คุณค่าสบู่กัญชาเพื่อสุขภาพ
คำสำคัญ:
กัญชา, สบู่สมุนไพร, สารประกอบบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสารประกอบของสบู่กัญชา และ 2. เพื่อศึกษาประโยชน์ของสารประกอบของสบู่กัญชาที่มีต่อสุขภาพ โดยใช้การทดสอบสารประกอบจากสบู่สมุนไพรโดยการเข้าห้องทดลองด้วยวิธี การวิเคราะห์หาปริมาณสารสำคัญ Cannabinoids (THC , CBD) ในสบู่สมุนไพรด้วยเครื่อง Liquid Chromatography – Mass Spectrometer (LC-MS/MS) และหาสารประกอบสำคัญของสบู่สมุนไพรด้วยวิธี เทคนิคแก๊สโครมาโทกราฟี-แมสสเปกโตรเมทรี (Gas Chromatography-Mass Spectrometry; GC-MS) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการวิเคราะห์หาปริมาณสารสำคัญ Cannabinoids (THC, CBD) ในสบู่สมุนไพรด้วยเครื่อง ไม่พบสารTetrahydrocannabinol (THC) และ Cannabidiol (CBD) ในสบู่สมุนไพร และผลการทดสอบปริมาณสารประกอบในสบู่สมุนไพร พบสารประกอบในสบู่สมุนไพร 6 ชนิด 2. ประโยชน์ของสารประกอบของสบู่กัญชา (1) 1,5,5-Trimethy-6-methylene-cyclohexene ใช้เป็นส่วนประกอบในอุตสาหกรรมกลิ่นเพื่อสร้างกลิ่นในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ (2) beta-Citronellol สามารถใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ที่มีเป้าหมายในการควบคุมกลิ่นไม่พึงประสงค์ และลดการเกิดอาการอักเสบ (3) Geraniol มีคุณสมบัติในการลดการอักเสบและปรับสภาพของผิวหนัง มีฤทธิ์ต้านเชื้อราและสามารถใช้ในการควบคุมการเจริญเติบโตของเชื้อรา และ (4) Tetradecanoic acid ใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิตเครื่องหอมและเครื่องสำอาง และมีบทบาทในการควบคุมการเจริญเติบโตของเชื้อราและแบคทีเรีย
References
เดอร์มาอินโนเวชั่น. (2565). ประโยชน์ของกัญชง & กัญชา ในเครื่องสำอางดีจริงไหม ? สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2566, จาก https://www.derma-innovation.com/content/22622/ -ประโยชน์ของกัญชง-amp-กัญชา-ในเครื่องสำอางดีจริงไหม-#:~:text=ทางด้านของเครื่องสำอาง%20กัญชา,ผิวให้แข็งแรงยิ่งขึ้น
ชินมนัส ตั้งจาตุรนนต์รัศมี. (2562). กัญชาช่วยบรรเทาอาการทางโรคผิวหนัง ได้จริงหรือ?. CIMjournal (กรกฎาคม – สิงหาคม 2562), 26.
ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP. (2566). สบู่ธรรมชาติ. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2566 จาก http://otop.dss.go.th/index.php/knowledge/interesting-articles/338-2019-12-02-09-20-58
ทักษิณา สอนสนิท บัญญัติ สุขศรีงาม และอรุณ บ่างตระกูลนนท์. (2531). ระบาดวิทยาของ Salmonella ในแมลงสาบ.วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา, 1(3), 46-53.
ธีรธร มโนธรรม. (2550). กัญชา: มิติใหม่ทางการแพทย์. วารสารอาหารและยา, 14(1), 23-31.
นฤชยา สาตแฟง. (2566). ธุรกิจผลิตสบู่และเครื่องสำอาง. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2566 จาก https://www.lhbank.co.th/getattachment/41fe688e-952c-467f-894c-e5bdb3429b69/economic-analysis-Industry-Outlook-2023-Soap-and-Cosmetics
รักบ้านเกิดทีม (2554). การทำสบูก้อนจากสมุนไพร. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2566 จาก https://www.rakbankerd.com/agriculture/print.php?id=3010&s=tblplant
สุมาลี เหลืองสกุล. (2530). ฤทธิ์ต้านแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการเกิดหนองของสารสกัดจาก สมุนไพร 6 ชนิด.การประชุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 13, สงขลา.
อาคม กาญจนประโชติ (2548). กัญชง-กัญชา. วารสารแม่โจ้ปริทัศน์, 6(6), 23-25.
Beauty See First (2562). ทำความเข้าใจการดูแลผิวด้วย CBD สารสกัดน้ำมันกัญชาส่วนผสมสุดฮิต#ฉบับเข้าใจง่าย. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2566 จาก https://workpointtoday.com/cbd_skincare/
Barnard, D. R., & Xue, R. D. (2004). Laboratory evaluation of mosquito repellents against Aedes albopictus, Culex nigripalpus, and Ochlerotatus triseriatus (Diptera: Culicidae). Journal of medical entomology, 41(4), 726-730.
Lorian, V. (Ed.). (2005). Antibiotics in laboratory medicine. Lippincott Williams & Wilkins.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มจร การพัฒนาสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.