การศึกษาศักยภาพเศรษฐกิจฐานรากวิถีพุทธของชุมชนวัดหาดมูลกระบือ อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร

ผู้แต่ง

  • พระครูวศินวรกิจ
  • พระครูวิโชติสิกขกิจ
  • พระครูอุทัยกิจจารักษ์
  • พระครูใบฎีกาสุวินท์ สุวิชาโน
  • ปริญญา นิกรกุล

คำสำคัญ:

ศักยภาพ, เศรษฐกิจฐานราก, วิถีพุทธ, วัดหาดมูลกระบือ, จังหวัดพิจิตร

บทคัดย่อ

 งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพเศรษฐกิจฐานรากวิถีพุทธของชุมชนวัดหาดมูลกระบือ อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร 2) เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพเศรษฐกิจฐานรากวิถีพุทธของชุมชนวัดหาดมูลกระบือ อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร 3) เพื่อเสนอแนะศักยภาพเศรษฐกิจฐานรากวิถีพุทธของชุมชนวัดหาดมูลกระบือ อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) รวบรวมข้อมูลโดยการวิจัยเอกสาร การวิจัยภาคสนาม ประกอบด้วย การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกต การสนทนากลุ่ม การจัดเวที ผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 45 รูป/คน การตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้าด้านวิธีรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา และอธิบายด้วยวิธีพรรณนา

 ผลการวิจัยพบว่า

  1. 1. การสืบสานและการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมโดยการเพิ่มมูลค่า การสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่โดยใช้วัดเป็นศูนย์กลางเพื่อขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจผ่านประเพณีต่างๆ
    ที่สัมพันธ์กับวัด แม่น้ำน่าน และทรัพยากรป่าไม้
  2. 2. ศักยภาพเศรษฐกิจฐานรากวิถีพุทธของชุมชนมีการรวมกลุ่ม เช่น กลุ่มข้าวเม่าพอก ทำเฟอร์นิเจอร์ไม้ ต่อเรือ เลี้ยงปลา จักสาน เป็นต้น ที่เชื่อมร้อยศรัทธาในทางพระพุทธศาสนาและสร้างรายได้ให้ชุมชน ประกอบด้วย กิจกรรมแข่งเรือยาวและกิจกรรมทำข้าวเม่า ในการรวมกลุ่มของประชาชนที่มีวัตถุประสงค์หารายได้เพื่อใช้จ่ายในกิจกรรมของวัด เพื่อให้เกิดความเข้าใจและเปลี่ยนวิธีคิดในการจัดทำธุรกิจของชุมชนยังใช้คู่มือการจัดทำแผนธุรกิจเพื่อชุมชนอีกด้วย
  3. 3. ภายหลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย คณะกรรมการวัดและทีมวิจัยมีความเห็นพ้องกันคือใช้พื้นที่บริเวณวัดจัดให้มีตลาดวัฒนธรรมเพื่อสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนและเป็นลานแสดงออกทางวัฒนธรรมของคนในพื้นที่ มีการจัดทำแผนที่การท่องเที่ยวทางน้ำโดยเริ่มจากวัดหงส์ วัดหาดมูลกระบือ และวัดท่าฬ่อ และการพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจในชุมชนวัดหาดมูลกระบือตามแนวคิด TERMS Model

References

เกวลิน หนูสุทธ์ วราภรณ์ ดวงแสง. (2562). การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนบนฐานคิดเศรษฐกิจฐานราก. วารสารการบริหารท้องถิ่น, 12(3), 481-496.

คณะอนุกรรมการยุทธศาสตร์เศรษฐกิจฐานราก บรรณาธิการ. (2559). คู่มือการส่งเสริมการพัฒนา “ระบบเศรษฐกิจฐานราก”. สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, 19-20

จักรกริช กวงแหวน. (2560). การเสริมสร้างศักยภาพเศรษฐกิจฐานรากด้วยการจัดการกลุ่มของมูลนิธิศึกษาพัฒนาชนบท อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ (ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ).เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ฐิติพร สำราญศาสตร์, ชลลดา รุ่งเรือง, วรัญชลี เหมะสุทธิ์. (2019). ปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจของกลุ่มอาชีพสตรีจักสานป่านศรนารายณ์ สู่ผลิตภัณฑ์ชุมชนสร้างรายได้ภายใต้ชื่อแบรนด์ “ ARAYA ” Veridian E-Journal,Silpakorn University, 12(3), 379-396.

ณัฐกาญ ธีรบวรกุล. (2561). การออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ขนมไทยของชุมชนตรอกข้าวเม่า เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร. วารสารศิลป์ พีระศรี, 6(1), 126-149.

แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (16) ประเด็น เศรษฐกิจฐานราก (พ.ศ. 2561 - 2580) สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน). (2563). เศรษฐกิจฐานราก. https://web.codi.or.th/development_project/20201125-20029/

สรรเพชร เพียรจัด, จตุพัฒน์ สมัปปิโต, จินตนา วัชรโพธิกร, จารินี ม้าแก้ว. (2564). รูปแบบการยกระดับเศรษฐกิจชุมชนด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์พื้นถิ่นข้าวเม่า แบบบูรณาการ อําเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิชาการ มจรบุรีรัมย์, 6(1), 105-119.

สวรินทร์ เบ็ญเต็มอะหลี. (2012). วิถีคนและวิถีคลองนาทับ ตำบลนาทับ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 4(8), 129-139.

สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2563). รายงานฉบับสมบูรณ์ การศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน. เสนอ สถาบันพระปกเกล้า.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28