ชุมชนแห่งความปึกแผ่น: บทบาทการสร้างบูรณาการทางสังคมของ พระธรรมทูตไทยในสวีเดน

ผู้แต่ง

  • ภูเบศ วณิชชานนท์ Srinakharinwirot University
  • สายชล ปัญญชิต

คำสำคัญ:

พระธรรมทูตไทย, การบูรณาการทางสังคม, ความเป็นปึกแผ่นทางสังคม

บทคัดย่อ

สถานการณ์การย้ายถิ่นของคนไทยไปต่างประเทศถูกให้ความสนใจในฐานะปรากฏการณ์ทางสังคมที่มีการศึกษาออกไปอย่างแตกต่างหลากหลาย การศึกษาครั้งนี้ให้ความสนใจไปที่บทบาทการสร้างการ
บูรณาการทางสังคมของพระธรรมทูตไทยในสวีเดนที่มีต่อชุมชนคนไทยในประเทศสวีเดน ภายใต้กรอบของวัตถุประสงค์การวิจัยคือ 1) ศึกษาคุณลักษณะของพระธรรมทูตไทยในต่างประเทศ 2) วิเคราะห์บทบาทการสร้างชุมชนคนไทยให้มีความเป็นปึกแผ่นของพระธรรมทูตไทยในสวีเดน และ 3) วิเคราะห์แนวทางการพัฒนาบทบาทพระธรรมทูตไทยในสวีเดน โดยอาศัยการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อการทำความเข้าใจด้วยเทคนิคการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและการสนทนากลุ่มจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 25 รูป/คน เมื่อได้รับข้อมูลการวิจัยครบถ้วนแล้ว ผู้วิจัยใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

          ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า พระธรรมทูตไทยในสวีเดนมีบทบาทสำคัญต่อการสร้างการบูรณาการทางสังคมให้กับชุมชนคนไทยในสวีเดนภายใต้คุณลักษณะของพระธรรมทูตไทยในต่างประเทศที่มุ่งเผยแผ่หลักพุทธธรรมคำสอนและปฏิบัติการการใช้ชีวิตตามแนวพระพุทธศาสนาจนก่อรูปเป็นบทบาทหลัก 3 บทบาท ประกอบด้วย 1) การเป็นหมุดยึดของเครือข่ายคนไทยในสวีเดน 2) การระดมทรัพยากรเพื่อทำกิจกรรมทางศาสนา และ 3) การผู้ประสานของเครือข่ายทางสังคม นอกจากนี้ งานวิจัยครั้งนี้ได้เสนอให้พระธรรมทูตไทยในสวีเดนได้พัฒนาแนวทางและบทบาทของตนด้วยการสร้างเครือข่ายการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศสวีเดนและการพัฒนาและส่งเสริมกิจกรรมทางวัฒนธรรมเพื่อให้เกิดความยั่งยืนของบทบาทได้ต่อไป

References

ชลวิทย์ เจียรจิตต์. (2565). สู่สังคมชาญชรา: นวัตกรรมทางสังคมกับการเสริมสร้างเครือข่ายเพื่อการพัฒนา

ศักยภาพผู้สูงอายุในสังคมไทย. วารสารพัฒนาสังคม, 24(1), 49-67.

ดุษฎี อายุวัฒน์. (2562). ศาสตร์และวิธีวิทยาการศึกษาการย้ายถิ่นของประชากร. ขอนแก่น: คลังนานา

วิทยา.

ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์. (2560). หมุดยึดเด็กไกลบ้าน: บทบาทของเครือข่ายทางสังคมที่มีต่อการดำรงชีพของ

แรงงานนักเรียนไทยในออสเตรเลีย. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต

หาดใหญ่, 9(2), 260-282.

ปังปอนด์ รักอำนวยกิจ, และ ศิริพงศ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา. (2562). ความหลากหลายของกลุ่มผู้ย้ายถิ่นใน

ประเทศไทย: มุมมองทางประชากรและสังคม, 13(2), 84-122.

พระครูสุธรรมธวัชชัย, และพระครูสิริสุตานุยุต. (2565). กลยุทธ์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศ

นอร์เวย์ของพระธรรมทูตไทย. วารสารปรัชญาปริทรรศน์, 27(2), 223-248.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุต์โต). (2543). พระธรรมทูตไทย เบิกทางสู่อารยธรรมใหม่. กรุงเทพฯ: กองทุนรักษ์

ธรรมเพื่อการฟื้นฟูพระพุทธศาสนา.

พระมหาชัยวิชิต ชยาภินนทฺโท (โสภาราช), พระครูพิพิธสุตาทร, และ สยาม ราชวัตร. (2560). รูปแบบการ

เสริมสร้างสมรรถภาพของพระธรรมทูตไทยในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในทวีปยุโรป. วารสาร

มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2), 523-534.

