รูปแบบการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชนเชิงอนุรักษ์ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • พระมหาศิรินญ์ชัย ธนญฺชยเมธี (สูกรรัตนวงศ์)

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การจัดกิจกรรม, การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์, ชุมชน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชนเชิงอนุรักษ์ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชนเชิงอนุรักษ์ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชนเชิงอนุรักษ์ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้นำชุมชน/ กำนัน/ ผู้ใหญ่บ้าน/ พระสงฆ์นักพัฒนา/ตัวแทนภาคประชาชน/ นักท่องเที่ยว และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในหน่วยงานของภาครัฐ โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 

  1. ผลจากข้อมูลพื้นฐานกระบวนการพัฒนาการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชนเชิงอนุรักษ์ พบว่า การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เกิดจากการรวมตัวของชุมชนที่จัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในเขตชุมชนของตนเองที่มีความสวยงามและความอุดมสมบูรณ์ มีอาหารท้องถิ่นที่อร่อยมีรสชาติที่คงความเป็นธรรมชาติ มีวัฒนธรรมที่งดงาม ประเพณีอันเป็นเอกลักษณ์ คนส่วนใหญ่มีอาชีพเก็บเมี่ยงและมีฐานะยากจน ต่อมาได้รับการพัฒนามากขึ้นมีแนวคิดการพึ่งพาตนเองขับเคลื่อนเรื่องการท่องเที่ยวให้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาให้ชุมชนเจริญ มีการจัดทำโปรแกรม เส้นทาง และกิจกรรมการท่องเที่ยวภายในชุมชนที่เป็นอัตลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น เน้นกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวสามารถมีส่วนร่วม การอนุรักษ์กิจกรรมส่วนใหญ่จะเป็นกิจกรรมปิ้งย่าง ทานอาหารพื้นเมือง และชมการแสดงพื้นเมือง มีการส่งเสริม สืบสานและรักษาสิ่งดี ๆ ที่มีอยู่ให้คงอยู่ต่อไปและทำการสร้างสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมาทดแทน
  2. กิจกรรมที่เป็นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ใช้กิจกรรมเข้าร่วมโครงการอนุรักษ์ดังต่อไปนี้ 1. กิจกรรมการท่องเที่ยววิถีผลไม้ 2. กิจกรรมการท่องเที่ยวศิลปวัฒนธรรม 3. กิจกรรมการท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์วิถีชนบท และ 4. กิจกรรมการท่องเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ
  3. องค์ประกอบรูปแบบการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชนเชิงอนุรักษ์ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบไปด้วย ความสะดวก กิจกรรม เครือข่าย และการกลับไป

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2552). การวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย. (2561). แนวทางการเสริมสร้างความพร้อมในการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย.

คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักงาน. (2560). “แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 – 2564”.

นรินทร์ สังข์รักษาและชายชาญ ปฐมกาญจนา. (2558). แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิง วัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมของชุมชนตลาดบางหลวง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. Academic Services Journal Prince of Songkla University, 26 (1), หน้า 118-129.

นิศา ชัชกุล. (2550). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พจนา สวนศรี. (2541). คู่มือการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน. กรุงเทพมหานคร: โครงการท่องเที่ยวเพื่อชีวิต

และธรรมชาติ.

ภัคณิษา อภิศุภกรกุล และคณะ. (2550). การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เชื่อมโยงกับเทศกาลการท่องเที่ยวประจำปี ในกลุ่มจังหวัดภาคอีสานใต้ (รายงานการวิจัย). บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

สำนักพัฒนาการท่องเที่ยว. (2552). ความหมายการท่องเที่ยว. สืบค้น 2 พฤษภาคม 2555, จาก http://www.tourism.go.th

Nzama, A.T, Magi, L.M. & Ngocoho, N.R. (2005). Workbook-I Tourism Workbook for Educators: 2004 Curriculum Statement (Unpublished Tourism Workshop Educational Materials). Cantre for Recreation and Tourism, UZ. and Tourism KwaZuLu-Natal, University of Zululand.

Rechards, G. (2018). Cultural tourism: A review of recent research and trends. Journal of Hospitality and Tourism Management, 36, 12-21.

Woyo, E., & Woyo, E. (2018). Towards the development of cultural tourism as an alternative for tourism growth in Northern Zimbabwe. Journal of Cultural Heritage Management and Sustainable Development, https://doi.org/10.1108/JCHMSD-08- 2016-0048

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28