ชาติพันธุ์ชาวชอง : กลไกทางวัฒนธรรมและมิติของความหลากหลายทางชีวภาพ
คำสำคัญ:
กลุ่มชาติพันธุ์ชอง, กลไกทางวัฒนธรรม , ความหลากหลายทางชีวภาพบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลไกบูรณาการทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ชองในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และกลไกบูรณาการของชาติพันธุ์ชองในการดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกับชาติพันธุ์อื่น รวมถึงการเสื่อมบทบาทของกลไกบูรณาการทางวัฒนธรรมของชาติพันธุ์ชอง ตลอดจนข้อเสนอแนะบทบาทของชาติพันธุ์ชองกับการปรับตัวในกระแสการก้าวสู่สังคมสมัยใหม่ ในอำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี วิธีการศึกษา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแนวประวัติศาสตร์ เทคนิคการวิจัยประกอบด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร ผลการศึกษา พบว่า กลไกบูรณาการทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ชอง มีการใช้ทุนทางสิ่งแวดล้อมในเขตป่าเขาคิชฌกูฏไม่ได้ทำลายความหลากหลายทางชีวภาพ แต่เป็นการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ สำหรับกลไกบูรณาการทางชาติพันธุ์ชองในการดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกับชาติพันธุ์อื่น พบว่า กลุ่มคนชองในฐานะที่เป็นคนท้องถิ่นในอำเภอเขาคิชฌกูฏตั้งแต่อดีต สามารถที่จะดำรงอยู่ร่วมกับคนจีนและคนไทยที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานภายหลัง นอกจากนี้ กระบวนการเสื่อมบทบาทของกลไกบูรณาการความหลายหลายทางชีวภาพของชุมชนชองเขาคิชฌกูฏ เกิดจากการเข้ามาแทนที่ของระบบกรรมสิทธิ์ของรัฐในเขตป่าเขา ส่วนข้อเสนอแนะเกี่ยวกับบทบาทของชาติพันธุ์ชองกับการปรับตัวเพื่อก้าวสู่สังคมสมัยใหม่ คือ การใช้กระบวนการปลุกจิตสำนึกเพื่อฟื้นฟูวัฒนธรรมชอง ได้แก่ การอนุรักษ์ภาษาชองให้เป็นภาษาที่สองของชุมชน การเผยแพร่วัฒนธรรมชอง การฟื้นฟูวัฒนธรรมทางเศรษฐกิจของชองโดยอาศัยกลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง
คำสำคัญ : กลุ่มชาติพันธุ์ชอง กลไกทางวัฒนธรรม ความหลากหลายทางชีวภาพ
References
เจตน์จรรย์ อาจไธสง, คำรณ วังศรี, เฉิน ผันผาย และคณะ. (2563). อัตลักษณ์ทางสังคมและวัฒนธรรมของ “ชาวชอง” ในประเทศไทย. วารสารวิจัยวัฒนธรรม, 3(1), 39-58.
ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์. (2557). กลไกการบูรณาการกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในจังหวัดจันทบุรี. จันทบุรี: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
ชิน อยู่ดี. (2506). รายงานเสนอกองโบราณคดีกรมศิลปากร. เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2506.
ปาลเลกัวซ์ มงเซเญอร์. (2552). เล่าเรื่องกรุงสยาม. แปลโดย สันท์ ท. โกมลบุตร นนทบุรี: สำนักพิมพ์ศรีปัญญา.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2539). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.
วิทยากร เชียงกูล. (2545). อธิบายศัพท์เศรษฐศาสตร์การเมือง (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สายธาร.
โสวัตรี ณ ถลาง, กนิษฐา แย้มโพธิ์ใช้ และสุดารัตน์ รอดบุญส่ง. (2556). มิติทางวัฒนธรรมและการปรับตัวของกลุ่มชาติพันธุ์ชองในจังหวัดจันทบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 39(1),
-55.
สุชาติ เถาทอง. (2544). ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาพื้นถิ่นภาคตะวันออก. กรุงเทพฯ: โอเดียน สโตร์.
สุเรขา สุพรรณไพบูลย์. (2530). การศึกษากลุ่มชาติพันธ์ในประเทศไทย. จันทบุรี: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
สุทธิวิทย์ จรดล. (2548). การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของชาวชองในจังหวัดจันทบุรี : กรณีศึกษาเฉพาะชาวชองในตำบลตะเคียนทอง กิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี (วิทยานิพนธ์ ศศ.ม.จันทบุรี). จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
เอนก รักเงิน. (2551). ชาติพันธุ์สัมพันธ์กับการปรับตัวทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ชองในจังหวัดจันทบุรี (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Crawford John. (1856). A Descriptive Dictionary of Indian Islands and Adjacent Countries. Singapore: Oxford University Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มจร การพัฒนาสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.