรียนรู้ผู้เรียนสำคัญที่สุด. กรุงเทพฯ: บริษัทพิมพ์ดี.

รุ่งทิพย์ กันภัย. (2565, มกราคม 20). การสัมภาษณ์ โดย รชา พูลพ่วง. [บันทึกเทป]. สพป.สิงห์บุรี, สิงห์บุรี.

วรรณภา เย็นมนัส. (2557). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือ นักเรียนของครูที่ปรึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

Click, W.C. (1991, November). The Elementary School Counseling's Role and Principes. Dissertation Abstracts International, 52(5), 1642-A.

Cronbach, L.J. (1990). Essentials of Psychological Testing (5'ed). New York: Haper Collins Publishers.

Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining Sampling Size for Research Activities. Journal of Education and Psychoogical Measurement. 30(3), 308.

Likert, R. (1967). New pattern of management. Englewood New Jersey: Prentice-Hall. McGrw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-04