การส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากเชิงสร้างสรรค์ของชุมชนวัดหาดมูลกระบือ อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร
คำสำคัญ:
การส่งเสริม, เศรษฐกิจฐานราก, ชุมชน, วัดหาดมูลกระบือ, จังหวัดพิจิตรบทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากระบวนการการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากเชิงสร้างสรรค์ของชุมชนวัดหาดมูลกระบือ อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากเชิงสร้างสรรค์ของชุมชนวัดหาดมูลกระบือ อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจฐานรากเชิงสร้างสรรค์ของชุมชนวัดหาดมูลกระบือ อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตรเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR = Participatory Action Research) รวบรวมข้อมูลโดย การวิจัยเอกสาร การวิจัยภาคสนาม ประกอบด้วย การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การจัดเวทีทำความเข้าใจ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 45 รูป/คน การตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้าด้านวิธีรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา และอธิบายด้วยวิธีพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
- มีการจัดทำแผนธุรกิจเพื่อชุมชน Business Model Canvas (CBMC) แบบจำลองทางธุรกิจเพื่อชุมชน แผนดำเนินงานที่ใช้สำหรับธุรกิจเพื่อชุมชน และปฏิทินงานเพื่อใช้ในการควบคุมให้งานเดินไปตามเป้าหมายของชุมชน
- การส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากเชิงสร้างสรรค์ของชุมชนตามกรอบความคิด TERMS MODEL ที่ชุมชนจะพึ่งตนเองได้ซึ่งมี 5 ประการ คือ การพึ่งตนเองทางเทคโนโลยี (T) การพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจ (E) การพึ่งตนเองทางทรัพยากรธรรมชาติ (R) การพึ่งตนเองทางจิตใจ (M) และการพึ่งตนเองทางสังคมวัฒนธรรม (S) ที่ส่งผลถึงความสัมพันธ์เชิงหน้าที่และการพึ่งตนเองของชุมชนวัดหาดมูลกระบืออีกด้วย
- การสนับสนุนเศรษฐกิจฐานรากเชิงสร้างสรรค์ผ่านเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โปรแกรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของชุมชนวัดหาดมูลกระบือ และตลาดนัดวัฒนธรรมชุมชนเพื่อเป็นการพึ่งตนเองอย่างยั่งยืน
References
กาญจนา รอดแกว ภุชงค์ เสนานุช และรณรงค์ จันใด. (2563). รายงานฉบับสมบูรณ์การศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากเพื่อการพัฒนาอย่างยังยื่น. สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. หน้า 1.
จิราพร มะโนวัง, วาสนา เสภา, กนกวรรณ ปลาศิลา. (2565). การศึกษาและยกระดับผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาในตำบลแม่เปา อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 16(1), 162-175.
ณัฏฐ์ธนิน เอื้อศิลป์, ช่อพกา ดวงมณี. (2564). ต้นทุนและผลตอบแทนของการเพาะเลี้ยงปลานิลในกระชังในแม่น้ำโขง (จังหวัดหนองคาย) ระหว่างปีการผลิต 2562. Journal of Business, Economics and Communications, 16(3), 114-162.
เพียงแข ภูผายาง, นราศักดิ์ ภูผายาง, สัญชัย รำเพยพัด. (2564). ปัญหาการเลี้ยงปลานิลกระชังในเขื่อนลำปะทาว จังหวัดชัยภูมิ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(4), 388-397.
วรินทร์ธร ธรสาสรสมบัติ. (2564). กลยุทธ์การบริหารงานอย่างมีดุลยภาพของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมะพร้าว อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 8(2), 213–227.
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องการมหาชน) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2559). คู่มือการส่งเสริมการพัฒนา “ระบบเศรษฐกิจฐานราก”. สำนักสนับสนุนขบวนองค์กรชุมชน และสำนักสื่อสารการพัฒนาสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน), หน้า 19-20.
สนทนากลุ่ม เรื่องการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากเชิงสร้างสรรค์ของชุมชนวัดหาดมูลกระบือ อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร 22 พฤศจิกายน 2565
สยามรัฐออนไลน์, (2562), เบื้องหลังข้าวเม่าพอกเงินล้านวัดหาดมูลกระบือของอร่อยคู่กับงานแข่งเรือ.สืบค้น 23 พฤศจิกายน 2565. จาก https://bit.ly/3EwjVQj
อังกาบ บุญสูง. (2559). การศึกษาแนวทางการสร้างเครือข่ายชุมชนหัตถกรรมจักสานจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 11(2), 403-418.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มจร การพัฒนาสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.