พระมหาทองเก็บ ญาณพโล. (2563). เทคโนโลยีกับการพัฒนาพระธรรมทูตไทยในสถานการณ์โควิด-19.

วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 7(3), 48-56.

พระมหาบุญทิน ปุญฺญธโช (เทาศิริ). (2562). กลยุทธ์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามหลักปฏิสัมภิทา 4

สำหรับพระธรรมทูตไทยในทวีปยุโรป. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(6), 3154-3171.

พระมหาสุเทพ สุวฑฺฒโน (เหลาทอง). (2561). กลยุทธ์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตสาย

ต่างประเทศ (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยามหาจุฬา

ลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสุเทพ สุวฑฺฒโน. (2563). การพัฒนาพระธรรมทูตไทยเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาใน

ต่างประเทศ. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 7(3), 250-264.

พระราชวรเมธี, และคณะ. (2560). แผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา 2560-2564 “การนำ

นโยบายสู่การปฏิบัติ”. นครปฐม: มหาเถรสมาคม.

วิทยาลัยพระธรรมทูต. (2562). โครงการอบรมพระธรรมทูตสายต่างประเทศ. สืบค้นจาก, https://odc.

mcu.ac.th/?page_id=22

วิทยาลัยพระธรรมทูต. (2566). ประวัติความเป็นมาวิทยาลัยพระธรรมทูต. สืบค้นจาก, https://odc.mcu.

ac.th/?page_id=712

วิทยาลัยพระธรรมทูต. (2566). วิทยาลัยพระธรรมทูต เปิดรับสมัครนิสิตใหม่ หลักสูตรประกาศนียบัตรพระ

ธรรมทูต รุ่นที่ 1 ปีการศึกษา 2566. สืบค้นจาก, https://odc.mcu.ac.th/?p=23691

สร้อยมาศ รุ่งมณี. (2565). ชีวิตหลังการย้ายถิ่นและความท้าทายในการยกระดับทางเศรษฐกิจของแรงงาน

คืนถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารสังคมวิทยามานุษยวิทยา, 41(2022), 179-211.

สายชล ปัญญชิต. (2566). แนวทัศน์สังคมวิทยา: ความคิดเชิงโครงสร้างสังคมและการประยุกต์ใช้.

กรุงเทพฯ: โครงการผลิตหนังสือและตำรา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2566). หลักสูตรที่เปิดสอน. สืบค้น

จาก, https://regweb.mcu.ac.th/registrar/program_info.asp

อารี จำปากลาย, และคณะ. (2563). การย้ายถิ่นของมุสลิมไทยไปมาเลเซีย และการบูรณาการทางสังคมกับ

การแก้ปัญหาในสามจังหวัดชายแดนใต้. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์

วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).

Appadurai, A. (1990). Disjuncture and Difference in the Global Cultural Economy. Theory,

Culture & Society, 7(1990), 295-310.

Ayuttacorn, A. (2019). Social networks and the resilient livelihood strategies of Dara-ang

women in Chiang Mai, Thailand. Geoforum, 101, 28-37

Bourdieu, Pierre. (1986). The forms of capital. In Handbook of Theory and Research for the

Sociology of Education, Richardson, J. (ed.), pp.241-258. Westport, CT: Greenwood.

Castles, S. (2007). Twenty-First-Century Migration as a Challenge to Sociology. Journal of

Ethnic and Migration Studies, 33(3), 351-371.

Chantavanich, S., and Jitpong, W. (2023). Precarity and social protection of migrant fishers in

Thailand: Case studies of death and disappearance at sea. Marine Policy, 155,

Giddens, A. (1984). The Constitution of Society: Outline of the Theory of Structuration.

Cambridge: Polity Press.

Kantachote, K. (2023). Micromanagement of foreign domestic workers in Singapore: The

influence of state regulations and laws. Heliyon, 9(7), e17679.

Parreñas, R. S., Kantachote, K., and Silvey, R. (2021). Soft violence: migrant domestic worker

precarity and the management of unfree labour in Singapore, Journal of Ethnic and

Migration Studies, 47(20), 4671-4687.

Putnam, Robert D. (1993a). The prosperous community: Social capital and public life. The

American Prospect, 13 (Spring), 35-42.

Startup, R. (1971). A Sociology of Migration? The Sociological Quarterly, 12(2), 177–190.

Statista Research Department. (2023). Number of citizens born in Asia living in Sweden in

, by country of birth. Retrieved from, https://www.statista.com/statistics/525905

/sweden-number-of-asian-immigrants-by-country-of-birth/

Van Gennep, A. (1960). The Rites of Passage. Translated by Vizedom, M. B. and Caffee, G. L.

London: Chicago: University of Chicago Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-04